TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ

บทความ 5 นาที
สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ

คุณแม่ที่อยากเก็บนมแม่เอาไว้ให้ทารกกินภายหลัง โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องกลับไปทำงาน สต็อกน้ำนมเหลือง ทำได้ไหม ควรสต็อกนมอย่างไรตั้งแต่ช่วงหลังคลอด ไปจนถึงเริ่มกลับไปทำงาน เพื่อให้ทารกอิ่มท้อง ไม่ขาดนมแม่ที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับลูกน้อย

 

สต็อกน้ำนมเหลือง ทำได้ไหม

ปัญหาเกี่ยวกับการสต็อกนมแม่ คือ คุณภาพของน้ำนมที่ลูกจะได้รับ และที่สำคัญสำหรับ “น้ำนมเหลือง (Colostrum)” ที่มีประโยชน์อย่างมาก เจอได้ในช่วงหลังคลอด 1-3 วัน คุณแม่หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่า น้ำนมเหลืองมีสารอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin), MFGM (Milk Fat Globule Membrane), DHA  และ 2’-FL ซึ่งแลคโตเฟอร์รินมีส่วนช่วยสำคัญต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคของทารก และสามารถช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสให้กับทารก รวมไปถึงส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ซึ่งสำคัญมากสำหรับทารก

คุณแม่หลายคนจึงอยากรู้ว่าจะสามารถเก็บน้ำนมเหลืองเอาไว้ได้ไหม ต้องบอกว่าในระยะก่อนคลอด คุณแม่อาจจะสามารถนวดและบีบน้ำนมเหลืองออกมาได้เล็กน้อย แต่การเก็บน้ำนมเหลืองก่อนคลอดขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายคุณแม่ก่อนคลอดแต่ละคนด้วยเช่นกัน และน้ำนมเหลืองที่เก็บก่อนคลอดจำเป็นต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดได้สนิทเท่านั้น รวมถึงคุณแม่ควรมีอายุครรภ์ตั้งแต่ภ์ 36 ถึง 37 สัปดาห์เป็นต้นไป เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบความพร้อมของคุณแม่ เนื่องจากการกระตุ้นเต้านมก่อนคลอดอาจทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน ซึ่งอาจเร่งการเจ็บครรภ์คลอดให้เร็วขึ้นได้ 

นอกจากนี้คุณแม่ควรรับคำแนะนำในการกระตุ้นน้ำนมให้ได้มากที่สุด เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำนมน้อยเกินไปในช่วงหลังคลอด ซึ่งสำคัญมาก

 

สต็อกน้ำนมเหลือง

 

การสต็อกน้ำนมในช่วงหลังคลอดจนถึงช่วงกลับไปทำงาน

คุณแม่ที่ไม่เคยสต็อกน้ำนมแม่มาก่อน เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาฝากคุณแม่กัน ว่าตั้งแต่ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ไปจนถึงช่วงที่กลับไปทำงาน ควรรู้อะไรบ้างหากจะปั๊มนมเก็บเอาไว้ลูกกินภายหลัง

 

1. ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด

ช่วงที่เริ่มได้เร็วที่สุดคือสัปดาห์แรกหลังคลอด ให้คุณแม่สังเกตอาการในช่วงที่เหมาะที่สุด คือ อาการคัดเต้านม โดยเฉพาะในช่วงที่เพิ่งตื่นนอนใหม่ ๆ ช่วงเช้า ยิ่งคุณแม่พักผ่อนมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะมีปริมาณน้ำนมหลังคลอดมากขึ้นตามไปด้วย ในช่วงแรกทารกจะไม่ได้ต้องการน้ำนมปริมาณมาก เนื่องจากขนาดท้องของทารกยังมีขนาดที่เล็กมากอยู่ ปริมาณน้ำนมของคุณแม่จึงมีแนวโน้มที่จะเหลือเก็บใส่ตู้เย็นเอาไว้

ในช่วงนี้ต้องรีบสังเกตตนเอง หากพบว่ามีปริมาณน้ำนมน้อย แม้จะเพียงพอต่อการให้ทารกกินอิ่มในวันนั้น ๆ แต่ในอนาคตอาจเป็นปัญหาใหญ่ได้ เพราะทารกจะต้องการปริมาณน้ำนมแม่มากขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณแม่พบปัญหาจึงควรรีบปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการกระตุ้นน้ำนมแม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

2. การสต๊อกน้ำนมช่วง 1 เดือน

ในช่วงนี้โดยปกติแล้วร่างกายของคุณแม่จะผลิตน้ำนมได้มากขึ้น และน้ำนมจะมีจำนวนมากพอ ที่จะให้ทารกเข้าเต้า และยังเหลือสำหรับปั๊มเก็บเอาไว้ แต่เรื่องสุขภาพของคุณแม่เป็นเรื่องไม่แน่นอน และส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำนมที่คุณแม่จะมีในแต่ละวัน ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่ควรเน้นที่การพักผ่อนให้เพียงพอในทุกวัน รวมไปถึงกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารในน้ำนมมีมากพอให้กับทารกด้วย

น้ำนมที่คุณแม่นำมาสต็อกไว้ในตู้เย็น หากไม่ได้ฉุกเฉินไม่ควรนำมาให้ลูกกิน ควรเน้นให้ลูกเข้าเต้า เพราะการนำลูกเข้าเต้ามีประโยชน์ต่อทารก และคุณแม่มากกว่า ส่วนนมแม่ที่สต็อกไว้ในตู้เย็น ให้จัดลำดับวันที่ให้ดี เพื่อไม่ให้หยิบผิด และไม่ให้มีนมเสียเพราะลูกกินไม่ทัน แล้วค่อยเริ่มนำมาให้ลูกกินในช่วงที่คุณแม่ไปทำงานแล้ว ในเรื่องนี้เราจะอธิบายในหัวข้อต่อไป

 

สต็อกน้ำนมเหลือง 2

 

3. การสต็อกนมแม่ช่วงกลับไปทำงาน

ในช่วงนี้เมื่อลูกไม่ได้อยู่กับคุณแม่ คุณแม่สามารถนำน้ำนมที่สต็อกไว้มาให้ทารกกินแทนเข้าเต้าได้ โดยให้เรียงลำดับตามวันที่ของนมที่เก็บไว้ และคุณแม่สามารถปั๊มนมเก็บไว้เพิ่มได้เรื่อย ๆ โดยทั่วไปสามารถปั๊มได้ทุก 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามแม้จะให้ทารกกินน้ำนมที่เก็บไว้ในช่วงทำงาน แต่เมื่อมีโอกาสควรให้ลูกเข้าเต้าด้วย เพราะการอุ้มลูกเข้าเต้ามีส่วนช่วยในเรื่องของการกระตุ้นน้ำนมแม่ และทำให้สายสัมพันธ์ของคุณแม่ และลูกน้อยแนบแน่นมากยิ่งขึ้นด้วย

คุณแม่ควรเน้นที่ให้ลูกเข้าเต้าสลับกับการให้นมสต็อกตามความเหมาะสม หากคุณแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ ควรให้ลูกกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่ทารกควรได้รับนมแม่ หลังจากนั้นคุณแม่สามารถลดมื้อนมแม่ และค่อย ๆ เพิ่มมื้ออาหารใหม่ ๆ ให้กับลูกได้ลองกิน โดยทั่วไปจะเริ่มที่อาหารบดก่อน นอกจากนี้ในช่วงนี้คุณแม่สามารถเลือกสูตรนมผงที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะแลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) และสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย

 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการสต็อกน้ำนมแม่

นอกจากความรู้เบื้องต้นของการปั๊มนมที่เราบอกไปแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ยิบย่อย ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ โดยเราสรุปมาให้ ดังนี้

  • ช่วงลาคลอดโดยประมาณ 3 เดือน คุณแม่ควรปั๊มนมเก็บไว้ใช้ช่วงทำงานประมาณ 30-50 ถุง ถุงละ 2-4 ออนซ์ โดยคุณแม่ควรหาโอกาสปั๊มนมเพิ่มเรื่อย ๆ เมื่อมีการใช้นมที่เก็บสต็อกไว้ เพื่อไม่ให้สต็อกขาดจนมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกในอนาคต
  • ก่อนที่คุณแม่จะปั๊มนมเก็บไว้ทุกครั้ง คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับความสะอาดของอุปกรณ์ และมือของคุณแม่ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อน สิ่งเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อทารกน้อยได้หากไม่ระวัง
  • หมั่นล้างอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปั๊มนมหลังสต็อกเสร็จแล้ว โดยทั่วไปสามารถใช้น้ำร้อนผสมสบู่ในการทำความสะอาดได้
  • คุณแม่ต้องระวังการเก็บนมแม่ให้ดี หากใส่ตู้เย็นช่องธรรมดา จะอยู่ได้เพียง 8 วันเท่านั้น ในขณะที่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งปกติ จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์  และหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา จะเก็บได้สูงสุด 6 เดือน

 

การสต็อกนมของคุณแม่เอาไว้ เป็นทางเลือกขั้นพื้นฐานที่คุณแม่ควรทำอยู่แล้ว เพราะการเอาลูกเข้าเต้าตลอดเวลาอาจไม่สามารถทำได้ และเป็นทางออกที่ดีสำหรับทารกที่ยังต้องการนมแม่อยู่ในช่วงขั้นต่ำ 6 เดือนแรก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นมแม่ 3 ระยะ น้ำนมเหลือง นมแม่ทั่วไป ต่างกันอย่างไร

น้ำนมไหลก่อนคลอด น้ำนมเป็นสีขุ่น ๆ แบบนี้ผิดปกติไหม ?

คุณแม่ต้องรู้! น้ำนมเหลืองดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการเจ็บป่วย

ที่มา : enfababy, UHS, UHS, jpaget

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ
แชร์ :
  • ให้นมลูกกินฟ้าทะลายโจรได้ไหม? สมุนไพรยอดฮิต กับคำถามที่แม่ให้นมต้องรู้

    ให้นมลูกกินฟ้าทะลายโจรได้ไหม? สมุนไพรยอดฮิต กับคำถามที่แม่ให้นมต้องรู้

  • แพ้ท้องหนักมาก คลื่นไส้ทั้งวัน กินอะไรไม่ได้! ลอง 5 วิธีนี้ ช่วยได้จริง!

    แพ้ท้องหนักมาก คลื่นไส้ทั้งวัน กินอะไรไม่ได้! ลอง 5 วิธีนี้ ช่วยได้จริง!

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • ให้นมลูกกินฟ้าทะลายโจรได้ไหม? สมุนไพรยอดฮิต กับคำถามที่แม่ให้นมต้องรู้

    ให้นมลูกกินฟ้าทะลายโจรได้ไหม? สมุนไพรยอดฮิต กับคำถามที่แม่ให้นมต้องรู้

  • แพ้ท้องหนักมาก คลื่นไส้ทั้งวัน กินอะไรไม่ได้! ลอง 5 วิธีนี้ ช่วยได้จริง!

    แพ้ท้องหนักมาก คลื่นไส้ทั้งวัน กินอะไรไม่ได้! ลอง 5 วิธีนี้ ช่วยได้จริง!

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว