X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่

บทความ 5 นาที
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ เมื่อหมอบอกว่าคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หมายความว่าอย่างไร ภาวะเบาหวานนี้ เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี ในวันนี้ เรามีเกร็ดความรู้เรื่องโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์มาฝากกัน ติดตามได้จากบทความนี้เลยค่ะ

 

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่คนท้องมักเป็นกันหลังจากตั้งครรภ์ได้ 24- 28 สัปดาห์ที่ มีสาเหตุมาจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพราะร่างกายผลิตอินซูลินไม่ได้ตามปกติ และเป็นภาวะที่ทำอันตรายแม่และเด็กได้

 

คนท้องที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีอาการอย่างไร

คนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักไม่แสดงอาการออกมาอย่างแน่ชัด ต้องไปตรวจน้ำตาล ถึงจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน แต่ว่าบางราย ก็อาจหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งอาจอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

 

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายไหม

ภาวะเบาหวาน ถือเป็นภาวะสุขภาพ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และเด็กได้ สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน อาจครรภ์เป็นพิษในช่วงที่ตั้งท้อง หรืออาจต้องคลอดลูกด้วยการผ่าคลอด มากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ เพราะทารกอาจมีขนาดใหญ่มากกว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งคุณแม่เอง ก็อาจมีโอกาสเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 หลังจากการคลอดได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สำหรับเด็กทารกที่มีคุณแม่เป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ ก็อาจคลอดก่อนกำหนด เกิดมาน้ำหนักตัวน้อย มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีหลังคลอด มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคต มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ หรืออาจเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง :  เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

Advertisement

ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่เสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากขึ้น

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยเหล่าคุณแม่ที่มีสุขภาพร่างกายและอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไปนี้ มักจะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากกว่าคนทั่วไป

  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีถุงน้ำรังไข่หลายใบ ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  • ทารกในครรภ์หนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • มีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ก่อนที่จะตั้งครรภ์
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • มีอายุมากกว่า 25 ปี
  • เคยแท้งบุตรมาก่อน

 

การตรวจหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เมื่อเข้าพบคุณหมอ คุณหมอจะให้คุณแม่ดื่มของเหลวรสหวาน และให้นั่งรอ 1 ชั่วโมง จากนั้นคุณหมอจะเจาะเลือดคุณแม่ เพื่อตรวจดูว่าร่างกายคุณแม่นำน้ำตาลไปใช้ยังไงบ้าง ซึ่งคนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีค่าน้ำตาลสูงเกินกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

การรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ในการรักษาภาวะนี้ แพทย์จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย ซึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้รักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

คุณหมอจะให้คุณแม่ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 4-5 ครั้งต่อวัน เพื่อดูว่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยจะให้คุณแม่เจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดลงบนแถบทดสอบ จากนั้นจะนำไปตรวจด้วยเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลเพื่อหาค่าน้ำตาลในเลือดต่อไป

 

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้อง คุณแม่ควรหันมาบริโภคผักผลไม้แทน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะมีสารอาหารและเส้นใยที่สูง อีกทั้งยังมีน้ำตาลน้อยและมีแคลอรีต่ำอีกด้วย ซึ่งคุณแม่จะต้องลดการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจทำให้น้ำหนักตัวและน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

 

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยให้กลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์พลังงานเพื่อผลิตแทน อีกทั้งการออกกำลังกาย ยังช่วยลดอาการปวดหลัง ท้องผูก ตัวบวม และนอนไม่หลับได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณแม่ต้องออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยอาจขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของลูกในครรภ์

 

  • ใช้ยารักษาโรค

หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ยังสูงอยู่ แม้ว่าจะออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ใช้ยาฉีดอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดคนท้อง ต้องทำไง

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

วิธีลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไรบ้าง

หากคุณแม่เป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ แนะนำให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายเบา ๆ โดยอาจจะลุกขึ้นเดินหลังทานอาหารเช้าสัก 15 นาที เพื่อช่วยให้ร่างกายใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • แบ่งทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ไม่ควรงดอาหาร เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายไม่เป็นปกติ พยายามทานอาหารเช้า 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน และไม่ปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3-4 ชั่วโมง
  • ทานผักให้มากขึ้น ในจานอาหาร ควรจะมีผักอยู่ 1/3 ของจาน ซึ่งอาจจะเป็นผักที่ผ่านการต้ม นึ่ง หรือผัดก็ได้
  • ทานผลไม้ก่อนอาหาร จะทานผลไม้สด หรือผลไม้แช่แข็งก็ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ และผลไม้ที่ผสมน้ำเชื่อม
  • ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังธัญพืช มูสลี่ และ อาหารเช้าที่ไม่มีน้ำตาล เป็นต้น
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไม่รับประทานหนังสัตว์ หรือ มันจากสัตว์ ให้เลือกทานเฉพาะเนื้อไม่ติดหนัง โดยตัดมันออกก่อนทำอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มันจัดอย่างเบคอน ไส้กรอก และกุนเชียง
  • ใช้น้ำมันพืชทำอาหาร หากต้องทำอาหาร ให้ใช้น้ำมันพืช แทนน้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น

 

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รักษาให้หายได้ไหม

สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หลังจากคลอดลูกแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อย ๆ ลดลงจนหายเป็นปกติ คุณแม่ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด และอาการอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น การติดเชื้อ หรือการตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น ซึ่งหากพบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์ก็จะให้รักษาต่อไป

และถ้าหากคุณแม่ยังมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อยู่เหมือนเดิม แพทย์ก็จะช่วยคุณแม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการให้คุณแม่ให้นมลูกด้วยตนเองและรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงต้องลดอาหารที่เป็นแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้ตามปกติ

 

การดูแลสุขภาพในช่วงท้องเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องอาหารการกินของตัวเอง พอ ๆ กับการใส่ใจเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต หากเราทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้ป่วยง่าย สุขภาพไม่แข็งแรง จนอาจส่งผลเสียต่อเด็กในท้องได้ หากอยากให้ลูกคลอดออกมาอย่างปลอดภัย ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ สดสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทำตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดนะคะ ถ้าคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เบาหวานประเภท 2 สัญญาณเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร?

ลดการเป็นเบาหวาน ประโยชน์ของการให้นมลูก ของคุณแม่มือหลังคลอด

ไม่อยากเป็น เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่รุนแรงกว่าที่คิด ต้องทำอย่างไร?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้ที่นี่!

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรคะ แล้วมีวิธีป้องกันไหมคะ

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะส่งไปที่ลูกไหมคะ แล้วอันตรายมากไหมคะ

ที่มา : webmd, nonthavej, pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว