X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด

บทความ 5 นาที
ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด

พ่อแม่ใช้ยาผิด ปริมาณความเข้มข้นของยาเกิน ใช้ยาไม่ถูกวัตถุประสงค์ ทำให้ลูกตกอยู่ในอันตรายโดยไม่รู้ตัว ต้องระวังการใช้ยาให้มาก เพื่อนลูกน้อยของคุณเอง

13พ่อแม่ใช้ยาผิด นั้นอาจทำให้ลูกของพวกคุณอยู่ในอันตรายได้ เพราะฤทธิ์ของยาที่เข้าสู่ร่างกายนั้นอาจเกินขนาด หรือผิดประเภท ทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเด็ก ๆ ที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต หรือไม่มีภูมิต้านทานมากเพียงพอ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า พ่อแม่มักใช้ยาผิดกับลูกในลูกแบบไหนบ้าง

 

การใช้ยากับเด็กปลอดภัยใช่ไหม?

การใช้ยาสำหรับเด็กนั้นเป็นเรื่องยากที่จะปลอดภัย และผู้ปกครองหลายคงเองก็จะรู้สึกกดดัน และเป็นกังวลทุกครั้งที่จะต้องใช้ยากับเด็ก โดยที่พวกคุณเองก็ทราบกันเป็นอย่างดีว่าหากให้ในปริมาณมาก หรือน้อยจนเกินไปก็อาจส่งผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ทางที่ดีที่สุดคุณควรสังเกตอาการของพวกเขา และให้ร่างกายของพวกเขาฟื้นตัว หรือซ่อมแซมตัวเองดีที่สุด แต่จะต้องไม่ใช่โรคหลายแรง หรืออาการร้ายแรงที่คุณไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งอาการที่สามารถปล่อยให้พวกเขาหายเองโดยไม่ทานยาได้เป็นเพียงอาการเล็กน้อยอย่างการเป็นหวัดนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด

 

พ่อแม่ใช้ยาผิด 2

 

ก่อนจะให้ยากับเด็ก ๆ คุณควรทราบอะไรก่อนบ้าง?

การอ่านฉลาก หรือการจดจำรายละเอียดของตัวยาที่คุณได้มาจากคุณหมอที่โรงพยาบาล หรือร้านขายยาโดยเภสัชกรก็ตาม คุณจะต้องใส่ใจ และจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวยาให้เป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัย และการใช้งานอย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่ต้องทราบมีดังต่อไปนี้

  • ชื่อยา และวัตถุประสงค์ของยา
  • ระยะเวลาในการทาน (ความถี่ และจำนวนครั้ง)
  • วิธีการใช้ยา (ในกรณีที่ไม่ใช่ยาสำหรับรับประทาน)
  • คำแนะนำอื่น ๆ เช่น ทานก่อน หรือหลังอาหาร หรือก่อนนอน
  • วิธีเก็บรักษายา
  • วันหมดอายุ และวิธีการทำลายยาที่ถูกวิธี
  • ผลข้างเคียง หรือปฏิกิริยาหลังทานยา
  • ปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมกับยาอีกประเภท
  • หากมีอาการแพ้ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ควรทำอย่างไรบ้าง

 

สิ่งที่ควรทราบ หากต้องไปซื้อยาที่ร้านขายยา

เนื่องจากปริมาณของยานั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายของเด็ก ๆ ดังนั้นคุณควรทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็น อายุ ส่วนสูง และน้ำหนัก เพราะการจ่ายยานั้นจะต้องอ้างอิงจากข้อมูลดังกล่าว เพื่อไม่ให้การจ่ายยานั้นมีผลกระทบต่อร่างกายของเด็กที่อาจได้รับความเข้มข้นของยามากจนเกินไป ดังนั้นคุณควรตอบคำถามของเภสัชกรตามความจริงเพื่อให้ได้รับยาที่ถูกต้อง และเหมาะสม ดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ยา หรือตัวยาที่เด็กเคยมีประวัติการแพ้ยามาก่อน
  • เภสัชกรจะจ่ายยาตามอาการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จะไม่จ่ายยาเกินขนาด
  • เภสัชกรจะไม่จ่ายยาแก้ไอให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีเป็นอันขาด ยกเว้นแต่เภสัชกรจะแจ้งมาว่าไม่เป็นไร

นอกจากนี้หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จำเป็นต้องกินให้ครบโดสทั้งหมด แม้ว่าอาการจะหยุดลงแล้วก็ตาม มิฉะนั้นการติดเชื้ออาจกลับมา

 

 

ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย?

หากเราใช้ยาไม่ถูกประเภท หรือให้เหมาะสมกับบุคคลก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้รับประทานยาได้ ดังนั้นเราจะต้องรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการใช้ยาให้ปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบ หรือพาบุตรหลานไปหาแพทย์เพื่อดูอาการก่อนเสมอ หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการนั้นต้องได้รับการรักษาในรูปแบบไหน
  • อย่าใช้ที่เหลือจากการพบแพทย์เด็กขาด บางครั้งเภสัชกรที่จ่ายยาอาจจ่ายยาหละหลวมมากเกินความจำเป็น หากคุณมียาน้ำเหลือให้ทิ้งได้ทันทีหลังจากเลิกใช้แล้ว สำหรับยาเม็ดให้ตรวจสอบวันหมดอายุ หากได้ยานานแล้วให้ทิ้งทันที
  • อย่านำยาคนอื่นให้กับบุตรหลานของคุณ ไม่ว่าจะเป็นยาของเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม หรือทั้งสองคนมีอาการเหมือนกัน เพราะยานั้นจะต้องจำหน่ายตามบุคคลที่เป็นโรค หรือป่วยคนเดียวเท่านั้น
  • เวลาซื้อยาที่ร้านขายยากรุณาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน และเภสัชกรก่อนที่จะทำการซื้อ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงตัวยา หรือการจ่ายยาผิดพลาด

บทความที่น่าสนใจ : ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

 

พ่อแม่ใช้ยาผิด 3

 

แบบไหนที่เรียกว่า พ่อแม่ใช้ยาผิด ?

แม้แต่พ่อแม่ที่มีสติสัมปชัญญะที่สุดก็ยังทำผิดพลาด เพราะการใช้ยากับเด็กนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักใช้ยาผิดกับเด็ก ดังต่อไปนี้

  1. ให้ยาผิด

คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เภสัชกร หรือตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยปริมาณยาสำหรับเด็กส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของเด็ก ซึ่งถือเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการจ่ายยา ในการใช้ยาประเภทน้ำนั้นแนะนำให้วัดปริมาณเป็นมิลลิลิตร (มล.) แม้ว่าคุณอาจจะคุ้นเคยกับช้อนชา หรือช้อนโต๊ะก็ตาม แต่การใช้ช้อนที่ใช้ในการทานข้าว หรือทำครัวนั้นถือเป็นเรื่องที่ผิด เพราะอาจเกิดความผิดพลาดของปริมาณยาได้ คุณควรเลือกใช้ช้อนยาที่ให้มาในกล่องยา หรือที่แพทย์ให้มาเท่านั้น

  1. ใช้ยาซ้ำ

การเผลอใช้ยาซ้ำโดยไม่ได้ตั้งใจถือเป็นข้อผิดพลาดทั่วไปในการใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กทารกที่ไม่สามารถบอก หรือพูดกับคุณได้เมื่อพวกเขาได้รับยาเหล่านั้นไปแล้ว คุณควรตั้งสติก่อนให้ยาทุกครั้ง และหมั่นเช็ดให้แน่ใจเกี่ยวกับตัวยาแต่ละอันที่อาจมีความใกล้เคียงกัน เพราะถ้าหากคุณลืมว่าให้พวกเขาทานไปแล้ว หมายความว่าพวกเขาจะได้รับยาเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งนั่นหมายความว่าเขาได้รับยาที่เกินขนาด  และอย่าพยายามเพิ่มปริมาณของยาทดแทนการลืมทานยาครั้งก่อนหน้าเป็นอันขาด

  1. หน่วยของยาที่สับสน

คุณควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาให้ละเอียด และเข้าใจก่อนที่จะนำกลับมาใช้กับเด็ก ๆ เพราะในบางครั้งการสื่อสารระหว่างคุณและแพทย์ หรือบนฉลากกับคุณนั้นมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับหน่วยของยา ซึ่งยานั้นมีหน่วยที่หลากหลายดังต่อไปนี้

    • มิลลิกรัม = ยาเม็ด
    • มิลลิลิตร = ยาน้ำ
    • ไม่โครกรัม = ยาสูดพ่น

ดังนั้นคุณควรศึกษาวิธีการใช้ยา ปริมาณของยาให้เข้าใจก่อนที่จะนำมาใช้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยของพวกเขาในการรับปริมาณของยาที่มาก หรือน้อยจนเกินไป

  1. ใช้ให้เหมาะสมกับตัวบุคคล

อ่านคำแนะนำ และวันหมดอายุบนฉลากเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ายาไม่ได้หมดอายุแล้ว หรือเหมาะสมกับอาการและอายุของเด็ก นอกจากนี้หากยังไม่ได้อายุ ห้ามแกะฉลากยาออกจากขวดเด็ดขาด

  1. ใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

ส่วนใหญ่แล้วการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์นั้นจะพบมากในยาที่ใช้ภายนอก ที่ไม่ใช่การทานยาเข้าไปทาปาก เช่น ยาทาปาก ยาหยอดตา ยาใช้บนผิวหนัง ดังนั้นคุณควรอ่านฉลากให้เป็นอย่างดีว่ายานั้นมีวัตถุประสงค์ให้ใช้กับบริเวณใด และใช้อย่างไร

บทความที่น่าสนใจ : ป้อนยาลูกให้ถูกวิธี ทารก เบบี๋ เล็กเด็ก เด็กโต ไร้ปัญหาเรื่องกินยา

 

พ่อแม่ใช้ยาผิด 4

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

ควรเก็บรักษายาอย่างไร?

คุณควรอ่านฉลากยาเกี่ยวกับข้อแนะนำในการเก็บรักษายา เพราะยาบางชนิดอาจต้องแช่เย็น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถเก็บรักษาไว้ในที่แห้ง และต้องห่างจากการโดนแสงแดดโดยตรง ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงเคยเห็นภาพยนตร์บางเรื่องที่มักจะเก็บตู้ยาไว้ในห้องน้ำ นั้นเป็นสิ่งที่ผิด เนื่องจากความชื้นจะทำให้ตัวยานั้นเสื่อมสภาพได้ ที่เก็บยาที่ดีที่สุดคือที่ไม่โดนแสงแดดส่อง และไม่ชื้น ยิ่งไปกว่านี้คือจะต้องห่างไกลจากมือของเด็ก ๆ ด้วย ก่อนที่จะนำยาไปเก็บในตู้ยาควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าซิปล็อคนั้นถูกปิดสนิทแล้ว เพื่อป้องกันความชื้นเข้าไปทำลายยาด้านใน เช่นเดียวกับยาชนิด คุณควรปิดฝาให้สนิทก่อนที่นำไปแช่ตู้เย็นในช่องที่เด็ก ๆ ไม่สามารถหยิบเองได้ หรือปิดให้แน่นเกินกว่าที่เด็ก ๆ จะเปิดทานเองได้

 

การที่เราเป็นห่วงเรื่องอาการเจ็บป่วยของบุตรหลานนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยาให้มาก ถึงมากที่สุด เพราะร่างกายของเด็ก ๆ นั้นยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือแข็งแรงมากพอหากได้รับยาที่มีปริมาณเข้มข้นมาก หรือการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ ของให้คุณพ่อคุณระวังมาก ๆ เวลาใช้ยาด้วยนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

6 วิธีแก้ปัญหาลูกป่วยบ่อย ลูกไม่สบายบ่อย ป้องกันไม่ให้ลูกป่วยได้อย่างไรบ้าง

กินยาอย่างไรไตไม่พัง เรามาดูแลไตของเรากันเถอะ

ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด
แชร์ :
  • ผลจากการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ 4 แบบ มัน “ใช่” สำหรับลูกหรือเปล่า?

    ผลจากการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ 4 แบบ มัน “ใช่” สำหรับลูกหรือเปล่า?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ผลจากการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ 4 แบบ มัน “ใช่” สำหรับลูกหรือเปล่า?

    ผลจากการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ 4 แบบ มัน “ใช่” สำหรับลูกหรือเปล่า?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ