X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

บทความ 5 นาที
เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

พบกันอีกครั้งกับ 100 สิ่งที่แม่ท้องต้องรู้ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการคลอดบุตร เพราะคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดดี ซึ่งจริง ๆ แล้วการคลอดทั้งสองแบบนี้อาจขึ้นอยู่ดุลพินิจของแพทย์ด้วย บทความนี้จะพาคุณแม่มาดูกันว่า คลอดธรรมชาติ ดีอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง และควรเตรียมอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันค่ะ

 

คลอดธรรมชาติ คืออะไร

คลอดธรรมชาติ หมายถึง การคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีการใช้ยา ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะคลอด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณแม่ในการคลอดด้วย ทั้งนี้ควรปรึกษากับแพทย์ เกี่ยวกับวิธีการคลอดเสียก่อน คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์ที่มีความเสี่ยงน้อยหลายคนสามารถเลือกคลอดธรรมชาติได้ ทว่าในครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง คลอดธรรมชาติ ก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัย แพทย์จึงอาจแนะนำให้ใช้การผ่าคลอดแทน

 

คลอดธรรมชาติดีอย่างไร

  • มีโอกาสเกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงจากการทำคลอดต่อแม่ และเด็กได้น้อย
  • รู้สึกตัวและตื่นตัวตลอดเวลาขณะคลอด คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และสามารถขยับเปลี่ยนท่าทางที่ช่วยให้รู้สึกสบาย และยังมีส่วนร่วมในการกระบวนการคลอดเมื่อถึงเวลาต้องเบ่งลูกออกมา
  • พ่อของเด็กอาจสามารถอยู่ใกล้ ๆ เพื่อเป็นกำลังใจและช่วยภรรยารับมือกับความเจ็บปวดจากการคลอดได้
  • คุณแม่รู้สึกมีพลัง และเกิดความภูมิใจเมื่อคลอดสำเร็จ

 

เตรียมตัวคลอดธรรมชาติอย่างไร

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทั้งหลายควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก ทั้งการคลอดแบบธรรมชาติ และการผ่าคลอด รวมถึงวิธีบรรเทาอาการเจ็บขณะคลอดธรรมชาติ โดยนำมาฝึกปฏิบัติระหว่างเตรียมคลอดเพื่อให้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วขณะคลอด การเตรียมตัว และศึกษาไว้ก่อนอาจช่วยคลายความเครียด เพราะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นก่อนคลอดนั้น สามารถส่งผลให้การคลอดล่าช้าลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นสูงอาจจะกระทบต่อการหดรัดตัวของมดลูกได้

อย่างไรก็ตาม แม้คุณแม่จะเตรียมพร้อม และมีความมั่นใจในการคลอดธรรมชาติเพียงใด แต่เมื่อการคลอดมาถึงก็อาจมีเหตุจำเป็นให้ไม่สามารถคลอดเอง กลับต้องใช้การผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่ และเด็ก เช่นในกรณีที่ทารกไม่อยู่ในท่าเอาหัวลง ทารกตัวใหญ่เกินกว่าจะคลอดทางช่องคลอดได้ หรือเกิดภาวะเครียดของทารกในครรภ์ เป็นต้น

Advertisement

บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

 

คลอดธรรมชาติ

 

ขั้นตอนการคลอดธรรมชาติ

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์พร้อมคลอดทั้งหลายจะต้องเผชิญกับระยะการคลอด 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ปากมดลูกขยายออกและบางตัวลง

ระยะปากมดลูกเปิดตัวช้า

คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดรัดตัวเบา ๆ ของปากมดลูกที่จะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 30-45 วินาที ทุก ๆ 5-30 นาที การหดรัดตัวนี้ส่งผลให้ปากมดลูกเปิดออกและบางตัวลงเพื่อจะให้ทารกเคลื่อนมายังช่องทางการคลอด บางรายปากมดลูกอาจค่อย ๆ ขยายออกประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดท้องคล้ายเป็นประจำเดือน หรือปวดตึง ๆ บริเวณเชิงกราน และอาจสังเกตว่ามีน้ำสีออกชมพูหรือสีปนเลือดถูกขับออกมาด้วย

ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ระยะนี้อาจใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง แต่หากไม่ใช่การตั้งครรภ์ครั้งแรกก็มักจะผ่านไปยังระยะต่อไปได้รวดเร็วกว่า โดยในช่วงนี้ คุณแม่จะยังสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อคลายกังวลและเบี่ยงเบนความสนใจอยู่ที่บ้านได้ เช่น ฟังเพลง ดูทีวี ลุกขึ้นเดินเบา ๆ อาบน้ำ ฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนท่าทาง ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น

 

ระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็ว

เป็นระยะที่ปากมดลูกจะค่อย ๆ เริ่มหดรัดตัวถี่และรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่บริเวณหลังส่วนล่าง ท้อง ต้นขา เกิดตะคริวที่ขา รวมถึงอาการคลื่นไส้ บางรายอาจมีน้ำคร่ำแตกออกมา แต่บางรายที่น้ำคร่ำไม่แตกออกมาก็จะทำให้รู้สึกถึงแรงกดที่หลังยิ่งขึ้น คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณใกล้คลอดเหล่านี้

ระยะนี้อาจคงอยู่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น โดยปากมดลูกจะขยายตัวออกประมาณ 1 เซนติเมตรทุก ๆ 1 ชั่วโมง จากระยะแรก 4 เซนติเมตรเพิ่มเป็นประมาณ 7 เซนติเมตร และบีบรัดตัวครั้งละ 45-60 วินาที ในทุก 3-5 นาที ระหว่างนี้คุณแม่อาจลองใช้วิธีการฝึกหายใจหรือท่าออกกำลังกายแบบผ่อนคลายเพื่อต่อสู้กับความเจ็บที่เพิ่มมากขึ้น และหากขยับตัวได้โดยไม่มีเครื่องตรวจอัลตราซาวนด์ครรภ์ติดที่ท้องก็อาจลองเปลี่ยนท่าทางหรือใช้การนวดผ่อนคลาย

 

ระยะเปลี่ยนผ่าน

เป็นช่วงสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 1 ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมงหากเป็นการคลอดครั้งแรก แต่ในกรณีที่เคยคลอดลูกมาก่อนแล้วมักเปลี่ยนเข้าสู่ระยะที่ 2 ค่อนข้างเร็ว ในระยะนี้ปากมดลูกจะขยายออก 8-10 เซนติเมตร และมีการหดรัดตัวถี่ขึ้นอีกเป็นครั้งละ 60-90 วินาที ในทุก 0.5-2 นาที จนคุณแม่รู้สึกถึงแรงกดบริเวณหลังส่วนล่างและบริเวณช่องทวารหนัก ระหว่างนี้คุณแม่ที่มีความรู้สึกอยากเบ่งคลอดเกิดขึ้นให้รีบบอกแพทย์ทันที เพราะหากปากมดลูกยังไม่ขยายเต็มที่ แพทย์จะให้คุณแม่กลั้นไว้ก่อน เนื่องจากการเบ่งที่รวดเร็วเกินไปจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า และช่องคลอดบวม ส่งผลให้การคลอดล่าช้าออกไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

 

คลอดธรรมชาติ

 

  • ระยะที่ 2 ระยะเบ่งคลอด

เป็นช่วงเวลาแห่งการคลอดของคุณแม่ที่อาจใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมงในการเบ่งคลอด และอาจนานยิ่งขึ้นหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือครรภ์ที่คุณแม่ใช้ยาระงับอาการปวดระหว่างคลอด โดยแพทย์จะบอกให้ออกแรงเบ่งเมื่อเกิดการหดรัดตัวของมดลูก หรือคอยให้จังหวะในการเบ่งคลอด นอกจากนี้ บางขณะ แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่เบ่งเบา ๆ หรือไม่ต้องเบ่งเลยก็ได้ เพื่อให้เวลาเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดได้ยืดตัวออก และป้องกันการฉีกขาด

คุณแม่ควรเพ่งความสนใจทั้งหมดไปที่การเบ่งเมื่อแพทย์ให้จังหวะ ครั้นเมื่อหัวของทารกออกมาแล้ว ลำตัวส่วนที่เหลือก็จะตามออกมาในไม่ช้า เมื่อทารกคลอดออกมาเรียบร้อย อันดับแรกแพทย์อาจทำความสะอาดทางเดินหายใจของเด็กแล้วจึงตามด้วยการตัดสายสะดือ

 

  • ระยะที่ 3 ระยะคลอดรก

หลังจากที่คลอดทารกสำเร็จ การทำคลอดรกจะตามมาอย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีหรือนานไปถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ยังมีกระบวนการทางการแพทย์หลังจากนั้นที่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งในระหว่างนี้คุณแม่ส่วนใหญ่กำลังต้องการสัมผัสและชื่นชมลูกน้อยที่เพิ่งออกมาจนอาจไม่ทันสนใจขั้นตอนการคลอดรกที่จะเกิดขึ้นต่อไป

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย

เมื่อทารกน้อยออกมาแล้ว มดลูกของคุณแม่จะยังมีการหดรัดตัวเบา ๆ อย่างต่อเนื่อง จากนั้นมดลูกก็จะกลับมาติดชิดกัน และรู้สึกเจ็บน้อยลง แพทย์จะขอให้ออกแรงเบ่งอีกครั้งเพื่อคลอดรกออกมา ซึ่งก่อน และหลังการคลอดรกนี้ แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และลดการมีเลือดออก หรือให้คุณแม่ลองให้นมลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของช่องคลอด และนวดเบา ๆ ที่ท้องเพื่อกระตุ้นให้รกลอกตัวออกมา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมพร้อมก่อนคลอด เมื่อคลอดธรรมชาติ แม่ ๆ ต้องเตรียมตัวยังไง?

 

คลอดธรรมชาติ

 

หลังการคลอดธรรมชาติ

เมื่อคลอดรกออกมาแล้ว แพทย์จะตรวจดูความสมบูรณ์ของรก รวมถึงส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องนำออกมาจากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือดออก หรือเกิดการติดเชื้อ และแม้ว่ารกจะถูกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว มดลูกก็จะยังคงหดรัดตัวต่อไปเพื่อช่วยให้กลับคืนไปสู่สภาพปกติ ระหว่างนี้แพทย์หรือพยาบาลอาจช่วยนวดช่องท้องเพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกยังกระชับอยู่ รวมถึงพิจารณาว่าจำเป็นต้องเย็บ หรือซ่อมแซมรอยฉีกที่เกิดขึ้นบริเวณช่องคลอดหรือไม่ โดยการเย็บแผลบริเวณดังกล่าวจะมีการให้ยาชาเฉพาะแห่งเสียก่อน

หลังการคลอด คุณแม่อาจให้นมบุตรได้ทันที แต่ควรให้ในขณะที่บุตรเองก็ต้องการน้ำนม เพราะไม่ใช่ทารกทุกคนที่ต้องการนมแม่ทันทีหลังจากคลอดออกมา ระหว่างนี้อาจอุ้มให้ริมฝีปากของทารกอยู่ใกล้หน้าอกของตนเองสักพัก เพราะทารกส่วนใหญ่จะค่อย ๆ เริ่มดูดนมแม่ตั้งแต่ช่วงชั่วโมงแรกหลังจากคลอดออกมาหากคุณแม่คอยอุ้มให้ทารกอยู่ใกล้ ๆ หน้าอกไว้ หากแต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้ให้นมลูก หรือปากมดลูกไม่หดตัวกลับ แพทย์จะให้ออกซิโทซินเพื่อช่วยให้มดลูกหดตัว และคุณแม่ที่มีเลือดออกมากเกินก็จะให้การรักษาไปพร้อม ๆ กันนี้ นอกจากนี้ในช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่อาจเผชิญอาการเจ็บหลังคลอด อาจทำให้รู้สึกปวดคล้ายอาการปวดประจำเดือน รู้สึกอ่อนเพลีย

 

5 สิ่งช่วยบำบัดคุณแม่

1. สมาธิ

สมาธิเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้คุณแม่คลอดธรรมชาติได้ ระหว่างคลอด หากคุณแม่ฝึกการทำสมาธิและกำหนดลมหายใจเข้าออก ฝึกการกำหนดจิตจดจ่อที่สิ่งต่าง ๆ เพื่อลดความเจ็บปวดได้ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดี เคล็ดลับคือ ขณะคลอด ให้คุณแม่หายใจเข้า ออก ปล่อยลมออกจากปากเป็นจังหวะ ความเจ็บปวดก็จะบรรเทาลงได้

 

2. น้ำอุ่น ๆ ช่วยบรรเทา

การคลอดในน้ำ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถบรรเทาความเจ็บปวดให้คุณแม่คลอดธรรมชาติได้นะคะ เพราะคุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และน้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสมสามารถลดการหดเกร็งของช่องท้อง รวมทั้งเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดี หากคุณแม่สนใจอยากคลอดในน้ำ ปัจจุบันก็มีโรงพยาบาลที่ให้บริการด้านนี้แล้วค่ะ คุณแม่สามารถเลือกได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดื่มน้ำเย็น ไม่ดีจริงหรือ? การดื่มน้ำอุ่น กับ น้ำเย็น ต่างกันอย่างไร!?

 

คลอดธรรมชาติ

 

3. ร่างกายที่พร้อมมาก

ระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรง ก็จะช่วยให้คุณแม่คลอดง่าย มีแรงเบ่งได้มากนะคะ คุณหมอแนะนำว่า คุณแม่ควรดูแลตัวเองให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยแม่ท้องต้องนอนให้ได้วันละ 7 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย และออกกำลังกายบ้างให้ร่างกายฟิตเสมอ

 

4. ท่าคลอดตามแรงโน้มถ่วงโลก

ท่านั่งคลอดที่ให้แรงโน้มถ่วงโลกช่วยในการคลอดจะทำให้คุณแม่คลอดได้ง่ายขึ้นนะคะ เช่น ท่าคลอดแบบท่าแมว หรือ  PSU Cat position ที่ใช้ประโยชน์ของแรงโน้มถ่วงช่วยในการเคลื่อนตัวของทารก และทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในห้องคลอด คุณหมอจะเป็นผู้แนะนำคุณแม่ให้ใช้ท่าคลอดที่เหมาะสมที่สุดเองค่ะ

 

5. สามี

สำหรับตัวช่วยทางใจ คงไม่มีใครให้กำลังใจคุณแม่ในนาทีนี้ได้ดีไปกว่าสามีสุดที่รักอีกแล้วล่ะค่ะ ซึ่งนอกจากให้กำลังใจอยู่ใกล้ ๆ แล้ว การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายเช่นกันนะคะ

 

นอกจาก 5 ตัวช่วยที่เราบอก คุณแม่อาจลดความกังวลเพื่อให้มีสมาธิจดจ่อกับการคลอด ด้วยการเตรียมตัวต้อนรับเบบี๋หลังคลอดให้พร้อม ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ เมื่อถึงวันคลอด คุณแม่จะได้สบายใจ เบ่งคลอดแบบชิล ๆ ได้นั่นเองค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การคลอดธรรมชาติทำให้ลูกฉลาด จริงหรือ วิธีสร้างพัฒนาการสมองของลูกน้อย

ผ่าคลอดเจ็บไหม กี่วันหาย ผ่าได้กี่ครั้ง ตอบคำถามทุกข้อสงสัยจากการผ่าคลอด

หลังผ่าคลอดมีอะไรกับแฟนแล้วเจ็บ อันตรายหรือไม่ ? มีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่?

ที่มา : medthai, LINE TODAY, pobpad, happymom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79
แชร์ :
  • ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

    ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

  • ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

    ฉีดยาคุมแบบ3เดือน ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? อ้วน ดำ ประจำเดือนไม่มา จริงไหม

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว