X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

บทความ 8 นาที
วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

แม่ใกล้คลอดกลัวคลอดแล้วหมดแรง มีวิธีเบ่งคลอดอย่างไร หายใจแบบไหนถึงมีลมเบ่ง

วิธีเบ่งลูก การเบ่งคลอดที่ถูกวิธี คลอดธรรมชาติ คลอดลูกต้องหายใจแบบไหน ถึงมีลมเบ่ง ลดความเจ็บปวด ตอนคลอดไม่เหนื่อย วันนี้เราได้รวบรวม เทคนิคการหายใจ วิธีเบ่งลูก ที่แม่ท้องต้องรู้ !!

 

แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงระยะคลอด

  • เมื่ออายุครรภ์ถึงกำหนดคลอด เริ่มเจ็บท้องคลอดเริ่มด้วยการปวดหน่วง ๆ ที่หลังหรือปวดร้าวลงไปถึงต้นขา
  • รู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัว ปวดเหมือนเวลาปวดประจำเดือนมาก ๆ
  • มดลูกหดรัดตัวแรงและถี่ ประมาณทุก 5 นาที ควรตัดสินใจมาโรงพยาบาลทันที
  • การเจ็บครรภ์จริง แตกต่างจากการเจ็บครรภ์เตือน ซึ่งจะมีการหดรัดตัวของมดลูกเช่นกัน แต่จะไม่สม่ำเสมอและไม่รุนแรง อาการจะหายไปได้เอง
  • อาการสำคัญที่อาจเกิดร่วมกับการเจ็บครรภ์ ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตกหรือที่เรียกว่าน้ำเดิน โดยจะมีน้ำปริมาณมากไหลออกมาจากช่องคลอด และแม้ว่า แม่อาจจะไม่รู้สึกเจ็บท้อง ก็ควรรีบมาโรงพยาบาล เพราะเมื่อมีน้ำเดินจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
  • อาจมีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้

ทั้งนี้ ความเจ็บปวดในระยะคลอดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อทำให้ปากมดลูกเปิด ให้ทารกผ่านออกมาได้ ซึ่งการเจ็บครรภ์นี้ในระยะที่หนึ่งของการคลอดจะใช้เวลาราว 10-12 ชั่วโมงในคุณแม่ท้องแรก แต่คุณแม่ท้องหลังจะใช้เวลาสั้นกว่า

 

แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงระยะคลอด

วิธี การ เบ่ง ลูก

 

ความเจ็บปวดตอนเบ่งคลอด

  1. เมื่อความเจ็บปวดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ร่างกายก็จะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมา ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายสารมอร์ฟีนช่วยระงับความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้ ทำให้ในระยะใกล้คลอดคุณแม่จะเจ็บปวดน้อยกว่าในระยะแรก
  2. ถ้าคุณแม่รู้สึกเจ็บปวดมากจนทนไม่ไหว ก็สามารถขอยาระงับปวดจากแพทย์ในรูปแบบต่างๆ ได้
  3. คุณแม่สามารถลดความเจ็บปวดได้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวด

 

ฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดตอนเบ่งคลอด

  • การเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บปวดที่กำลังเกิดขึ้นมาอยู่ที่การฝึกการหายใจ คล้ายกับการฝึกสมาธิโดยฝึกหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ เพ่งสมาธิมาที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก พร้อมกับนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น การที่จะได้พบกับหน้าลูกที่รอคอย หรืออาจมีการสอนการลูบหน้าท้องเพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ จากบริเวณที่เจ็บปวดไปยังส่วนอื่นด้วย
  • ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในการเจ็บท้องคลอด จะเกิดตอนสิ้นสุดระยะที่หนึ่งของการคลอด ซึ่งการเจ็บครรภ์จะรุนแรงที่สุดและถี่มากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอ่อนล้า หมดกำลัง อาจหดหู่ถึงกับร้องไห้ และจะม่อยหลับเมื่อการเจ็บท้องคลายลง
  • เมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด หรือระยะเบ่ง เมื่อคุณแม่รู้สึกอยากเบ่งหรือตรวจภายในพบว่าปากมดลูกเปิดหมดและเริ่มเบ่งได้ คุณแม่จะรู้สึกดีกว่าในระยะแรกเพราะสามารถออกแรงเบ่งร่วมไปกับการหอรัดตัวของมดลูกได้
  • ท่าที่สบายโดยส่วนใหญ่จะใช้ท่านอนหงายชันเข่า พยาบาลจะคอยแนะนำให้กำลังใจในการเบ่งคลอด ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในระยะนี้ได้โดยการค่อย ๆ เบ่งอย่างนุ่นนวล และออกแรงอย่างสม่ำเสมอในแต่ละครั้งที่มดลูกหดรัดตัว
  • พยายามผ่อนคลายอวัยวะทุกส่วน ไม่ต้องกังวลเรื่องกลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะขณะเบ่งรวมทั้งพักและผ่อนคลายให้มากที่สุดในช่วงพักจากการเบ่งแต่ละครั้ง เพื่อเก็บแรงใช้เบ่งในครั้งต่อไป

หลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว จะเข้าสู่ระยะที่สามของการคลอด แพทย์หรือพยาบาลในห้องคลอดจะทำการช่วยคลอดรก เนื่องจากหากรอให้รกคลอดตามธรรมชาติอาจจะเสียเลือดมากหรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเสียเลือดได้โดยจะใช้วิธีใช้มือกดบริเวณท้องน้อยร่วมกับดึงสายสะดือเพื่อทำให้รกคลอด ภายหลังรกคลอดแล้วจะตรวจดูความครบถ้วนของรกอีกครั้งหนึ่ง

 

วิธีเบ่งลูก วิธีเบ่งลูก

วิธีเบ่งลูก วิธีเบ่งคลอดลูก วิธี การ เบ่ง ลูก

วิธีการเบ่งลูก วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้ ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7 เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น วิธีปฏิบัติ คือ

  • เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที
  • เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9 เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ วิธีปฏิบัติ คือ

  • เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด
  • ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ 1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะและไหล่ยกขึ้น งอเข่า แยกมือไว้ใต้เข่า ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด

การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้

  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คือ หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก 5 ครั้งแล้วเป่า จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1 จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง
  • ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่ การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

 

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้ ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่ ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว และคล้ายตัวได้ทั้งหมด ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

วิธีเบ่งคลอดให้มีลมเบ่ง แม่ต้องฝึกการหายใจและเบ่งคลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ต้องฟังหมอและพยาบาลที่คอยเชียร์ให้เบ่งคลอด เพื่อให้การเบ่งคลอดเป็นไปได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่หมดแรงไปเสียก่อน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้าง แม่ท้องคลอดลูกเองควรเลือกท่าอะไรดี?

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

ขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้ ขั้นตอนคลอดลูกแต่ละสเต็ป

อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ

ที่มา : https://www.si.mahidol.ac.th

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • วิธีเบ่งลูก เบ่งคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี กับเทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว