X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

บทความ 5 นาที
ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง บางครั้งที่คุยไปซื้อยาที่ร้านขายยามักจะพบคำถามว่า ลูกของคุณแพ้ยาอะไรบ้าง ซึ่งคุณเองก็อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าลูกของคุณมีอาการแพ้ยาชนิดใดบ้าง มาดูกันดีกว่าเราสามารถเช็กวิธีแพ้ยาได้จากอะไรบ้าง

 

แพ้ยา คืออะไร?

การแพ้ยา เกิดขึ้นเมื่อคุณมีปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อยาที่คุณทาน หรือทา ซึ่งเป็นเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณที่ต่อต้าน หรือไม่ยอมรับตัวยานั้น ๆ โดยการทำให้เกิดอาการแพ้ การแพ้ยาส่วนใหญ่ไม่รุนแรงมากนัก และอาการจะหายไปภายใน 2-3 วันหลังจากที่คุณหยุดใช้ยา แต่การแพ้ยาบางชนิดอาจร้ายแรงมาก อาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตก็เป็นได้ ในบางกรณีอาการแพ้ยาอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือเกิดขึ้นกับยาที่คุณเคยทานแล้วพบไม่อาการในทัน แต่พบอาการหลังจากการที่ได้ทาน หรือทาในครั้งถัด ๆ ไป โดยการแพ้ยานั้นเป็นปฏิกิริยาทางยาที่เป็นอันตราย หรือไม่พึงประสงค์ประเภทหนึ่ง มีอาการ และการรักษาแตกต่างประเภทกันไป ดังนั้นแพทย์จะต้องตรวจสอบว่าคุณมีอาการแพ้ยาจริง หรือหากคุณมีปฏิกิริยาประเภทอื่นที่ไม่ร้ายแรงเท่าอาการแพ้ยา

 

อาการแพ้ยาในเด็ก เป็นอย่างไร

การแพ้ยาในผู้ใหญ่ หรือการที่ลูกแพ้ยานั้นอาการของการแพ้มักไม่แตกต่างกันมากนัก โดยอาการแพ้ยานั้นมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงร้ายแรงมาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1 ถึง 72 ชั่วโมง ดังนี้

  • ลมพิษ หรือผื่นขึ้นผื่น อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของการแพ้ยา
  • ไอ มีน้ำมูกไหล หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
  • มีไข้ อุณหภูมิร่างกายสูง
  • ผิวหนังของเด็ก ๆ อาจเกิดแผลพุพองและลอก สิ่งเหล่านี้รวมถึงการตายของผิวหนังที่เป็นพิษและสตีเวนส์จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens Johnson Syndrome)
  • การแพ้ชนิดรุนแรง (anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้หลายระบบและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต จะต้องได้รับการรักษาในกรณีฉุกเฉิน อาการต่าง ๆ ที่จะปรากฏ ได้แก่ ลมพิษทั่วร่างกาย หายใจลำบาก คอหรือปากบวม และ/หรือรู้สึกมึนหัวมาก สิ่งเหล่านี้มักปรากฏภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกแพ้ยา หากไม่มีการรักษาได้ทันท่วงทีลูกของคุณอาจเสียชีวิตได้

 

ลูกแพ้ยา ขึ้นผื่นแดง

 

ยาชนิดใดที่เด็ก ๆ มักจะเกิดอาการแพ้

ลูกแพ้ยา ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ แต่เป็นเรื่องที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก ยาที่พบว่ามีอาการแพ้มากที่สุด มีดังนี้

  • เพนิซิลลิน (Penicillin) คือยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียอย่างแพร่หลายเช่น แอมพิซิลลิน (Ampicillin) หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
  • แอสไพริน (Aspirin) และยาต้านการอักเสบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa drugs)
  • วัคซีน (Vaccine)
  • ยากันชัก (Anticonvulsant)
  • ยาสำหรับคอพอกเป็นพิษ (hyperthyroidism)

ซึ่งหากลูกของคุณมีประวัติแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่ง เขาอาจแพ้ยาตัวยาอื่น ๆ เช่น หากลูกแพ้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) มีโอกาสสูงมากที่ลูกของคุณจะแพ้ยาที่คล้ายคลึงกันอย่าง แอมพิซิลลิน (Ampicillin) หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)

บทความที่น่าสนใจ : ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

 

ยาที่อาจทำให้ลูกแพ้ยา

 

ลูกแพ้ยา สามารถเช็ก หรือตรวจด้วยวิธีไหนได้บ้าง

ทุกครั้งที่เข้าพบแพทย์ หรือเภสัชกร มักจะพบคำถามว่าลูกของคุณแพ้ยาชนิดไหนบ้าง ซึ่งคุณไม่มีทางรู้ได้เลย โดยส่วนใหญ่แล้วคุณมักจะพบว่าลูกของตนเองแพ้ยาก็ต่อเมื่อได้รับประทาน หรือทาลงบนผิวหนังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งในการพบแพทย์ และมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายยาที่อยู่ในขอบข่ายของยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์อาจทำการทดสอบยาลงบนผิวหนังของลูกคุณ หรืออาจให้คุณทานยาในปริมาณเล็กน้อยเพื่อดูว่าคุณมีปฏิกิริยาหรือไม่ หากเด็ก ๆ มีอาการแพ้คุณควรหยุดการใช้ยานั้นในทันที

 

 

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากลูกแพ้ยา

ในการรักษาเบื้องต้นสิ่งที่ดีที่สุด และต้องทำเป็นอย่างแรกคือคุณควรให้ลูกหยุดทานยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้โดยทันที และปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าลูกของคุณสามารถทานยาชนิดอื่นได้หรือไม่ ในกรณีที่แพทย์ไม่สามารถเปลี่ยนตัวยาได้ แพทย์จะลองใช้วิธีที่เรียกว่า desensitization หรือการใช้ยาในปริมาณที่น้อยลงเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา หรืออาการแพ้ที่น้อยลงตาม เพื่อรักษาโรคต้นเหตุของการที่จะต้องทานยานั้น ๆ ในบางกรณีแพทย์อาจค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายของเด็กนั้นปรับตัวเองให้เข้ากับตัวยาได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ เคยชินกับยา และหลังจากนั้นพวกเขาอาจไม่มีอาการแพ้อีกต่อไป

 

วิธีเช็กอาการ ลูกแพ้ยา

 

นอกจากนี้หากเด็ก ๆ มีอาการแพ้เพียงเล็กน้อย อย่างเช่น จาม คัน น้ำมูกไหล คันที่บริเวณริมฝีปาก มีอาการลมพิษเล็กน้อย หรือมีอาการคันเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ หรือไม่สบายท้อง คุณสามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว โดยเภสัชกรจะจ่ายยาแก้แพ้ให้คุณในเบื้องต้น ซึ่งผลข้างเคียงของยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกง่วงนอน หรือบางชนิดก็ไม่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน

หรือหากลูกของคุณมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง คุณควรพาพวกเขาส่งให้ถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด เบื้องต้นหลังจากตรวจสอบอาการเสร็จ แพทย์อาจฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline) ให้กับลูกของคุณเป็นอย่างแรก หลังจากที่เด็ก ๆ มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันเมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง (Anaphylaxis) และแพทย์อาจสอนวิธีใช้ หรือวิธีปฏิบัติตน หากลูกของคุณมีอาการแพ้อย่างรุนแรงอีกครั้ง

บทความที่น่าสนใจ : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

 

ทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ลูกแพ้ยาซ้ำแล้วซ้ำเล่า

การแพ้ยาในเด็ก ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปเด็ก ๆ ไม่ได้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมากนัก แต่การแพ้ยานั้นก็อาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่สบายตัว และงอแง ซึ่งคุณเองก็ควรที่จะเรียนรู้พฤติกรรมและมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เกิดอาการแพ้ยาอีกครั้ง

  • เมื่อคุณเข้าพบแพทย์ หรือเภสัชกร คุณควรแจ้งทุกครั้งเกี่ยวกับตัวยา หรือชนิดของยาที่ลูกของคุณเคยเกิดอาการแพ้มาก่อนทุกครั้ง
  • หากคุณไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เกี่ยวกับตัวยาแล้วหละก็ คุณควรอ่านฉลากยาทุกครั้งที่คุณจะส่งยาให้เด็ก ๆ รับประทาน เพราะนอกจากอาการแพ้แล้ว พวกเขาอาจได้รับยาที่เกินขนาด และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ วิธีนี้เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำ และไม่ควรให้เกิดขึ้นมากที่สุด

 

อาการแพ้ยาในเด็กไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเราไม่มีทางทราบได้เลยว่ายาชนิดไหนบ้างที่ทำให้ลูกน้อยของเรามีอาการแพ้ หมั่นสังเกตอาการของพวกเขาหลังได้รับการทานยาให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

 

บทความที่น่าสนใจ :

ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

เหงือกอักเสบ ลูกเหงือกอักเสบทำไงดี รักษาเบื้องต้นยังไงได้บ้าง

 

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
แชร์ :
  • ลูกแพ้นม ทำอย่างไร การแพ้นม กับการแพ้แลคโตสในนมต่างกันอย่างไร

    ลูกแพ้นม ทำอย่างไร การแพ้นม กับการแพ้แลคโตสในนมต่างกันอย่างไร

  • คนท้องแพ้ยา อาการแพ้ยา รุนแรง! ตาบวมเป่ง เบลอ จุกแน่นหน้าอก ต้องรีบไปโรงพยาบาล

    คนท้องแพ้ยา อาการแพ้ยา รุนแรง! ตาบวมเป่ง เบลอ จุกแน่นหน้าอก ต้องรีบไปโรงพยาบาล

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกแพ้นม ทำอย่างไร การแพ้นม กับการแพ้แลคโตสในนมต่างกันอย่างไร

    ลูกแพ้นม ทำอย่างไร การแพ้นม กับการแพ้แลคโตสในนมต่างกันอย่างไร

  • คนท้องแพ้ยา อาการแพ้ยา รุนแรง! ตาบวมเป่ง เบลอ จุกแน่นหน้าอก ต้องรีบไปโรงพยาบาล

    คนท้องแพ้ยา อาการแพ้ยา รุนแรง! ตาบวมเป่ง เบลอ จุกแน่นหน้าอก ต้องรีบไปโรงพยาบาล

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ