ตำแหน่ง สิวบอกโรค เรื่องที่ฟังดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยแหละ แต่ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ มีตำราโบราณได้บอกเอาไว้ว่า สิวในแต่ละตำแหน่ง สามารถบ่งบอกโรคได้ วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า การเป็นสิว จะสามารถเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคยังไงบ้าง
รู้หรือไม่ ? ตำแหน่งสิวบอกโรคได้
สิว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งบนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่ มีการสะสมของแบคทีเรีย จนเกิดการอักเสบ เคยคิดกันเล่น ๆ ไหมว่า ทำไมสิวบนหน้าชอบเกิดที่เดิมซ้ำ ๆ ? ตามหลักศาสตร์อายุรเวท ตำแหน่งสิวบนใบหน้านั้น อาจเป็นสัญญาณสะท้อนโรค ที่เกี่ยวกับอวัยวะในร่างกายได้
ในอดีต สมัยที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ยังไม่ทันมัย หนึ่งในวิธีวินิจฉัยโรค คือการใช้วิธีสังเกตตำแหน่งสิวบนใบหน้า เพราะเชื่อว่า ตำแน่งของสิวอาจจะสื่อ หรือบอกได้ว่า อวัยวะภายในร่างกายส่วนใด ที่ผิดปกติ แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกล แต่ก็ยังใช้วิธีนี้สังเกต และหาสาเหตุของการเกิดสิวในเบื้องต้น มาดูกันว่าตำแหน่งสิวแต่ละที่ บ่งบอกอะไรบ้าง
สิว ที่บริเวณหน้าผาก ไม่ว่าจะตำแหน่งไหน จะซ้าย ขา หรือกลาง และไม่ว่าจะเป็นสิวอุดตันหรืออักเสบขนาดใหญ่ ที่อาจเกิดจากการใช้แชมพู และครีมนวดผมที่ไม่เหมาะทำให้เกิดอาการแพ้หรือเกิดสิว หรือาจมีปัจจัยอื่นเกี่ยวเนื่องด้วย เช่น การแต่งหน้า เขียนคิ้ว ปัดมาสคาร่า ที่พอหมดวันแล้วทำความสะอาด ล้างออกไม่หมด ทำให้เกิดการสะสมจนทำให้เกิดสิว รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอก็อาจก่อให้เกิดสิวได้ เช่นกัน
สิวในจุดนี้ เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงกระเพาะปัสสาวะ และต่อมหมวกไต ด้วย
อ่านเพิ่มเติม สาเหตุของการเกิด “สิวที่หน้าผาก” พร้อมวิธีการดูแลรักษา ให้หน้าสวยไร้สิว
2. สิวบริเวณระหว่างหัวคิ้ว – การทำงานของตับ และระบบภูมิคุ้มกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวตำแหน่งนี้บ่อย ๆ อาจเกี่ยวเนื่องจากอาหารและการกิน คนที่ชอบรับประทานอาหาร ที่มีไขมันทรานส์มาก ๆ เช่น อาหารทอด ฟาสต์ฟู้ด อาหารมัน และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาการดื่มนมแล้วไม่ย่อย จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก ซึ่งตับทำหน้าที่จำกัดพิษ และของเสียออกจากร่างกาย จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำได้ บริเวณระหว่างหัวคิ้ว เป็นโซนที่มีต่อมไขมันอยู่จำนวนมาก หากไม่ดูแลรักษาความมันบนผิว อาจก่อให้เกิดการสะสมอาจก่อให้เกิดสิวบริเวณนี้ได้ง่าย
บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยม กลางใบหน้า จะมีเส้นเลือด ที่เชื่อมต่อกับด้านหลังของศีรษะ คือบริเวณสมองส่วนท้าย หากบีบสิว จนทำให้เกิดอาการติดเชื้อ อาจหมายความว่า มันจะลุกลามเข้าสู่สมองได้ โบราณเขาถึงถือว่า เป็นสิวบริเวณนี้หามบีบเด็ดขาดนะคะสาว ๆ !
3. สิวบริเวณจมูก – ระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และฮอร์โมน
ไม่แปลกใจเลยใช่มั้ยว่าทำไม สิวได้เกิดขึ้นบริเวณนี้บ่อย ๆ เพราะบริเวณจมูกนั้นเป็นโซนที่มีต่อมไขมันมาก สังเกตได้จากสิวเสี้ยนที่จมูกที่จำกัดได้ยาก มีการอุดตันจนเกิดสิวอักเสบอยู่เป็นประจำ สิวที่จมูกบ่งบอกการทำงานของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต รวมไปถึงประจำเดือนซึ่ง มีผลมาจากฮอร์โมนนั่นเอง
ใครที่มีสิวขึ้นบริเวณนี้บ่อย ๆ แนะนำให้กินอาหาร ที่มีโฟเลต เช่น ตับ ไข่แดง ผักสีเขียว และวิตามินบี 6 อย่างรำข้าว จมูกข้าวสาลี หรือธัญพืชไม่ขัดสี รวมถึงวิตามินบี 12 อย่าง นม โยเกิร์ต หอย หรือปลาทะเล จะมีส่วนช่วยให้ระบบต่าง ๆ ดีขึ้น
อ่านเพิ่มเติม สิวที่จมูก เกิดจากอะไร ดูแลรักษายังไงไม่ให้มากวนใจเราอีก !
ก่อนอื่น ปัจจัยภายนอกร่างกาย ก็มีผลต่อการเกิดสิวบริเวณนี้ หลัก ๆ ก็คือการใช้โทรศัพท์มือถือ ทุกคนอาจจะรู้ดีอยู่แล้ว ว่าโทรศัพท์นั้นเป็นที่สะสมเชื้อโรค และแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก เคยมีการวิจัยว่า โทรศัพท์มีเชื้อโรค และแบคทีเรียมากกว่าโถส้วมอีก หลาย ๆ คนอาจมองข้าม แต่ถ้าหากดูแลปัจจัยภายนอก จนมั่นใจว่ารักษาความสะอาดได้เป็นอย่างดีแล้ว เราก็จะมามองถึงปัจจัยภายในร่างกาย สิวที่เกิดบริเวณแก้ม อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของปอด และระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ อาจเกิดได้กับคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือต้องเจอมลพิษ มลภาวะอยู่บ่อย ๆ เราสามารถดูแลตนเองได้ โดยเริ่มจากปัจจัยภายนอก เช่น การทำความสะอาดหน้าอยู่เป็นประจำ และหมั่นดูแลความสะอาดของโทรศัพท์ รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ ที่เราใช้เป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติม สิวที่แก้ม ปัญหากวนใจสาว ๆ เกิดจากอะไร รักษายังไงให้หาย
5. สิวบริเวณคางและกราม – ฮอร์โมน กระเพาะอาหาร
สิวเกิดที่ขึ้นที่คาง และริมฝีปากนั้น มักเกิดขึ้นในผู้หญิง เพราะตำแหน่งนี้ เกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย สังเกตได้จาก สาว ๆ ที่มีประจำเดือน มักจะมีสิวเกิดขึ้นที่บริเวณนี้เป็นประจำ หรืออาจจะบ่งบอกถึงการทำงาน ที่ผิดปกติของกระเพาะอาหาร มักจะพบเห็นได้บ่อย ในคนที่ชอบกินอาหารรสจัดมากเกินไป หรือคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา ส่งผลให้การทำงาน ของกระเพาะอาหารผิดปกติ และเกิดแผลภายในกระเพาะ วิธีแก้ไขคือ ควรหลักลี่ยงอาหารรสจัด และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เลือกทานประเภทอาหาร ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ หรือที่เรียกว่าเส้นใยอาหาร นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม สาเหตุของการเกิด สิวที่คาง เกิดจากอะไร วิธีป้องกัน และการแก้ไข?
6. สิวบริเวณใบหูทั้งสองข้าง – ระบบการทำงานของไต
หลายคนคงไม่คิดว่าสิวจะเกิดที่หูได้ ซึ่งใครหลายคนที่เคยเป็นสิวที่หูต่างบอกกันมาว่าเจ็บไม่น้อย โดยสิวอักเสบที่บริเวณใบหูนั้น อาจเกิดได้ทั้งจากการล้างแชมพูสระผมออกไม่หมด สิ่งสกปรกจากโทรศัพท์เวลาแนบหู หรืออาจเกิดจากการที่ระบบการทำงานของไตผิดปกติ ซึ่งทางแก้แบบง่าย ๆ เลยก็คือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากจะทำให้ไตเรามีสุขภาพดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สิวหายได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม สิวที่หู สิวที่หูบอกโรคอะไร อันตรายหรือไม่ พร้อมวิธีการดูแลรักษา
7. สิวที่คอและเนินอก – ความเครียด ระบบสมอง
สิวชนิดนี้มักเกิดจากความเครียด ความกังวล เพราะสิวบริเวณนี้สัมพันธ์กับการทำงานของระบบสมอง เวลาที่สมองทำงานหนักแล้วรู้สึกเครียด กดดัน อีกทั้งยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักอีกด้วย โดยสำหรับการดูแลรักษาสิวที่เกิดบริเวณนี้คือ ต้องพยายามจัดสรรเวลาคลายเครียดให้แก่ตนเองบ้าง หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด อย่างเล่นกีฬา ทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้สิวบริเวณนี้ค่อย ๆ หายไป หรือในระหว่างที่สิวอักเสบก็สามารถใช้ยาแต้มสิวเพื่อลดอาการอักเสบได้
8. สิวที่เปลือกตา – ระบบการทำงานของไต ภูมิแพ้
สิวที่เปลือกตา ที่ไม่ใช่ตากุ้งยิง อาจะเกิดจากไตทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดความสมดุลในร่างกาย หรือเกิดจากภูมิแพ้จนเกิดสิว โดยวิธีแก้ คือควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานผักที่มีวิตามินเอ ซี และเบต้าแคโรทีน ซึ่งจะพบมากในผักและผลไม้ ที่มีสีแดง สีเขียว และสีเหลือง และอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการใส่แว่นเป็นประจำ ก็เป็นได้เช่นกัน
9. สิวที่ข้างปาก – ระบบประจำเดือนและรังไข่
สิวที่ข้างปาก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายของเรา โดยเฉพาะช่วงประจำเดือนของสาว ๆ และหากใครมีสิวอุดตันบริเวณกราม อาจแสดงถึงปัญหาสุขภาพฟัน หรือพึ่งจะทำการรักษาเกี่ยวกับฟันกราม ก็อาจทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิวบริเวณดังกล่าวได้
ใครจะไปคิดว่า ตำแหน่ง สิวบอกโรค ได้ แต่ที่จริงแล้ว มันมีมาในตำรา ตั้งแต่โบร่ำโบราณ ที่ได้สอนเอาไว้ แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะเจ๋งแล้ว จริง ๆ ตำราโบราณ ก็เจ๋งไม่แพ้กันเลย สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหา เรื่องสิว ๆ อยู่ ก็ลองมาศึกษากันดู แล้วพิจารณาว่าเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ หรือไม่ หรือถ้าสงสัย แล้วอยากได้คำตอบที่แน่นอน ก็ลองไปปรึกษาคุณหมอกันก่อนได้ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และตรงจุดนะคะสาว ๆ
ที่มาข้อมูล : www.thairath
บทความที่เกี่ยวข้อง :
อาหารควรระวังถ้าไม่อยากเป็นสิว 7 สิ่งที่ควรงดกินสิ่งนี้หน้าใสไร้สิว
สิวเกิดจากอะไร ปัญหากวนใจระดับชาติ สิวมีกี่ชนิด ?
5 ยาแต้มสิวใช้ดี แนะนำยาแต้มสิวขั้นเทพ ฆ่าเชื้อสิวได้หมดจด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!