วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกต้อง เมื่อ ลูกกินยายาก เด็กกินยายาก วันนี้เราจะมาดูวิธีป้อนยาเด็ก สำหรับเด็กที่ไม่ค่อยยอมกินยากันค่ะ ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ แนะนำ วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกต้อง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูก ซึ่งกินยายาก หมอมีหลายวิธีที่จะแนะนำวิธีหนึ่ง อาจใช้ได้กับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจใช้ไม่ได้กับเด็กอีกคนหนึ่ง ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักเลือกวิธีป้อนยาที่เหมาะสำหรับลูกมากที่สุด ดังนี้
วิธีป้อนยาลูกแบบฉบับ ลูกกินยายาก เด็กกินยายาก
ลูกกินยายาก การป้อนยาเด็ก ๆ มนแต่ละครั้งนั้นเรียกได้ว่าต้องใช้คนมากกว่า 1 คนขึ้นไป เพื่อมาช่วยกันจับแขนและขาของเด็ก ๆ ที่พยายามหนี พยายามดิ้น ไม่ยอมรับปประทานยาดี ๆ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยแล้ว เราควรป้อนยาพวกเขาอย่างไรดี แบบฉบับของบ้านที่มีลูก ๆ กินยายาก
-
ลูกกินยายาก วิธีป้อนยาเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน
คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีใส่ยาลงในจุกนมยางที่ลูกใช้ดูดนมหรือน้ำเป็นประจำ โดยถอดจุกออกจากขวด แล้วใส่ยาในปริมาณที่ต้องการลงไป แล้วนำจุกนมไปใส่เข้าในปากลูก ในเด็กเล็ก ๆ เวลามีอะไรอยู่ในปากเขาจะดูดเสมอ ลูกก็จะดูดยา และกลืนยาเข้าไป แต่เมื่อยาหมดแล้วต้องรีบเอาจุกนมออกจากปากลูก มิฉะนั้นลูกอาจจะดูดลมเข้าไปในกระเพาะมาก ทำให้อึดอัดและแหวะนมได้
เด็กกินยายาก ลูกกินยายาก
-
เด็กกินยายาก วิธีป้อนยาเด็ก อายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
1. ใช้หลอดฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม ซึ่งมีหลายขนาด ให้ถูกกับปริมาณยาที่จะป้อน หลอดฉีดยาพลาสติกนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 1 ซีซี 2.5 ซีซี และ 10 ซีซี หรืออาจใช้หลอดหยดยาก็ได้ ซึ่งหลอดหยดยาหรือดรอฟเปอร์นี้ มักเป็นขนาด 1 ซีซี เท่านั้น ถ้าต้องกินยา 5 ซีซี (1 ช้อนชา) ก็ต้องดูดมาป้อน รวม 5 ครั้ง
2. เมื่อดูดยาเข้าหลอดเรียบร้อยแล้ว ให้จับลูกนอน คุยกับลูก อาจให้คุณพ่อถือของเล่นอยู่ข้าง ๆ แล้วค่อย ๆ ใช้หลอดดูดยาค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มเด็ก แต่ถ้าหากเด็กปฏิเสธและต่อต้านมาก อาจต้องขอให้คุณพ่อช่วยกันจับมือและเท้าของเด็กไว้ไม่ให้ดิ้น แล้วจึงค่อย ๆ ฉีดยาเข้าข้างกระพุ้งแก้มก็จะสามารถป้อนยาได้สำเร็จ และหากระหว่างการป้อนยามียาหก (ซึ่งอาจจะทำให้เด็กได้ยาไม่ครบ) ก็ไม่ต้องให้ยาซ้ำ เนื่องจากเราไม่ทราบว่ายาที่หกไปมีปริมาณเท่าใดกันแน่
3. อย่าตั้งหน้าตั้งตาป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ในเด็กเล็ก ๆ คงทำได้ยาก เพราะเด็กวัยนี้จะห่วงเล่น ถ้าเรายอมให้ลูกเล่นไปด้วย ป้อนยาไปด้วย เด็กจะยอมรับยาได้มากขึ้น
4. ท่าทีของคนป้อนยาสำคัญมาก ต้องอดทนค่อย ๆ ป้อน ถ้ามีการขู่บังคับเด็กจะขัดขืนมาก จะทำให้ป้อนไม่ได้ หรืออาจจะสำลักยาเข้าปอดหรืออาเจียนได้
5. หลอดฉีดยาแบบพลาสติก เมื่อใช้ไปนานๆ ตัวเลขอาจจะเลือนไปได้ ถ้าคุณแม่มองตัวเลขไม่ชัด ควรเปลี่ยนอันใหม่ดีกว่า มิฉะนั้นอาจจะให้ปริมาณยาแก่ลูกผิดได้
-
ลูกกินยายาก วิธีป้อนยาเด็กเล็ก (1 – 6 ปี)
เด็กโตบางครั้งจำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะชนิดแคปซูล เพราะถ้ากินยาชนิดน้ำนั้น จะต้องกินปริมาณมาก ถ้าลูกยังกลืนยาไม่ได้ มีวิธีการป้อนยา คือ
1. คุณแม่สามารถแกะปลอกแคปซูลออก แล้วนำผงข้างในมาให้ลูกกิน แต่เนื่องจากยาผงมักจะมีรสขม คุณแม่สามารถเติมน้ำหวานเข้มข้นลงไปเล็กน้อย แล้วให้ลูกกินแล้วดื่มน้ำตาม ลูกก็จะกินยาได้
2. การหัดให้เด็กเล็ก ๆ รับประทานยาเม็ดหรือยาแคปซูล ควรเริ่มด้วยยาเม็ดเล็ก ๆ ยาเม็ดหรือยาแคปซูลบางชนิดไม่สามารถแบ่งได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรก่อน หากเป็นยาเม็ดที่แบ่งได้ให้หักเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยๆ ให้ลูกกลืนทีละชิ้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือท่าทีทีนุ่มนวลของผู้ป้อนยา การพูดคุยอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงผลดีของการรับประทานยา อย่าเร่งเร้าเพื่อจะป้อนยาให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ต้องอดทนค่อย ๆ ป้อน คุยเล่นกันไปพร้อม ๆ การป้อนยา
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาสามัญประจําบ้าน คนมีลูก ยาสามัญ สำหรับทารก ยารักษาอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก
เด็กกินยายาก
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยากับเด็ก
คำแนะนำจาก ภญ.ปิลันธนา เขมะพันธุ์มนัส เกี่ยวกับการใช้ยากับเด็ก
1. ป้อนยาทีละขนาน
ในกรณีที่เด็กได้รับยาหลายขนาน คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน อาจผสมหรือบดยาทุกชนิดรวมกัน แล้วป้อนเด็กในครั้งเดียวเพื่อความสะดวก ทั้ง ๆ ที่อาจจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกิน ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของยาเปลี่ยนไป หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตราย หรือมีฤทธิ์ลดลง ซึ่งจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้อนยาให้ลูกทีละชนิดจะปลอดภัยกว่า
2. อุปกรณ์ป้อนยาเด็ก
หากเด็กเล็กกว่า 1 ขวบหรือในเด็กที่กินยายาก การใช้หลอดดูดยา (syringe) แทนช้อนจะทำให้การป้อนยาทำได้สะดวกขึ้น โดยที่หลอดดูดยาจะมีตัวเลขบอกปริมาตรเป็นซีซีแสดงอยู่ ซึ่งหากว่าเด็กต้องกินยา 1 ช้อนชา ก็จะเท่ากับ 5 ซีซี และขอย้ำว่า “ช้อนชา” ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนที่ใช้ในการชงชาตามบ้าน แต่เป็นช้อนที่แถมมาพร้อมกับขวดยา สำหรับในเด็กโตอาจต้องใช้ “ช้อนโต๊ะ” ซึ่งก็ไม่ใช่ช้อนที่ใช้บนโต๊ะอาหารตามบ้านเช่นกัน แต่ 1 ช้อนโต๊ะจะเท่ากับ 3 ช้อนชา ดังนั้น หากบนฉลากเขียนไว้ว่า ป้อนยาครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ก็ควรใช้ช้อนโต๊ะที่แถมมาพร้อมกับขวดยาเท่านั้น หรือใช้ช้อนชาป้อน 3 ช้อนก็ได้
เด็กกินยายาก
3. หากลูกตัวร้อนมีไข้
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้มือแตะหน้าผากหรือเนื้อตัวแล้วสรุปว่า ลูกตัวร้อน แต่ควรวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้ปรอทวัดไข้เพื่อจะได้ทราบค่าอุณหภูมิที่แน่นอน หากอ่านค่าอุณหภูมิได้มากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ควรเริ่มให้ยาลดไข้พาราเซตามอลร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น โดยเช็ดย้อนรูขุมขน และเช็ดเน้นบริเวณข้อพับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนและขา ควรเช็ดตัวไปเรื่อยๆ จนกว่าไข้จะลด หากไข้ไม่ลดหลังจากการให้ยาครั้งแรกนาน 4 ชั่วโมง สามารถให้ยาลดไข้ซ้ำได้ และให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่หากมีไข้เกิน 3 วัน หรือมีไข้สูงมาก เช่น เกิน 40 องศาขึ้นไป หรือไข้สูงลอยให้ยาแล้วไข้ไม่ลด ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดอาการชักได้
4. หากลูกอาเจียนควรให้ยาซ้ำหรือไม่
ให้ยึดหลักการง่าย ๆ คือ หากป้อนยาแล้วลูกอาเจียนทันที ก็ให้ยาซ้ำได้ แต่หากให้ยาแล้วลูกไม่อาเจียนทันที ก็ให้ข้ามยามื้อนั้นไปเลย ไม่ต้องป้อนซ้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับยาเกินขนาด
5. อย่าผสมยาในขวดนม
อาจจะทำให้รสชาติและสีของยาเปลี่ยนไปจนเด็กไม่ยอมกิน ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของยาเปลี่ยนไป หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เช่น อาจทำให้ยามีฤทธิ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตราย หรือมีฤทธิ์ลดลง ซึ่งจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้อนยาให้ลูกทีละชนิดจะปลอดภัยกว่า
เด็กกินยายาก
6. วิธีเก็บรักษายาที่ถูกต้อง
การเก็บรักษายา คือ ควรเก็บยาไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน และตรวจสอบอายุยาทุกครั้ง ก่อนหยิบใช้ โดยเราจะเก็บยาที่หมดอายุก่อนไว้ด้านหน้าและหยิบใช้ก่อน ส่วนยาที่หมดอายุทีหลังจะเก็บไว้ด้านใน และควรตรวจสอบอายุยาอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มียาหมดอายุค้างอยู่ในตู้ยา หากไม่มีตู้ยา ควรเก็บในที่ที่พ้นมือเด็ก ห่างไกลแสงแดดและความชื้น ส่วนการที่หลาย ๆ บ้านมักเก็บยาที่เปิดใช้แล้วไว้ในตู้เย็นนั้น ต้องบอกว่าอาจจะเหมาะกับยาบางชนิดเท่านั้น เช่น ยาปฏิชีวนะที่ผสมน้ำแล้ว ซึ่งจะใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน แต่ยาบางชนิด เช่น ยาน้ำเชื่อมอาจจะไม่เหมาะที่จะเก็บในตู้เย็น เพราะจะเกิดการตกตะกอน และทำให้ยาเปลี่ยนสภาพได้
บทความที่น่าสนใจ :
ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
ลูกกินยาปฏิชีวนะ โดยที่แม่ซื้อให้กินเอง อันตราย! ทารก เด็กเล็ก ป่วยต้องหาหมอ อย่าซื้อยาปฏิชีวนะให้ลูกกินเอง
ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด
ที่มา : everydayhealth, nationwidechildrens, everydayhealth
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!