X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รวม 8 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัย

บทความ 5 นาที
รวม 8 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัย

แย่แล้ว ลูกป่วยบ่อย ทำอย่างไร เป็นเรื่องทำให้คุณพ่อคุณแม่กลุ้มใจอยู่ไม่น้อย  ทำอย่างไรลูกรักถึงจะมีร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดี เพื่อจะแก้ปัญหาให้ตรงจุด เราจำเป็นจะต้องมาดูกันที่ สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย รวมถึงคำแนะนำในการป้องกันลูกน้อยจากเชื้อโรคเบื้องต้น

 

8 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย คืออะไร

ผู้ปกครองที่มีลูกน้อย ไปจนถึงลูกวัยเรียน อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมลูกน้อยมีอาการปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อยมาก ถึงแม้อาการจะไม่หนัก และสามารถหายได้ในเวลาไม่นาน แต่เรื่องแบบนี้ก็ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อย เพราะอาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่า ลูกน้อยไม่แข็งแรง ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกรักมากขึ้น โดยทั่วไปเด็กที่ป่วยบ่อยมี สาเหตุ ดังนี้

 

  1. ไม่ได้ดื่มนมแม่ โดยเฉพาะ น้ำนมเหลือง ที่อุดมไปด้วยสารอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  2. ในเด็กเล็กระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระบบภูมิคุ้มกันยังอ่อนแอ ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ทำให้เด็ก ๆ มีโอกาสติดเชื้อโรคได้โดยง่าย
  3. ผ่าตัดคลอด เด็กที่ผ่าตัดคลอดจะไม่ได้รับแบคทีเรียดีระหว่างคลอดจากแม่
  4. สภาพแวดล้อมของลูกไม่สะอาด หรือเอื้อต่อการเติบโตของเชื้อโรค เช่น ฝุ่นในห้องนอน หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกน้อย เช่น ของเล่น, ผ้าห่ม, ปลอกหมอน หรือขวดนม เป็นต้น
  5. ลูกน้อยยังไม่รู้จักวิธีในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องสุขอนามัย การเล่น การหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้ หรือบ้านไหนที่ลูกไปโรงเรียนแล้ว ก็มีโอกาสรับเชื้อโรคมาจากเพื่อนที่โรงเรียนได้สูง
  6. บางครั้ง เด็ก ๆ อาจไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะตอนที่วิ่งเล่นกับเพื่อน เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น เด็ก ๆ อาจถอดหน้ากากอนามัยออก ทำให้สูดอากาศที่มีเชื้อหวัดปนอยู่เข้าไป
  7. การเว้นระยะห่าง Social distancing หรือ Physical distancing โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ชอบวิ่งเล่น สัมผัสถูกตัวกัน ทำให้มีโอกาสสูงที่เชื้อจะแพร่กระจายเชื้อโรค จากคนหนึ่งไปสู่เด็กอีกคนหนึ่งได้ง่าย
  8. โรคประจำตัว เด็กบางคนมักมีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ ซึ่งถ้าหากอยู่ในสภาพอากาศที่ไปกระตุ้นให้เกิด ก็อาจจทำให้มีอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไข้สูงไม่ลด ลูกตัวร้อนไม่หาย สิ่งที่ห้ามทำ และวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

Advertisement

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย

 

สัญญาณอาการแบบไหนที่บอกว่าลูกไม่สบาย?

เพราะเด็กเล็ก หรือ ทารกแรกเกิด ไม่สามารถสื่อสารหรือบอกกับเราตรง ๆ ได้ว่าป่วย แต่หากเราสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มมีอาการหงุดหงิด หรือร้องไห้อย่างต่อเนื่องและนานกว่าปกติ อาจจะเป็นสัญญาณบอกได้ว่าลูกไม่สบาย บวกกับว่าถ้าหากลูกมีไข้ ตัวเริ่มร้อน เบื่ออาหารหรือไม่ยอมกินนม ท้องเสีย หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

วิธีดูแลลูกให้ห่างไกลจากเชื้อโรค

คุณแม่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูก ไม่ให้ลูกป่วยบ่อย ได้ด้วย 4 วิธีง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานรอบตัว ซึ่งอาจถูกมองข้ามไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนี้

 

1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำนมแม่คือ อาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อย และดีต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่สุด  เพราะในน้ำนมแม่จะมีภูมิคุ้มกัน แอนติบอดี และเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่ปกป้องลูกน้อยจาก โรคหูติดเชื้อในเด็ก โรคภูมิแพ้ โรคท้องร่วง โรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคใหลตายในเด็ก โดยเฉพาะ “น้ำนมเหลือง” ที่ไหลออกมาในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด ที่อุดมไปด้วยแอนติบอดีที่จำเป็นในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ

ทารกแรกเกิดนั้น ไม่ควรพลาดน้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งเป็นน้ำนมแม่ช่วงที่มีปริมาณสารอาหารสูงสุด และจะมีเพียง 1 – 3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น ในน้ำนมเหลืองอุดมไปด้วย “แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin)” ที่มีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของทารก ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกแข็งแรงมากขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ในนมแม่ยังมี “MFGM” หรือเยื่อหุ้มไขมันในน้ำนมแม่ ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์สมองและเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองแล้ว ยังพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดการเจ็บป่วยของลูกได้

 

2. โภชนาการอื่น ๆ ต้องดี

สำหรับเด็ก ๆ ในวัย 6 เดือนขึ้นไป นอกจากจะดื่มนมแม่แล้ว ก็ควรได้ทานอาหารตามวัยอย่างเหมาะสม ซึ่งจะปรับจากอาหารบดกระทั่งเป็นอาหารแข็งเมื่อลูกมีพัฒนาการการบดเคี้ยวที่ดีขึ้น ซึ่งควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่

แต่ถ้าน้ำนมแม่ไม่พอ หรือนมแม่หมดแล้ว  และยังกินอาหารอื่นไม่ค่อยได้ คุณแม่ควรมองหาโภชนาการการอื่น ๆ เข้ามาเสริมโดยเลือกสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้าง และช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างปกติ เช่น แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) ตามที่กล่าวไปข้างต้น และ MFGM  เด็กบางคนอาจมีข้อจำกัดในการดื่มนม เช่น  ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ย่อยโปรตีนนมปกติไม่ค่อยได้ อาจจะต้องเลือกโภชนาการย่อยง่ายที่ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยบางส่วน (PHP) ถ้าคุณแม่อยากจะปรับเปลี่ยนหรือเสริมโภชนาการ คุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อโภชนาการที่เหมาะสมกับลูกน้อย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย 2

 

3. สภาวะแวดล้อมต้องปลอดภัย

พื้นที่อยู่อาศัยของลูกน้อยสำคัญมาก เพราะทารกไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ การดูแลความสะอาดในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ไปจนถึงของเล่นของลูก และอุปกรณ์ที่ใช้กับลูกบ่อย ๆ เป็นสิ่งพื้นฐานที่ห้ามมองข้าม เพื่อเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ นอกจากนี้เมื่อลูกมีอายุที่มากขึ้น พอที่จะเรียนรู้ได้ คุณแม่อย่าพลาดที่จะสอนลูกในเรื่องของสุขอนามัย การล้างมือเมื่อจับสิ่งของ ล้างมือก่อนหลังกินข้าว เป็นต้น

 

4. การเรียนรู้นอกบ้าน

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปสัมผัสกับธรรมชาติ ให้เค้าได้อยู่กับต้นไม้ใหญ่ ต้นหญ้า โดยอาจจะพาไปออกกำลังกาย เดินเล่น ที่สวนสาธารณะ ดีกว่าไปในที่คนพลุกพล่าน อย่างเช่นห้างสรรพสินค้า ที่อาจจะเป็นแหล่งสะสมและแพร่เชื้อโรค แต่อย่าให้ลูกตากแดดจัด นอกจากนี้การพาลูกไปข้างนอกบ้านยังมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของร่างกาย และยังส่งเสริมเรื่องภูมิคุ้มกันอีกด้วย อย่างไรก็ตามการพาเด็กเล็กไปนอกบ้าน ผู้ปกครองจะต้องไม่ลืมการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงคอยดูแลความปลอดภัยไม่ให้พ้นจากระยะสายตา รวมถึงเตรียมอุปกรณ์ และยารักษาโรคประจำตัวของลูกไปด้วย

การให้โอกาสลูกที่จะออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย เช่น การได้วิ่งเล่นไปบนสนามหญ้า เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้ลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้นได้ ผู้ปกครองควรเล่นกับลูกด้วย ถือเป็นการใช้เวลาร่วมกับลูกอีกแบบหนึ่งไปในตัว ดังนั้นเมื่อลูกสามารถหัดเดินได้ พอวิ่งได้ การออกไปปิกนิกข้างนอกก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

 

5. รับวัคซีนให้ครบ

ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงเด็กเล็กมีวัคซีนหลายชนิดที่ต้องรับตามอายุที่เหมาะสม ในเรื่องนี้เป็นสิ่งพื้นฐานที่แพทย์จะต้องบอกคุณแม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อลูกผ่านพ้นช่วงแรกของการคลอดแล้วกลับไปอยู่บ้าน อย่าลืมที่จะพาลูกน้อยไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัด ไม่ควรปล่อยให้เลยกำหนดวันฉีดวัคซีน เพราะจะยิ่งทำให้ลูกมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ได้

 

การดูแลเด็กที่อยู่ในวัยกำลังซนแบบนี้ อย่าปล่อยให้อาการป่วย อาการไข้มารบกวนความสนุกของพวกเขาได้ การดูแลเรื่องโภชนาการ สภาพแวดล้อม และการเคร่งครัดเรื่องวัคซีน เป็นสิ่งที่สามารถช่วยปกป้องลูกจาดเหล่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ

วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก พ่อแม่ควรทำอย่างไรไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่ายวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทารก พ่อแม่ควรทำอย่างไรไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่าย

 

ที่มา : phyathai verywellhealth, samitivej

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รวม 8 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัย
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว