X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เทคนิคสุดปัง! วิธีป้อนยาเด็ก ลูกกินยายาก ป้อนอย่างไรให้ถูกต้อง

บทความ 5 นาที
เทคนิคสุดปัง! วิธีป้อนยาเด็ก ลูกกินยายาก ป้อนอย่างไรให้ถูกต้อง

ลูกกินยายาก เรื่องการป้อนยาทารกหรือป้อนยาเด็ก ๆ เรียกว่า ขมทั้งคนป้อนและคนถูกป้อน แม้ว่ายานั้นจะไม่ขมก็ตาม มาดูกันว่าจะมีวิธีการอย่างในการป้อนยาให้ลูกอย่างถูกต้อง ติดตามอ่าน

วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกต้อง เมื่อ ลูกกินยายาก เด็กกินยายาก วันนี้เราจะมาดูวิธีป้อนยาเด็ก สำหรับเด็กที่ไม่ค่อยยอมกินยากันค่ะ ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ แนะนำ วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกต้อง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ซึ่งกินยายาก หมอมีหลายวิธีที่จะแนะนำวิธีหนึ่ง อาจใช้ได้กับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจใช้ไม่ได้กับเด็กอีกคนหนึ่ง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักเลือกวิธีป้อนยาที่เหมาะสำหรับลูกมากที่สุด ดังนี้

 

วิธีป้อนยาลูกแบบฉบับ ลูกกินยายาก เด็กกินยายาก

ลูกกินยายาก การป้อนยาเด็ก ๆ มนแต่ละครั้งนั้นเรียกได้ว่าต้องใช้คนมากกว่า 1 คนขึ้นไป เพื่อมาช่วยกันจับแขนและขาของเด็ก ๆ ที่พยายามหนี พยายามดิ้น ไม่ยอมรับปประทานยาดี ๆ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยแล้ว เราควรป้อนยาพวกเขาอย่างไรดี แบบฉบับของบ้านที่มีลูก ๆ กินยายาก

 

  • ลูกกินยายาก วิธีป้อนยาเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน

คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีใส่ยาลงในจุกนมยางที่ลูกใช้ดูดนมหรือน้ำเป็นประจำ โดยถอดจุกออกจากขวด แล้วใส่ยาในปริมาณที่ต้องการลงไป แล้วนำจุกนมไปใส่เข้าในปากลูก ในเด็กเล็ก ๆ เวลามีอะไรอยู่ในปากเขาจะดูดเสมอ ลูกก็จะดูดยา และกลืนยาเข้าไป แต่เมื่อยาหมดแล้วต้องรีบเอาจุกนมออกจากปากลูก มิฉะนั้นลูกอาจจะดูดลมเข้าไปในกระเพาะมาก ทำให้อึดอัดและแหวะนมได้

 

ลูกกินยายาก 2 เด็กกินยายาก

เด็กกินยายาก ลูกกินยายาก

 

Advertisement
  • เด็กกินยายาก วิธีป้อนยาเด็ก อายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป

1. ใช้หลอดฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ซึ่งมีหลายขนาด ให้ถูกกับปริมาณยาที่จะป้อน หลอดฉีดยาพลาสติกนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 1 ซีซี 2.5 ซีซี และ 10 ซีซี หรืออาจใช้หลอดหยดยาก็ได้ ซึ่งหลอดหยดยาหรือดรอฟเปอร์นี้ มักเป็นขนาด 1 ซีซี เท่านั้น ถ้าต้องกินยา 5 ซีซี (1 ช้อนชา) ก็ต้องดูดมาป้อน รวม 5 ครั้ง

2. เมื่อดูดยาเข้าหลอดเรียบร้อยแล้ว ให้จับลูกนอน คุยกับลูก อาจให้คุณพ่อถือของเล่นอยู่ข้าง ๆ แล้วค่อย ๆ ใช้หลอดดูดยาค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มเด็ก แต่ถ้าหากเด็กปฏิเสธและต่อต้านมาก อาจต้องขอให้คุณพ่อช่วยกันจับมือและเท้าของเด็กไว้ไม่ให้ดิ้น แล้วจึงค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มก็จะสามารถป้อนยาได้สำเร็จ และหากระหว่างการป้อนยามียาหก (ซึ่งอาจจะทำให้เด็กได้ยาไม่ครบ) ก็ไม่ต้องให้ยาซ้ำ เนื่องจากเราไม่ทราบว่ายาที่หกไปมีปริมาณเท่าใดกันแน่

3. อย่าตั้งหน้าตั้งตาป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ในเด็กเล็ก ๆ คงทำได้ยาก เพราะเด็กวัยนี้จะห่วงเล่น ถ้าเรายอมให้ลูกเล่นไปด้วย ป้อนยาไปด้วย เด็กจะยอมรับยาได้มากขึ้น

4. ท่าทีของคนป้อนยาสำคัญมาก ต้องอดทนค่อย ๆ ป้อน ถ้ามีการขู่บังคับเด็กจะขัดขืนมาก จะทำให้ป้อนไม่ได้ หรืออาจจะสำลักยาเข้าปอดหรืออาเจียนได้

5. หลอดฉีดยาแบบพลาสติก เมื่อใช้ไปนานๆ ตัวเลขอาจจะเลือนไปได้ ถ้าคุณแม่มองตัวเลขไม่ชัด ควรเปลี่ยนอันใหม่ดีกว่า มิฉะนั้นอาจจะให้ปริมาณยาแก่ลูกผิดได้

 

  • ลูกกินยายาก วิธีป้อนยาเด็กเล็ก (1 – 6 ปี)

เด็กโตบางครั้งจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะชนิดแคปซูล เพราะถ้ากินยาชนิดน้ำนั้น จะต้องกินปริมาณมาก ถ้าลูกยังกลืนยาไม่ได้ มีวิธีการป้อนยา คือ

1. คุณแม่สามารถแกะปลอกแคปซูลออก แล้วนำผงข้างในมาให้ลูกกิน แต่เนื่องจากยาผงมักจะมีรสขม คุณแม่สามารถเติมน้ำหวานเข้มข้นลงไปเล็กน้อย แล้วให้ลูกกินแล้วดื่มน้ำตาม ลูกก็จะกินยาได้

2. การหัดให้เด็กเล็ก ๆ รับประทานยาเม็ดหรือยาแคปซูล ควรเริ่มด้วยยาเม็ดเล็ก ๆ ยาเม็ดหรือยาแคปซูลบางชนิดไม่สามารถแบ่งได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรก่อน หากเป็นยาเม็ดที่แบ่งได้ให้หักเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยๆ ให้ลูกกลืนทีละชิ้น

สิ่งสำคัญที่สุดคือท่าทีทีนุ่มนวลของผู้ป้อนยา การพูดคุยอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงผลดีของการรับประทานยา อย่าเร่งเร้าเพื่อจะป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ต้องอดทนค่อย ๆ ป้อน คุยเล่นกันไปพร้อม ๆ การป้อนยา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาสามัญประจําบ้าน คนมีลูก ยาสามัญ สำหรับทารก ยารักษาอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก

 

วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกต้อง เมื่อลูกกินยายาก เด็กกินยายาก

เด็กกินยายาก

 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยากับเด็ก

คำแนะนำจาก ภญ.ปิลันธนา เขมะพันธุ์มนัส เกี่ยวกับการใช้ยากับเด็ก

 

1. ป้อนยาทีละขนาน

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
RSV ในเด็ก ไวรัสร้ายมหัตภัยเงียบ คุกคามชีวิตเด็กเล็ก
RSV ในเด็ก ไวรัสร้ายมหัตภัยเงียบ คุกคามชีวิตเด็กเล็ก
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ  ลูกป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้สมองไม่ไบร์ท ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไรบ้าง?
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ ลูกป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้สมองไม่ไบร์ท ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไรบ้าง?
ปอดจิ๋วห่างไกล โรค RSV: ความรู้ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมีเพื่อปกป้องลูกรัก
ปอดจิ๋วห่างไกล โรค RSV: ความรู้ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมีเพื่อปกป้องลูกรัก

ในกรณีที่เด็กได้รับยาหลายขนาน คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน อาจผสมหรือบดยาทุกชนิดรวมกัน แล้วป้อนเด็กในครั้งเดียวเพื่อความสะดวก ทั้ง ๆ ที่อาจจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกิน ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของยาเปลี่ยนไป หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตราย หรือมีฤทธิ์ลดลง ซึ่งจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้อนยาให้ลูกทีละชนิดจะปลอดภัยกว่า

 

2. อุปกรณ์ป้อนยาเด็ก

หากเด็กเล็กกว่า 1 ขวบหรือในเด็กที่กินยายาก การใช้หลอดดูดยา (syringe) แทนช้อนจะทำให้การป้อนยาทำได้สะดวกขึ้น โดยที่หลอดดูดยาจะมีตัวเลขบอกปริมาตรเป็นซีซีแสดงอยู่ ซึ่งหากว่าเด็กต้องกินยา 1 ช้อนชา ก็จะเท่ากับ 5 ซีซี และขอย้ำว่า “ช้อนชา” ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนที่ใช้ในการชงชาตามบ้าน แต่เป็นช้อนที่แถมมาพร้อมกับขวดยา สำหรับในเด็กโตอาจต้องใช้ “ช้อนโต๊ะ” ซึ่งก็ไม่ใช่ช้อนที่ใช้บนโต๊ะอาหารตามบ้านเช่นกัน แต่ 1 ช้อนโต๊ะจะเท่ากับ 3 ช้อนชา ดังนั้น หากบนฉลากเขียนไว้ว่า ป้อนยาครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ก็ควรใช้ช้อนโต๊ะที่แถมมาพร้อมกับขวดยาเท่านั้น หรือใช้ช้อนชาป้อน 3 ช้อนก็ได้

 

ลูกกินยายาก 5

เด็กกินยายาก

 

3. หากลูกตัวร้อนมีไข้

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้มือแตะหน้าผากหรือเนื้อตัวแล้วสรุปว่า ลูกตัวร้อน แต่ควรวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้ปรอทวัดไข้เพื่อจะได้ทราบค่าอุณหภูมิที่แน่นอน หากอ่านค่าอุณหภูมิได้มากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ควรเริ่มให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น โดยเช็ดย้อนรูขุมขน และเช็ดเน้นบริเวณข้อพับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนและขา ควรเช็ดตัวไปเรื่อยๆ จนกว่าไข้จะลด หากไข้ไม่ลดหลังจากการให้ยาครั้งแรกนาน 4 ชั่วโมง สามารถให้ยาลดไข้ซ้ำได้ และให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่หากมีไข้เกิน 3 วัน หรือมีไข้สูงมาก เช่น เกิน 40 องศาขึ้นไป หรือไข้สูงลอยให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดอาการชักได้

 

4. หากลูกอาเจียนควรให้ยาซ้ำหรือไม่

ให้ยึดหลักการง่าย ๆ คือ หากป้อนยาแล้วลูกอาเจียนทันที ก็ให้ยาซ้ำได้ แต่หากให้ยาแล้วลูกไม่อาเจียนทันที ก็ให้ข้ามยามื้อนั้นไปเลย ไม่ต้องป้อนซ้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับยาเกินขนาด

 

5. อย่าผสมยาในขวดนม

อาจจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกิน ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของยาเปลี่ยนไป หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตราย หรือมีฤทธิ์ลดลง ซึ่งจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้อนยาให้ลูกทีละชนิดจะปลอดภัยกว่า

 

ลูกกินยายาก 7เด็กกินยายาก

เด็กกินยายาก

 

6. วิธีเก็บรักษายาที่ถูกต้อง

การเก็บรักษายา คือ ควรเก็บยาไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน และตรวจสอบอายุยาทุกครั้ง ก่อนหยิบใช้ โดยเราจะเก็บยาที่หมดอายุก่อนไว้ด้านหน้าและหยิบใช้ก่อน ส่วนยาที่หมดอายุทีหลังจะเก็บไว้ด้านใน และควรตรวจสอบอายุยาอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มียาหมดอายุค้างอยู่ในตู้ยา หากไม่มีตู้ยา ควรเก็บในที่ที่พ้นมือเด็ก ห่างไกลแสงแดดและความชื้น ส่วนการที่หลาย ๆ บ้านมักเก็บยาที่เปิดใช้แล้วไว้ในตู้เย็นนั้น ต้องบอกว่าอาจจะเหมาะกับยาบางชนิดเท่านั้น เช่น ยาปฏิชีวนะที่ผสมน้ำแล้ว ซึ่งจะใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน แต่ยาบางชนิด เช่น ยาน้ำเชื่อมอาจจะไม่เหมาะที่จะเก็บในตู้เย็น เพราะจะเกิดการตกตะกอน และทำให้ยาเปลี่ยนสภาพได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

ลูกกินยาปฏิชีวนะ โดยที่แม่ซื้อให้กินเอง อันตราย! ทารก เด็กเล็ก ป่วยต้องหาหมอ อย่าซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกกินเอง

ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด


ที่มา : everydayhealth, nationwidechildrens, everydayhealth

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • เทคนิคสุดปัง! วิธีป้อนยาเด็ก ลูกกินยายาก ป้อนอย่างไรให้ถูกต้อง
แชร์ :
  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว