X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เช็กก่อนคลอด ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน อาการเจ็บท้องเตือน ต้องเป็นแบบนี้

บทความ 5 นาที
เช็กก่อนคลอด ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน อาการเจ็บท้องเตือน ต้องเป็นแบบนี้

อาการเจ็บท้องเตือน ที่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณครรภ์ อาจจะเริ่มต้นเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 28 และจะค่อย ๆ ปวดถี่ขึ้นรู้สึกรุนแรงมากขึ้นเข้าสู่อาการเจ็บท้องจริงเมื่อใกล้คลอด

อาการเจ็บท้องเตือน นั้นเกิดจากการที่มดลูกบีบตัว เป็นสัญญาณที่คุณแม่ต้องพร้อมเตรียมตัวสำหรับการคลอดได้ แต่คุณแม่ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงการเจ็บเตือนเมื่อเข้าสู่ใกล้คลอด อาจนำไปสู่ภาวะคลอดเกินกำหนด หรือเมื่อครบกำหนดคลอดอาจจะใช้เวลาคลอดที่นานกว่าคุณแม่ที่ อาการเจ็บเตือน อาการเจ็บท้องเตือน แล้วคุณแม่จะ ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน ไปดูกันเลย

 

อาการเจ็บเตือน เจ็บเตือนก่อนคลอด ต้องเป็นแบบนี้ เจ็บท้องเตือนนานไหมกว่าจะคลอด

  • อาการเจ็บท้องเตือนไตรมาสสุดท้าย

จะมีความรู้สึกว่าท้องแข็งเกร็งเป็นระยะ เมื่อคลำบริเวณมดลูกจะรู้สึกว่าแข็งตัว มดลูกจะมีการบีบตัวเป็นระยะ ในขณะที่มดลูกเริ่มบีบตัวใหม่ ๆ คุณแม่อาจจะไม่รู้สึกอะไร หรือรู้สึกปวดบีบ ๆ เล็กน้อย ไม่ถึงกับเจ็บปวดรุนแรง เพียงแต่จะรู้สึกแน่นๆ และอึดอัดอัด อาการเจ็บจะไม่สม่ำเสมอจะรู้สึกครั้งละประมาณ 25 วินาที

 

  • เจ็บเตือนก่อนคลอด

จะเกิดขึ้นก่อนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด  ถือเป็นการอุ่นเครื่องก่อนจะเจ็บจริง อาการนี้มักจะเจ็บถี่ขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณในการเตรียมพร้อมของร่างกาย คุณแม่ต้องเริ่มคอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในระยะนี้

 

 

สังเกตอย่างไรว่าอย่างไหนคือเจ็บเตือนอย่างไหนเจ็บจริง เจ็บท้องเตือนนานไหมกว่าจะคลอด

  • อาการเจ็บท้องเตือนจะเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ อาจจะเกิดตึง ๆ แล้วหายไป โดยปกติอาการเจ็บท้องเตือนจะเจ็บนานประมาณ1-2 นาที หรือบางทีก็อาจจะเจ็บนาน 5 นาที หากรู้สึกปวดรุนแรงมากในระยะใกล้คลอดแสดงว่าเจ็บท้องจริง
  • เจ็บท้องเตือนจะปวดไม่ถี่เท่ากับอาการเจ็บท้องจริง

เมื่อคุณแม่เริ่มรู้สึกตึง ๆ หน่วง สัมผัสได้ว่านี่คืออาการเจ็บท้องเตือนแล้วนะ ควรลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงลง ให้พลิกนอนตะแคงซ้าย ดื่มน้ำ เพราะการขาดน้ำจะทำให้มีอาการเจ็บเตือนถี่ขึ้น หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บเตือนถี่ และหายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ ช้า ๆ เมื่อรู้สึกเจ็บท้องจะช่วยลดอาการเจ็บเตือนได้

 

ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน

ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน

 

ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน

  • รู้สึกว่าอาการเจ็บท้องเริ่มเปลี่ยนไป รู้สึกปวดรุนแรง ปวดหลัง ปวดหน่วง ๆ บริเวณหัวเหน่าและท้องน้อย เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น ขา และอาจมีอาการปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระ
  • เจ็บท้องมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
  • เจ็บท้องร่วมกับมีมูกเลือดสีแดงสดไหลปนออกมาจากช่องคลอด
  • มีน้ำคร่ำเดิน

หากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น แสดงว่าเจ้าตัวน้อยส่งสัญญาณใกล้คลอดแล้ว คุณแม่ควรหยิบกระเป๋าที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า และเตรียมตัวเดินทางไปโรงพยาบาลได้เลยครับ

เช็กก่อนคลอด ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน อาการเจ็บท้องเตือน ต้องเป็นแบบนี้

 

อาการใกล้คลอด เตรียมสตาร์ทรถไปโรงพยาบาลด่วน

เมื่อเข้าสู่ช่วงระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจจะเกิดความรู้สึกกังวล ปนกับความรู้สึกตื่นเต้น ที่ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกแล้ว เรามาดูกันว่า 6 อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง

 

  • เจ็บท้อง

ในช่วงหลังจากเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องหลายคนมักจะรู้สึกว่ามดลูกบีบตัว หรือหดตัวเป็นระยะๆ ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ การหดตัวของมดลูกก็จะถี่และรุนแรงขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านสับสน และอาจจะนึกว่าเป็นการเจ็บท้องคลอดจริงๆ

แต่การเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องหลอกนั้นเป็นสัญญาณว่า ขณะนี้มดลูกเตรียมพร้อมต่อการคลอดที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะคลอดวันนี้พรุ่งนี้นะครับ แม่ท้องบางท่านอาจจะต้องรออีกนานเป็นเดือนกว่าจะคลอดเลยก็มี

เรามาดูกันว่าอาการแบบไหนคืออาการเจ็บท้องจริง หรืออาการเจ็บท้องหลอกกันแน่เพื่อจะได้เตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

 

อาการเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องเตือน

  • ปวดท้องมากบ้างน้อยบ้าง เดี๋ยวถี่เดี๋ยวห่าง ไม่สม่ำเสมอ แม่ท้องบางท่านก็ปวดติดๆ กันหลายครั้งแล้วก็หายปวด
  • เมื่อได้นอนพัก หรือเปลี่ยนท่าทาง อาการก็จะดีขึ้น
  • ความเจ็บปวดจะคล้ายๆ กับการปวดประจำเดือน
  • ไม่มีเลือดหรือมูกเลือดปนออกมาจากช่องคลอด
  • มักมีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย

 

อาการเจ็บท้องจริง

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • มีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอ และปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ
  • ท้องแข็งตึง
  • แม่ท้องจะรู้สึกเริ่มเจ็บบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนแล้วจึงเจ็บร้าวไปที่หลัง
  • หากเดินหรือเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บมากขึ้น
  • อาจมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดร่วมด้วย

หากคุณแม่ท้องมีอาการเจ็บทุกๆ 10 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้าพบคุณหมอทันที

 

  • ลูกดิ้นน้อยลง

สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องบางคนรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง  นั่นก็เป็นเพราะในช่วงนี้ ทารกในครรภ์นั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับขนาดของโพรงมดลูก และน้ำคร่ำที่สร้างขึ้นก็มีปริมาณที่จำกัด จึงทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลำบาก

หากแม่ท้องรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงอย่างผิดปกติ หรือลูกไม่ดิ้นนานเกินไป แม่ท้องควรรีบไปพบคุณหมอทันทีนะครับ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้

 

  • ท้องลด

หากแม่ท้องสังเกตพบว่า ภายหลังจากการตั้งครรภ์ไปได้ 36 สัปดาห์ แล้วท้องอาจมีขนาดลดลง นั่นก็เป็นเพราะทารกใรครรภ์ที่เคยอยู่ในมดลูกระดับเหนือช่องเชิงกราน เริ่มเคลื่อนต่ำลง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการคลออดที่กำลังจะตามมาในไม่ช้านี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว อาจจะสังเกตเห็นว่า ท้องลดช้ากว่าในท้องแรก ๆ ในขณะที่คุณแม่จำนวนไม่น้อย จวบจนใกล้คลอดแล้ว ท้องยังไม่ลด หรือไม่รู้สึกว่าท้องลดเลย จนกระทั่งถึงระยะเจ็บคลอดก็มี

 

  • มีมูกไหลออกมาทางช่องคลอด

ในช่วงการตั้งครรภ์นั้น บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ในช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกเริ่มเปิดและบางลง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา และบางครั้งอาจมีเลือดผสมออกมาด้วย อาการแบบนี้ควรรีบพบแพทย์ได้แล้วครับ เพราะแสดงว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดเต็มทีแล้ว

 

  • น้ำเดิน

ถ้าคุณแม่มีอาการน้ำเดินไม่ว่าจะมีอาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันทีครับ เพราะสายสะดือของทารกในครรภ์อาจถูกกดทับจากภาวะที่น้ำคร่ำน้อยลงหรือเกิดภาวะสายสะดือโผล่แลบ (Umbilical Cord Prolapes) ในกรณีที่ทารกในครรภ์ไม่ได้อยู่ในท่าที่เอาศีรษะลง หรือถ้าทิ้งให้น้ำเดินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง (มากกว่า 18 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดอาการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ เนื่องจากเชื้อโรคเข้าไปในโพรงมดลูกได้ และโดยทั่วไปแม่ท้องที่มีอาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80 % ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง

 

  • ปากมดลูกเปิด

ปกติแล้ว ปากมดลูกของคนท้องจะหนาเล็กน้อย และปิดค่อนข้างแน่นสนิท เพื่อช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากอันตรายภายนอก แต่ร่างกายของคนท้อง จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมคลอด โดยปากมดลูกจะเริ่มอ่อนนุ่ม บางลง และสั้นลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเปิดขยายกว้างขึ้นเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้ทารกคลอดออกมาได้สำเร็จ

เมื่อใกล้ถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและขยาย ทำให้มูกและเลือดบริเวณปากมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด และอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก ซึ่งนั่นก็เป็น อาการใกล้คลอด ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลยครับ

 

อาการอื่น ๆ ที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

นอกจาก อาการเจ็บท้องเตือน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากแม่ท้องมีอาการอื่นๆดังต่อไปนี้ ก้ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอได้เลยครับ

  • มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บท้องคลอดก็ตาม
  • มีเลือดสด ๆ ออกมาทางช่องคลอด กรณีแบบนี้อันตรายมาก เพราะอาจจะไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดธรรมดา แต่อาจจะมีรกเกาะต่ำ หรือรกขวางทางคลอดได้
  • อาเจียนไม่หยุด
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่นๆนอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู

คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น รับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อม เพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาจริง


ที่มา : siamhealth.net

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

เช็กด่วน! 9 สัญญาณอาการก่อนคลอด ก่อนรู้สึกเจ็บท้องจริง

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด วิธีสังเกต และแยกระหว่างปัสสาวะรั่วกับถุงน้ำคร่ำแตก

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • เช็กก่อนคลอด ปวดท้องเตือนนานแค่ไหน อาการเจ็บท้องเตือน ต้องเป็นแบบนี้
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว