X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

บทความ 8 นาที
เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะมีลูก คงเตรียมใจกันมาอยู่แล้วว่า การที่จะอุ้มท้องคน ๆ นึงเป็นเวลา 9 เดือน คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ยากที่จะคาดเดาได้ คือเมื่อถึงเวลา ครบกำหนดคลอดของแม่ท้อง จะเป็นอย่างไรบ้าง? คงเป็นกังวลกันไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ทั้งเรื่องการเตรียมตัว หรือความเจ็บปวดที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น จะทนไหวหรือไม่ วันนี้เรามีบทความดี ๆ เกี่ยวกับ ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มาฝาก คุณแม่มือใหม่ จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และอะไรที่สามารถเกิดขึ้นได้บ้าง เมื่อคุณแม่กำลังจะคลอด ตามไปอ่านกันเลย 

 

เจ็บท้องแบบไหน เมื่อไหร่จะต้องไปโรงพยาบาล?

ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม แม่ท้องอาจมีอาการท้องแข็ง เนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hicks Concentration) หรือเรียกอีกชื่อว่า อาการ เจ็บท้องหลอก อาการเจ็บท้องนี้คงทำให้คุณแม่สับสนไม่น้อยเลย ว่าลูกน้อยกำลังจะออกมาลืมตาดูโลกหรือเปล่า แต่อย่าเข้าใจผิดไป เพราะอาการที่มดลูกหดรัดตัว สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ จะบอกว่าเป็นการเตรียมร่างกายของแม่ท้องให้พร้อมสำหรับการคลอดจริงเลยก็ว่าได้ 

ให้คุณแม่จำไว้เลยว่า การเจ็บท้องหลอกนี้ คุณแม่จะรู้สึกปวดตึง ๆ ช่วงท้องน้อย เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เดี๋ยวก็หายไป ความถี่ของอาการปวดจะไม่เหมือนกับตอนใกล้คลอด ดังนั้นรอดูอาการอยู่ที่บ้านก่อนก็ได้ค่ะ 

มาทำความรู้จัก ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ กัน! 

คงจะดีไม่น้อยเลย ถ้าได้รู้ก่อนว่า ในแต่ละขั้นตอนของการคลอดนั้น จะมีอะไรขึ้นบ้าง แม่ท้องจะใช้เวลาไปกับการเตรียมตัวและรับมืออย่างถูกต้อง โดยขั้นตอนคลอด แบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ระยะด้วยกัน รวมถึงการคลอดรก 

 

ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ

 

ระยะที่หนึ่ง : สัญญาณเตือน 

ในระยะนี้สามารถแบ่งออกได้อีก 3 ระยะย่อยด้วยกัน คือ  latent stage,  active labour และ transitional phrase 

latent stage

เริ่มกันที่ latent stage เป็นระยะที่ปากมดลูกจะมีความนิ่มลง บางลง และเริ่มที่จะเปิดขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือในบางคนอาจจะใช้เวลาได้ถึง 2-3 วันเลยทีเดียว คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงความหน่วง ๆ หรือรู้สึกได้ถึงการหดตัว แต่ก็ยังไม่ถึงเวลาคลอด

ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ทนความเจ็บปวดนี้ได้แค่ไหน เพราะแน่นอนว่ามันจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อยู่นะ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น 

  • มีมูก หรือ มูกที่ปนเลือดออกมาบริเวณช่องคลอด
  • ท้องเสียเล็กน้อย
  • ปวดท้องคล้าย ปวดประจำเดือน
  • ปวดหลังช่วงล่าง
  • คลื่นไส้ อยากอาเจียน 
  • มีอาการน้ำเดิน ซึ่งน้ำควรมีสีใสหรือปนชมพูนิดหน่อย แต่ถ้าหากเป็นเลือด หรือมีสีเขียว ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน 

ในช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยง่าย และไม่สบายตัว และความรู้สึกเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเป็นระยะ ก่อนถึงกำหนดคลอด แต่ก็จะค่อย ๆ หายไปเอง ดังนั้น เราขอแนะนำให้รายงานคุณหมออย่างละเอียด ว่ามีอาการอะไรเกิดขึ้นกับคุณแม่บ้างในช่วงนี้ คุณหมอจะเป็นคนประเมินความเสี่ยงให้เองค่ะ ว่าแม่ท้องควรรีบไปโรงพยาบาล หรือนอนพักผ่อนอยู่บ้านก็ได้ 

แต่อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ก็จะมา ๆ หาย ๆ เป็นเหมือนการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการคลอดต่อไป เรามีวิธีการลดความไม่สบายตัวของแม่ท้องในระยะนี้มาฝาก ได้แก่ 

  • พยายามผ่อนคลาย อย่าไปเครียดกับมัน
  • แม่ท้องควรขยับตัวบ้าง อาจจะเดินรอบ ๆ บ้านก็ได้ 
  • พักผ่อน โดยหาท่าที่นอนแล้วรู้สึกสบายที่สุด 
  • ให้คุณพ่อช่วยนวดเบา ๆ ตามร่างกายได้ค่ะ 
  • การฝึกหายใจสามารถช่วยได้ดี 
  • ทำสมาธิ พักผ่อน หาเพลงสบาย ๆ มาฟังเพื่อผ่อนคลาย
  • อาบน้ำอุ่น ๆ 

อย่างไรก็ตามถ้าแม่ท้องมีอาการไม่สบายตัว หรือปวดท้อง หรือรู้สึกหน่วง ๆ เป็นระยะ โดยไม่หายไป นั่นก็เป็นสัญญาณว่าให้ไปโรงพยาบาล ได้เลยทันที 

 

ทำอย่างไร? เมื่อมดลูกหดรัดตัว ทุก ๆ 5 นาที แต่ยังไม่มีน้ำเดิน

มีกฎที่แม่ท้องต้องจำให้ขึ้นใจเลย คือกฎ 5-1-1 ซึ่งก็คือการที่คุณแม่มีอาการหดรัดตัวของมดลูกนาน 1 นาที และมีการหยุดพักเป็นช่วง ๆ ทุก ๆ 5 นาที และมีอาการแบบนี้ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมง นั่นเป็นสัญญาณว่า ให้ไปโรงพยาบาลได้เลยค่ะ 

เนื่องจากมีแม่ท้องเพียงแค่ 10% ของทั้งหมด ที่จะมีอาการน้ำเดิน ดังนั้นหากมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ก็ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องรอ 

 

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

Active Labour Stage 

ไปต่อกันที่ Active Labour Stage เป็นระยะที่แม่ท้องน่าจะมีอาการเจ็บปวดที่สุดแล้ว โดยปากมดลูกของคุณแม่เปิดขยายได้ถึง 6 เซนติเมตร (อ้างอิงจาก the American College of Obstetricians and Gynecologists ACOG)

ในขั้นนี้การหดรัดตัวของมดลูกจะถี่ และรุนแรงมากขึ้น ทุก ๆ 3-4 นาทีเลยทีเดียว ในบางคนอาจมีอาการทุก ๆ 90 วินาที เมื่อถึงตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหว ให้ดึงความสนใจไปที่การกำหนดลมหายใจ เพื่อให้ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น 

ในแม่ตั้งครรภ์บางคนบอกว่าการเดินสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูกได้ หรือ ถ้าโรงพยาบาลไหนมีห้องให้อาบน้ำ อาจจะลองใช้แรงดันน้ำจากฝักบัว เน้นไปที่ช่วงหลังล่าง เพื่อลดความรู้สึกไม่สบายตัวได้นะคะ 

 

Transitional Stage 

ในขั้นนี้ ปากมดลูกจะขยายตัวออกได้ถึง 8 เซนติเมตร และแน่นอนว่าคุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงแรงเบ่งได้ในช่วงนี้ ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูกจะน้อยลง แต่แม่ท้องจะรู้สึกปวดมากกว่าเดิม แต่จะรู้สึกเจ็บปวดนานขึ้นในแต่ละครั้ง คุณแม่อาจจะรู้สึกปั่นป่วน หนาวสั่นไปหมด แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ให้คุณแม่ตั้งสติและควบคุมการหายใจให้ดี เพราะลูกน้อยกำลังจะออกมาเจอหน้าคุณแม่แล้ว 

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ได้แก่ 

  • ความรู้สึกของมดลูกที่บีบรัดตัวที่นานขึ้น และรุนแรงขึ้นจนไม่มีเวลาให้พักหายใจ 
  • อาการปวดจนพูดไม่ออก 
  • ความเจ็บปวดจาก มดลูกหดรัดตัว กินเวลานานขึ้นในแต่ละครั้ง 
  • คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ ร้อนผ่าว หรือหนาวสั่น จนทนไม่ไหว

นี่คงเป็นขั้นตอนที่ท้าทายคุณแม่มากที่สุด เพราะเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบายตัว แต่อดทนไว้อีกนิดเดียวเท่านั้น ลูกน้อยก็จะมาอยู่ในอ้อมอกของคุณแม่แล้วค่ะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ความวิตกกังวลต่าง ๆ ก่อน การคลอดบุตร ที่คุณแม่ต้องรู้!

 

ระยะที่สอง : คลอด

ตอนนี้ปากมดลูกของคุณแม่ ก็จะเปิดออกอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะคลอดแล้ว ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องเบ่งแล้วล่ะ! คุณแม่อาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย 

  • อาการหดรัดตัวของมดลูก ที่นานขึ้น และรุนแรงขึ้น
  • รู้สึกได้ถึงแรงดันบริเวณช่วงล่าง
  • รู้สึกถึงแรงกระตุ้นให้เบ่งคลอด
  • คลื่นไส้ อยากอาเจียน หนาวสั่น 
  • รู้สึกได้ถึงความหน่วง ตึงบริเวณช่องคลอดเป็นอย่างมาก 

อาจจะยากสักหน่อยแต่อยากให้คุณแม่ พยายามเบนจุดสนใจไปที่การหายใจและพยายามพักในช่วงที่ไม่มีการหดรัดตัว จะช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้น 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ลูกน้อยใกล้มาแล้ว!

คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงแรงกระตุ้นบางอย่าง ให้เบ่งคลอด แต่อย่าตื่นตระหนกไปค่ะ เมื่อถึงเวลานั้น คุณแม่เบ่งคลอดให้สุดแรงเลยนะคะ ในขั้นตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดเหมือนต้องไปเข้าห้องน้ำ นั่นแปลว่าหัวของลูกน้อยกำลังเคลื่อนตัวลงมาแล้ว คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อนหน่อย อดทนอีกนิดเดียวเท่านั้นค่ะ 

ในทุก ๆ ครั้งที่มีการบีบรัดตัวของมดลูก ตัวของลูกน้อยก็จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ลงมาเรื่อย ๆ แรงเบ่งจะทำให้หัวของทารก เคลื่อนที่เจ้าใกล้อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ และลงไปที่ช่องคลอดมากขึ้น 

และเมื่อทารกโผล่หัวออกมาให้เห็นแล้ว ให้คุณแม่หายใจเข้าลึก  ๆ แต่ไม่ต้องเบ่งแรงมากแล้วค่ะ เพราะเมื่อหัวของทารกโผล่ออกมาแล้วนั้น ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะตามออกมาอย่างรวดเร็ว ยินดีด้วยนะคะ ในที่สุดลูกน้อยของคุณแม่ก็ออกมาลืมตาดูโลกแล้ว คุณเองก็เป็นคุณแม่อย่างเต็มตัวแล้วนะคะ  

บทความที่เกี่ยวข้อง: ขั้นตอนคลอดลูก แบบคลอดเองและผ่าคลอด ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

ระยะที่สาม : คลอดรก

คุณแม่อาจจะกำลังอุ้ม หรือให้นมลูกเป็นครั้งแรกอยู่ใช่ไหมคะ แต่กระบวนการคลอดยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้  ในขั้นตอนต่อไปที่จะเกิดขึ้นก็คือ คุณแม่จะทำการคลอดรก และพวกเยื่อหุ้มเซลล์ออกมาด้วยค่ะ 

ในขั้นตอนนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกหน่วง ๆ บริเวณช่องคลอดเล็กน้อย โดยรกและเยื่อหุ้มเซลล์ต่าง ๆ จะตามออกอย่างง่ายดาย เพียงแค่เบ่ง 1-2 ครั้งเบา ๆ แต่ในบางคนอาจใช้เวลาตั้งแต่ 5-30 นาทีเลยทีเดียวที่รกจะคลอดตามออกมา 

คุณหมอจะทำการตรวจเช็กให้ละเอียดอีกที ว่ารกคลอดออกมาหมดแล้วหรือยัง และนั่นคือตอนที่มดลูกของคุณจะบีบตัวเพื่อห้ามเลือดจากจุดที่รกหลุดออกจากมดลูก

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

การพักฟื้นหลังคลอด 

หลังจากเสร็จขั้นตอนการคลอดทั้งหมดแล้ว ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกแล้ว รกก็คลอดออกมาหมดแล้ว ต่อไปก็เป็นเวลาที่คุณแม่ได้พักจริง ๆ สักที และในตอนนี้ก็เป็นเวลาที่ดีที่สุด ที่คุณแม่จะเริ่มให้นมลูก เป็นตอนที่น้ำนมแม่จะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เหมือนวัคซีนเข็มแรกให้ลูกน้อยได้เลยค่ะ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ขั้นตอนคลอดลูก กว่าจะได้เป็นแม่คน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมคะ ไหนจะต้องอดทนกับความไม่สบายตัว หรืออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรือต้องทนกับอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก่อนที่จะคลอด คุณแม่ของเราเก่งมากแล้วจริง ๆ ค่ะ 

 

สนใจแพ็กเกจคลอดเหมาจ่าย คลิกที่นี่

ห้องพักคุณแม่หลังคลอด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช คลิกที่นี่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

แผนกสูตินรีเวช โทร 02-022-0788, 02-022-0850

LINE: @BNHhospital

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง

วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

พาลูกกลับบ้านหลังคลอด เตรียมตัวอย่างไร มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง?

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sirapatsorn Khotchpoom

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด
แชร์ :
  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ