X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระยะของการคลอด เป็นอย่างไร คลอดรกตอนไหนเจ็บปวดที่สุด?

บทความ 5 นาที
ระยะของการคลอด เป็นอย่างไร คลอดรกตอนไหนเจ็บปวดที่สุด?

ระยะของการคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องหลายคนควรรู้ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะไม่ตกใจเมื่อถึงเวลาของการคลอดบุตร โดยเมื่อถึงช่วงที่คุณแม่เจ็บท้องคลอดนั้น มดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกจะขยายเพื่อให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมายังโลกภายนอกนั่นเอง วันนี้เราจะพามาดูกันว่าระยะของการคลอด แบ่งเป็นกี่ระยะ และคุณแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถึงเวลารอคลอด ไปติดตามอ่านกันค่ะ

 

ระยะของการคลอด มีอะไรบ้าง

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ คงตื่นเต้นไม่น้อย สำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง เรามาดูกันค่ะว่าระยะของการคลอดแต่ละช่วงนั้น เป็นอย่างไรบ้าง

 

1. ระยะแรก

  • ช่วงแรกของการคลอด

เมื่อเข้าสู่ช่วงแรกของการคลอด สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ ปากมดลูกจะเริ่มบางลง และเกิดการขยายตัว แม่ท้องจะรู้สึกได้ว่ามดลูกบีบตัวทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาคลอด ซึ่งบางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าเจ็บท้องใกล้คลอด แต่ก็ยังไม่ใช่ อาการเจ็บอาจจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องบางคน แต่บางคนก็อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย และยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในขณะที่แม่ท้องบางคนที่ปากมดลูกยังไม่ขยาย แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวก็มี

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรอธิบายถึงอาการที่เกิดคุณให้คุณหมอฟังอย่างละเอียด ซึ่งคุณหมออาจให้รอจนกว่ามดลูกจะขยายตัวมากกว่านี้ หรือบางครั้งอาจให้แม่ท้องนอนดูอาการที่โรงพยาบาลเลยก็มี

 

Advertisement

 

  • ช่วงเจ็บเตือน

สำหรับแม่ท้องแล้ว ช่วงที่ยากลำบากและเจ็บปวดช่วงหนึ่งก็คือช่วงเจ็บเตือน เพราะมดลูกจะขยายตัวมากขึ้น ในช่วงนี้ปากมดลูกจะเริ่มขยายตัวจาก 4 เซนติเมตร เป็น 7 เซนติเมตร โดยอาการเจ็บปวดในช่วงนี้อาจจะนานหลายชั่วโมง หรืออาจจะมีอาการเจ็บปวดเป็นวัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่และลูกในท้องด้วย

ในช่วงนี้แม่ท้องต้องพยายามทำตัวเองให้ผ่อนคลาย โดยใช้เทคนิคการหายใจ และหากแม่ท้องรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ก็อาจจะลองลุกขึ้นยืนและค่อย ๆ เดินไปรอบ ๆ แทนที่จะนอนอยู่บนเตียง และพยายามอดทนไว้ก่อน อย่าเพิ่งเบ่ง

 

  • เจ็บพร้อมคลอด

เมื่อมดลูกขยายตัวจาก 7 เซนติเมตร เป็น 10 เซนติเมตรแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่แม่ท้องเจ็บพร้อมคลอด หรือกำลังเข้าสู่ขั้นที่ 2 ของการคลอด โดยช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เจ็บปวดที่สุดของการคลอด การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มเป็นสองเท่า และจะเริ่มปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย และเจ็บปวดมาก แต่ขอให้คุณแม่อดทนไว้ก่อน เพราะอีกไม่นาน ก็จะได้พบหน้าเจ้าตัวน้อยแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บท้องคลอด เจ็บแบบไหน ส่งสัญญาณว่าคลอดชัวร์!

 

ระยะของการคลอด

 

2. ระยะที่ 2

  • ระยะคลอดลูก

เมื่อปากมดลูกของคุณแม่ขยายตัวเต็มที่แล้ว เจ้าตัวน้อยก็จะค่อย ๆ คลอดออกมาตามช่องคลอดเองเนื่องจากการบีบตัว ในตอนนี้เป็นตอนที่คุณแม่เบ่งคลอด โดยระยะเวลาของการคลอดจะนานขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเด็กทารกและการเบ่งของคุณแม่ ถ้าทารกตัวใหญ่ ก็อาจจะต้องใช้เวลาคลอดนานขึ้น และเมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว ความเจ็บปวดของคุณแม่ก็แทบจะหายเป็นปลิดทิ้ง หลังจากได้ยินเสียงร้องของเจ้าตัวน้อย และความตื้นตันก็จะเข้ามาแทนที่

 

3. ระยะที่ 3

  • การคลอดรก

หลังจากที่ลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว การคลอดยังไม่จบนะคะ และก็ถึงเวลาของการคลอดรก คุณแม่อาจจะพัก 10 – 15 นาที หลังจากคลอดลูกเสร็จ โดยในช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการบีบตัวแบบเบา ๆ แต่ก็ไม่เจ็บปวดอะไรมากแล้ว

 

4. ระยะที่ 4

  • ระยะฟื้นฟู

เมื่อการคลอดเสร็จสมบูรณ์ ก็ถึงคราวที่คุณแม่จะเริ่มผ่อนคลายได้แล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกจะได้กินน้ำนมจากเต้าของคุณแม่ เป็นช่วงที่รู้สึกได้ถึงไออุ่นรักระหว่างอ้อมกอดของแม่และลูกน้อย น้ำนมแม่นั้น เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย นอกจากนี้ การให้นมในช่วงหลังคลอดยังช่วยกระตุ้นร่างกาย ให้มดลูกเข้าที่ ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็ว และยังช่วยให้น้ำหนักลดลงหลังคลอดอีกด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ

 

ระยะของการคลอด

 

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อไปรอคลอดที่โรงพยาบาล

เมื่อคุณแม่ไปถึงที่โรงพยาบาล เจ้าที่จะคอยดูแลและให้คำแนะนำในขณะที่รอคลอด ดังนี้

  • งดรับประทานอาหารและน้ำ ยกเว้นคุณแม่ที่ปากมดลูกเปิดน้อยจะได้รับประทานอาหารเป็นมื้อ ๆ
  • ได้รับการสวนอุจจาระ โดยเมื่อสวนแล้ว ต้องพยายามถ่ายอุจจาระให้มดเพื่อไม่ให้ขวางช่องคลอดขณะที่ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงมา และเพื่อไม่ให้เลอะเทอะขณะที่กำลังคลอดลูก
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะหากกระเพาะปัสสาวะโป่งพองมาก อาจขัดขวางการเคลื่อนต่ำของทารก
  • หากคุณแม่ยังไม่มีน้ำเดิน สามารถเดินได้ แต่หากมีน้ำเดินแล้วต้องนอนหรือนั่งพักบนเตียง เพราะอาจทำให้สายสะดือย้อยได้
  • คุณแม่สามารถใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อช่วยลดอาการเจ็บครรภ์ได้
  • หากคุณแม่รู้สึกถึงอาการน้ำเดินออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ หรืออยากเบ่ง ต้องแจ้งเจ้าที่ทันที
  • แพทย์อาจเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อกระตุ้นให้เจ็บท้องมากขึ้น ซึ่งขณะเจาะน้ำคร่ำคุณแม่จะรู้สึกถึงน้ำอุ่น ๆ ไหลออกทางช่องคลอด

 

คุณแม่ควรเบ่งคลอดท่าไหน

สำหรับท่าที่เหมาะสมในการเบ่งคลอด คือ ท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน หรือยกหัวสูงเล็กน้อย โดยเมื่อมดลูกหดรัดตัว คุณแม่ควรสูดลมหายใจช้า ๆ แยกศีรษะก้มหน้า แยกเข่าให้กว้างพร้อมคลายกล้ามเนื้อช่องคลอด สองมือให้กำเหล็กข้างเตียง แล้วออกแรงเบ่งลูกทางช่องคลอดคล้ายกับถ่ายอุุจจาระประมาณ 6 วินาที แล้วผ่อนลมหายใจ เงยหน้าขึ้นพร้อมสูดลมหายใจกลั้นไว้ แล้วเบ่งซ้ำ ๆ จนมดลูกคลายตัว ซึ่งปกติแล้วมดลูกหดรัดตัวครั้งหนึ่ง คุณแม่จะสามารถเบ่งได้ 3-4 ครั้ง เมื่อมดลูกคลายตัวให้คุณแม่สูดลมหายใจช้า ๆ แล้วนอนพัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

 

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ระยะของการคลอด

 

ขณะคลอดลูกเป็นอย่างไร

เมื่อปากมดลูกเปิด คุณแม่จะถูกย้ายตัวเข้าห้องคลอด โดยแพทย์จะให้คุณแม่นอนขึ้นเพื่อเบ่งคลอด เมื่อศีรษะทารกออกมา แพทย์จะดูดเมือกจากปากและจมูก และช่วยทารกคลอด โดยในระหว่างนี้คุณแม่ไม่ต้องช่วยเบ่งนะคะ เพราะจะทำให้ทารกคลอดเร็วเกินไปอาจทำให้ช่องคลอดฉีกขาด หรือทำให้ลูกหลุดมือแพทย์ทำคลอดได้ ยกเว้นกรณีที่ทารกตัวใหญ่ แพทย์จะให้คุณแม่ช่วยเบ่งเบา ๆ จากนั้นจะทำการคลอดรกโดยกดที่หน้าท้อง คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บค่ะ หากพบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่จะสามารถดื่มน้ำและนอนพักเพื่อสังเกตอาการได้ จากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมงจะย้ายไปพักที่ห้องพิเศษแทน

 

หลังจากที่คลอดลูกแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำตัวทารกไปดูแล เช็ดทำความสะอาดที่เครื่องให้ความอบอุ่น และนำป้ายผูกข้อมือทารก จากนั้นจึงนำไปอาบน้ำและฉีดวัคซีนที่ห้องทารกแรกเกิด ดังนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงเลยนะคะ สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีประสบการณ์ตอนคลอด หรือมีเรื่องราวที่อยากแบ่งปันให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ทราบ ก็สามารถร่วมบอกเล่าประสบการณ์ผ่านช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท่านั่งเร่งคลอด นั่งท่าไหนช่วย มดลูกเปิดเร็ว ลดอาการเจ็บคลอด

วิธีดูแลตนเองหลังคลอดธรรมชาติ คำแนะนำการดูแลตนเองอย่างปลอดภัย

เตรียมของใช้ทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล ใกล้คลอดแล้ว…ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่มา : sriphat

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ระยะของการคลอด เป็นอย่างไร คลอดรกตอนไหนเจ็บปวดที่สุด?
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว