X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร คลอดธรรมชาติที่ลดความเจ็บปวดของคุณแม่

บทความ 5 นาที
คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร คลอดธรรมชาติที่ลดความเจ็บปวดของคุณแม่

คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร แม้ยังไม่แพร่หลายในบ้านเรามากนักแต่นี่คือ การคลอดธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าที่คุณแม่หลายท่านแอบมีความกังวล ทราบไหมคะว่า การคลอดในน้ำลดความเจ็บปวดขณะคลอดของคุณแม่ได้ดี รักษากล้ามเนื้อจากแรงต้านทานของน้ำ รวมถึงอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม ยังช่วยให้แม่และทารกรู้สึกผ่อนคลาย สร้างความสัมพันธ์อันดี ความผูกพันระหว่างครอบครัวอีกด้วย

 

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร วิถีคลอดลูกแบบธรรมชาติ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การคลอดลูกในน้ำเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ แม้ในเมืองไทยเองยังไม่นิยมมาก เนื่องจากคุณแม่ยังมีความกลัว และกังวลถึงความปลอดภัยของตนเองทารก จริง ๆ แล้วการคลอดลูกในน้ำนั้น มีความปลอดภัยสูง แถมยังช่วยลดแรงดันภายในร่างกาย ผ่อนคลายความเจ็บปวดขณะคลอดได้ดี ที่สำคัญช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายกว่าการคลอดลูกแบบธรรมชาติทั่วไป และการผ่าคลอด เมื่อน้ำประสานกับสารเอ็นดอร์ฟินที่หลังออกมาขณะคลอดแล้ว จะไปช่วยยับยั้งประสาทที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ไม่ให้ไปสู่สมองส่วนนอก ส่วนทารกนั้นเขาจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ดังนี้คือ

  • หลังจากที่ทารกออกมาจากช่องคลอดแล้ว เขายังอยู่ในน้ำประมาณ 60 วินาทีหรือ 1 นาทีอย่างปลอดภัย
  • การอยู่ในน้ำของทารก คือการปรับสภาพร่างกายจากน้ำคร่ำในมดลูก ซึ่งมีส่วนช่วยให้ทารกคลายความเครียดได้
  • เมื่อทารกออกมาแล้ว เขายังไม่หายใจ จนกว่าตัวเขาจะลอยขึ้นเหนือน้ำ
  • เมื่อคุณหมอส่งตัวทารกให้คุณแม่อุ้มขึ้นเหนือน้ำแล้ว เขาจะหายใจทันที
  • จากนั้น ทารกจะเรียนรู้การสัมผัสจากแม่ จากอากาศภายนอก สามารถเข้าเต้าดูดนมแม่ได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คลอดลูกในน้ำ ปลอดภัยกับแม่และลูกแค่ไหน?

 

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร

 

รู้จักขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำให้ดีขึ้น

ความมหัศจรรย์การคลอดลูกในน้ำมีมากกว่าที่คุณพ่อและคุณแม่คิด อย่าลืมว่า ขณะที่ลูกของเราอยู่ในครรภ์ เขาอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่โอบร่างกายของเขาอยู่ จึงไม่ต้องกังวลว่า ลูกคลอดในน้ำแล้วจะสำลักน้ำหรือหายใจไม่ทัน เราไปดูขั้นตอนแบบคร่าว ๆ กันค่ะ

 

1. เตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์

ก่อนอื่นต้องเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ให้ปลอดภัยทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นอ่างอาบน้ำที่ได้รับการทำความสะอาด ฆ่าเชื้ออย่างปลอดภัยจากไวรัสและแบคทีเรีย ทีมแพทย์จะตรวจเช็กเรื่องอุณหภูมิของน้ำ และเตรียมความพร้อมเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วจะไม่มีการติดเชื้ออย่างเด็ดขาด

 

2. เตรียมความพร้อมก่อนคลอด

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าคุณแม่ต้องการคลอดลูกในน้ำ ก่อนอื่นต้องเตรียมใจและร่างกายให้พร้อม ตัดความกังวล เชื่อใจคุณหมอและพยาบาล โดยขั้นแรก ทางทีมแพทย์จะให้คุณแม่ลงไปแช่ในอ่างน้ำอุ่นอย่างช้า ๆ เพื่อปรับร่างกายจนกว่าปากมดลูกจะค่อย ๆ เปิด ขยายออกเพื่อเตรียมพร้อมในการคลอดลูกอย่างเต็มที่ โดยจะใช้อุณหภูมิน้ำอยู่ที่ 35-37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงของมดลูกและถุงน้ำคร่ำ เพื่อเวลาทารกน้อยคลอดออกมา เขาจะได้ไม่ตกใจ สามารถปรับตัวกับอุณหภูมิได้ง่าย

 

3. ขณะที่คุณแม่กำลังคลอด

เมื่อปากมดลูกของคุณแม่ค่อย ๆ ขยายและเปิดออก คุณหมอจะให้คุณแม่เบ่งคลอดอย่างช้า ๆ เป็นจังหวะ ตรงนี้แหละค่ะ ประโยชน์ของน้ำจะช่วยลดความเจ็บปวดและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ในส่วนของทารกนั้น เขาจะไม่มีการตื่นตระหนก เพราะแรงดันของน้ำรวมถึงอุณหภูมิ ทำให้เขาเสมือนอยู่ในครรภ์มารดาอยู่ จากนั้น เมื่อพ้นครรภ์ออกมาแล้ว คุณหมอจะค่อย ๆ อุ้มเขาขึ้นเหนือน้ำ และสัมผัสอากาศภายนอกอย่างปลอดภัย ก่อนส่งทารกน้อยเข้าสู่อ้อมอกคุณแม่

 

4. ช่วงปากมดลูกเปิดเต็มที่

คุณแม่เริ่มเบ่งคลอดตามปกติ ขณะที่คลอด เด็กจะยังคงได้รับออกซิเจนจากเลือดผ่านทางสายสะดือ อุณหภูมิและการพยุงตัวจากแรงดันของน้ำจะทำให้เด็กปรับตัวได้ดีเหมือนอยู่ในครรภ์ ทารกจะหายใจได้เองเมื่อถูกอุ้มให้โผล่พ้นน้ำและสัมผัสบรรยากาศภายนอกพร้อมสัมผัสแรกจากคุณแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 21 ข้อดี ความมหัศจรรย์ของการคลอดลูกในน้ำ

 

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร

 

ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ

นอกจากการคลอดธรรมชาติแบบปกติและการผ่าคลอดแล้ว ทำไมคุณแม่จึงควรนำการคลอดลูกในน้ำเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการคลอดบุตร เราไปดูข้อดีกัน

 

1. ร่างกายคุณแม่จะผ่อนคลาย

ลองจินตนาการเวลาที่เราไปว่ายน้ำ และทิ้งตัวในสระ ร่างกายเราจะรู้สึกเบาสบาย มีน้ำโอบอุ้ม เช่นเดียวกัน การคลอดลูกในน้ำจะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกอิสระในการเคลื่อนไหว รู้สึกตัวเบา รวมถึงน้ำอุ่น ๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นช่วงกระดูกเชิงกรานและช่องคลอด เพื่อง่ายต่อเปิดให้ทารกนั้นออกมาได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ แรงต้านทานของน้ำยังช่วยพยุงกล้ามเนื้อให้มีความหด ยืด ขยายได้ดี ช่องคลอดจึงฉีกขาดได้น้อยกว่าการคลอดธรรมชาติที่หมอต้องลงมีดกรีด แถมยังช่วยให้แผลฝีเย็บของคุณแม่หายเร็วอีกด้วย

 

2. ลดการเจ็บปวดขณะคลอดในหญิงตั้งครรภ์

สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านกังวล คือ ความเจ็บปวดระหว่างคลอดและหลังคลอด ซึ่งการคลอดลูกในน้ำนั้น จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดีทีเดียว เนื่องจากน้ำอุ่น จะช่วยกระจายแรงดันของเลือดไปตามร่างกาย คลายความเครียด ความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ คลายการรัดตัวของมดลูก ทำให้มีการไหลเวียนเลือดดีขึ้น คุณแม่จะเจ็บท้องคลอดน้อยลง รู้สึกสบายตัวมากขึ้น เพราะระดับอะดรีนาลีนในร่างกายลดลง อีกทั้งน้ำ ยังช่วยเพิ่มระดับของสารเอ็นดอร์ฟินและออกซิโทซินให้คุณแม่รู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ไม่เจ็บปวดนานมากเกินไป วิธีนี้ยังช่วยให้คุณแม่ต้องไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาจากการบล็อกหลังอีกด้วย

 

3. ผ่อนคลายความกังวลในสมอง

ยิ่งเครียด ยิ่งทำให้ความดันในเลือดนั้นสูงขึ้น ซึ่งการแช่น้ำอุ่น ๆ จะช่วยลดความดันอันก่อให้เกิดความเครียด เนื่องจากแรงต้านทานของน้ำ จะพยุงคุณแม่ให้รู้สึกเบา น้ำหนักตัวน้อยลง ลอยตัวง่าย กล้ามเนื้อมดลูกก็จะได้รับออกซิเจนจากน้ำมากขึ้น แรงบีบรัดของมดลูกจะค่อย ๆ เป็นจังหวะที่เหมาะสม ไม่เร่งหรือช้าจนเกินไป ซึ่งเป็นข้อดีตรงที่ ทารกจะได้รับออกซิเจนได้มากขึ้นและสม่ำเสมอ

 

4. คุณแม่ไม่ต้องพักฟื้นนานมาก

การคลอดลูกธรรมชาติจะพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าคลอด แต่การคลอดลูกในน้ำนั้น สามารถพักฟื้นน้อยกว่านั้น เนื่องจากไม่ต้องทรมานกับบาดแผลผ่าตัด ช่องคลอดเกิดอาการอักเสบและระบมน้อยมาก คุณแม่จะสัมผัสได้ถึงความสุขจากธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากช่วงเวลาที่ลูกพ้นน้ำมาแล้ว ทารกน้อยจะได้รับการกระตุ้นให้ดูดนมแม่ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการของเด็กผ่าคลอด กับ คลอดธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร?

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร

 

คุณสมบัติของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สามารถคลอดในน้ำได้

ใช่ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถคลอดในน้ำได้ทุกคน แม้จะทราบข้อดีของการคลอดดังกล่าวแล้ว แต่ก็มีข้อจำกัดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกดังนี้

  • คุณแม่ต้องไม่มีการติดเชื้อที่มดลูกและปากช่องคลอด หมายถึง ต้องไม่เป็นโรคเริม โรคติดต่อบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่น้ำ และการติดเชื้อของตนเองและทารก
  • อัลตราซาวนด์ดูแล้วว่า ทารกต้องมีลักษณะการคลอดปกติ เช่น ศีรษะพร้อมออกทางช่องคลอด ทารกไม่มีลักษณะเอาก้นลง
  • ทารกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ไม่ตัวใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป
  • คุณแม่ต้องไม่เคยมีประวัติตกเลือดหรือมีการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ปัจจุบัน
  • หากตั้งครรภ์แฝดไม่สามารถทำได้
  • มีภาวะคลอดก่อนกำหนดแม้จะ 2 สัปดาห์ก็ตาม
  • คุณแม่ต้องไม่ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลมชัก
  • ครรภ์เป็นพิษและมีประวัติคลอดยาก
  • คุณแม่ต้องไม่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

 

ข้อควรระวังในการคลอดลูกในน้ำ

คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีความพร้อมทางด้านร่างกายในการคลอดลูกในน้ำแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่ต้องระวัง แม้จะเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว แต่ก็จุดสำคัญที่ต้องใส่ใจและไม่ควรมองข้าม

  • อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียสเป็นระดับน้ำอุ่นที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่และทารก ดังนั้น หากควบคุมอุณหภูมิไม่ดี ร้อนเกินไปหรือเย็นเกิน อาจเกิดภาวะอันตรายตามมา เช่น ทารกเกิดภาวะช็อก หรืออุณหภูมิไม่สามารถสร้างความสบายทางร่างกายต่อคุณแม่ อาจมีอาการเครียดตามมา ความเจ็บปวดขณะคลอดได้
  • ทีมแพทย์ต้องระวังเกี่ยวกับสายสะดือ หากสายสะดือสั้นอาจฉีกขาดได้ ผลที่ตามมาคือ จะทำให้คุณแม่เสียเลือดจำนวนมาก แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่ต้องระวังไว้ก่อน
  • การคลอดลูกในน้ำอย่างปลอดภัย ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ

คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณพ่อคงคลายความกังวลเรื่องการคลอดลูกในน้ำ ที่จะทำให้ทารกจมหรือสำลักน้ำ ในทางกลับกัน แรงดันน้ำจะช่วยพยุงตัวทารกขึ้นเหนือน้ำและหายใจทันที ประโยชน์ของน้ำยังช่วยชะล้างคราบเมือก น้ำคร่ำที่ติดบนตัวทารกคล้ายกับการทำความสะอาดในขั้นตอนแรกอีกด้วย

 

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิธีการคลอดลูกแบบนี้จะเป็นการคลอดลูกที่น่าสนใจ ปลอดภัยสูง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยเท่าไร เนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งนี้ขอให้คุณแม่คำนึงเสมอว่า การอยู่ในการดูแลของแพทย์และทำตามคำแนะนำจากคุณหมอที่เราฝากครรภ์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะคลอดแบบไหนก็ปลอดภัยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

ผ่าคลอด VS คลอดธรรมชาติ ส่งผลกับภูมิต้านทานตั้งต้นอย่างไร

วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ คำแนะนำการดูแลตนเองอย่างปลอดภัย

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการคลอดในน้ำ ได้ที่นี่!

คลอดในน้ำ ดียังไงคะ แล้วอันตรายรึเปล่าคะ

ที่มา: 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร คลอดธรรมชาติที่ลดความเจ็บปวดของคุณแม่
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ