X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดท้องประจำเดือน เป็น ๆ หาย ๆ ใครว่าไม่อันตราย!

บทความ 8 นาที
ปวดท้องประจำเดือน เป็น ๆ หาย ๆ ใครว่าไม่อันตราย!

สาว ๆ คนไหนที่ไม่มีอาการปวดท้องประจำเดือน คงจะเป็นที่น่าอิจฉาของเพื่อน ๆ มาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดท้องน้อย มักจะอยู่เป็นเพื่อนกับการมาของประจำเดือนอยู่เสมอ ปวดมาก หรือน้อย ก็แล้วแต่คนไป แต่ใครจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว อาการ ปวดท้องประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้นกับร่างกายของสาว ๆ หากเดือนไหนรู้สึกว่า ปวดท้องประจำเดือน แบบนี้ไม่ปกติแล้ว สาว ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย ก่อนที่จะสายเกินแก้

 

ทำไมจึงปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องเมน

ประจำเดือน หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Menstruation คือการที่มีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน สาเหตุเกิดจากร่างกายได้สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสเทอโรน (Progesterone) เพื่อทำให้เยื่อโพรงมดลูกหนาขึ้น รองรับการฝังตัวของตัวอ่อน หลังจากการปฏิสนธิ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น หนังเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ ก็จะหลุดออกมา กลายเป็นประจำเดือนนั่นเอง และสาเหตุที่ทำให้สาว ๆ รู้สึกปวดท้องประจำเดือน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า Period pain) ก็เกิดจากการบีบ และคลายของมดลูกในกระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกนั่นเอง

 

ปวดท้องเมนส์ ปวดท้องเมน แบบไหนอันตราย

เคยได้ยินโรค “ช็อกโกแลตซีสต์ ” กันหรือไม่ ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ (Endometriosis)” เพราะปกติแล้ว เวลาที่มีประจำเดือน เยื่อบาง ๆ จะหลุดลอกปะปนมากับเลือดทางช่องคลอด แต่กลับมีบางส่วนที่ไหลย้อนขึ้นไปที่ท่อนำไข่ แล้วพาตัวเองนี้ไปฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ เยื่อบาง ๆ นี้สามารถเติบโตได้เหมือนกับเมล็ดพืช จากหล่อเลี้ยง และสะสมของเลือดในทุก ๆ เดือน และทำให้รู้สึกปวดท้องหนักมาก จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังทำให้คุณมีลูกยาก จากการตีบตันของท่อรังไข่

นอกจากช็อกโกแลตซีสต์แล้ว ยังมีซีสต์อีก 2 ชนิด คือ ฟังก์ชันนัล ซีสต์ (Functional Cyst) เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตก ทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อย ๆ ยุบตัวไปเอง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์รังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst) ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) หรือ ชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ก็ได้

โดยส่วนมากแล้ว เนื้องอกแต่ละชนิดมักจะมีลักษณะเฉพาะ แต่อาการของซีสต์แต่ละประเภทมีความคล้ายคลึงกัน จึงยากที่จะรู้ได้ว่า ซีสต์ที่อยู่ในร่างกาย เป็นประเภทที่รุนแรงขนาดไหน ฉะนั้น ควรมีการตรวจร่างกายประจำปี หรือตรวจทันที เมื่อมีอาการ ดังต่อไปนี้

Advertisement

บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับประจำเดือน เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

 

ปวดท้องประจำเดือน

 

ลักษณะอาการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากซีสต์

อาการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์ มักจะปวดท้องมากทุกครั้งที่มีประจำเดือน โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ถ้าทางด้านหน้า จะรู้สึกปวดตั้งแต่สะดือ ไปจนถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลัง จะรู้สึกปวดร้าวตั้งแต่ช่วงเอวไปจนถึงก้นกบ พร้อม ๆ กับมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดเสียดในท้อง และจะปวดมากเวลาขับถ่าย อุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด และเข้าห้องน้ำบ่อย ส่วนอาการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากรังไข่ จะมีการปวดที่ท้องน้อย ปวดหน่วง ๆ เวลามีประจำเดือน ปัสสาวะบ่อย หน้าท้องโต หรือประจำเดือนผิดปกติ มามากไป มาน้อยไป

 

ปวดท้องประจำเดือนแบบไหน ควรไปพบแพทย์

ทุกครั้งที่มีการปวดท้องประจำเดือน แนะนำให้สังเกตตัวเองว่าปวดท้องบริเวณไหน แล้วก่อนหน้านี้เคยปวดหรือเปล่า ปวดระดับไหน แตกต่างจากครั้งก่อนมากไหม ปวดหนักขึ้น และถี่ขึ้นหรือเปล่า หากปวดมาก จนไม่สามารถทำอะไรได้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

วิธีการรักษา เมื่อตรวจพบซีสต์ในร่างกาย

หากตรวจพบให้ระยะแรก ๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง หมออาจจะให้ทานยา แต่ถ้าตรวจอย่างละเอียดพบว่ามีก้อนขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มจะขยายใหญ่ขึ้น หมอทำการรักษาโดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง วิธีนี้แผลจะเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว แต่ถ้ามีขนาดใหญ่มาก หมออาจจะผ่าตัดช่องท้องยาวเหมือนผ่าคลอด

 

ปวดท้องประจำเดือน แต่ประจำเดือนไม่มา เสี่ยงเกิดภาวะ “มดลูกผิดปกติ”

อาการปวดท้องประจำเดือน ไม่เพียงแต่เกิดจากการบีบตัวของมดลูกเท่านั้น แต่อาจจะเป็นสัญญาณของมดลูกที่ผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการดังนี้

  • ประจำเดือนมาช้า มาไม่ปกติ หรือขาดไปเลย 2 – 3 เดือน
  • มีอาการตกขาวมาก หรือมีสีผิดปกติ
  • ปวดปัสสาวะบ่อยมาก หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเกิดจากมดลูกเคลื่อนตัวต่ำ มากดทับบริเวณท่อปัสสาวะ
  • ช่องคลอดมีกลิ่น จากการสะสมของเสียภายในมดลูก
  • เกิดภาวะแท้งบ่อย หรือมีบุตรยาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดมดลูก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 71

 

ปวดท้องประจำเดือน

 

ยาแก้ปวดท้องประจำเดือน ยาแก้ปวดท้องเมนส์ มีอะไรบ้าง

ยาที่ช่วยในเรื่องการปวดท้องประจำเดือนเรียกว่า เอ็น–เสด หรือ NSAIDs ซึ่งเป็นกลุ่มยต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาชนิดนี้จะไปยับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดิน จึงทำให้ลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ กลุ่มยาเอ็น–เสด ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพร๊อกเซนโซเดียม (Naproxen sodium) เมฟีนามิกแอซิด (Mefenamic Acid) ซีลีค๊อกสิบ (Celecoxib) กลุ่มยาเหล่านี้ ควรมีการปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชก่อนการใช้ เนื่องจากอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา หรือผู้ที่มีอาการป่วยอยู่แล้ว

การรับประทานยากลุ่มเอ็น–เสดนี้ ควรจะรับประทานภายใน 1 – 2 วันก่อนมีประจำเดือน จึงจะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ยาอีกตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีนั่นคือ พอนสแตน (Ponstan) และโกเฟน (Gofen) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดทั่วไป ยาแก้ปวดประจำเดือน มีขายใน 7-11 ที่มีเภสัชกรประจำการ และร้านขายยาทั่วไป หากต้องการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร

 

วันนั้นของเดือน หากปวดท้องประจำเดือน กินอะไรดี

หากปวดไม่มาก อาการไม่หนักหน่วงนัก ลองรับประทานอาหารอุ่น ๆ อาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ในวันมามากนี้ สาว ๆ ควรจะหลีกเลี่ยงคาเฟอีน อย่างกาแฟ ชา หรือน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งทำให้ปวดท้องมากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดในช่องท้องมากขึ้นอีก ในระหว่างวันควรดื่มน้ำเยอะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่าอุ่น ๆ น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำขิง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยให้เลือดไหลเวียน และลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่มักจะเกิดขึ้นในวันนั้นของเดือนอีกด้วย

มื้อเช้า สำหรับวันนั้นของเดือน : รับประทานโจ๊ก หรือนมอุ่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีน

มื้อกลางวัน และเย็น สำหรับวันนั้นของเดือน : เลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง แคลอรีต่ำ ช่วยลดความแปรปรวนของฮอร์โมน และช่วยในการขับถ่าย ส่วนแมกนีเซียม จะช่วยลดความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อาหารสำหรับมื้อกลางวัน และเย็น อาจจะเป็นผัดผักใบเขียว สุกี้ นม โยเกิร์ต กล้วย เพิ่มของว่างเป็นถั่วอัลมอนด์ หรือผลไม้ก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ของกิน แก้ปวดประจำเดือน ในเซเว่น หาซื้อง่าย ปวดท้องเมนส์ กินอะไรดี?

 

ปวดท้องประจำเดือน

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

 

รับประทานวิตามิน แก้ปวดท้องประจำเดือน ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ร่างกาย

หากร่างกายแข็งแรง ความผิดปกติต่าง ๆ รวมทั้งอาการปวดท้องประจำเดือน ก็อาจจะบรรเทาลงได้ สาว ๆ ควรจะรับประทานวิตามินบี6 วิตามินบี1 วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรดโอเมก้า3 เนื่องจากโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และจะช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมน คลายความหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อันเป็นสาเหตุหลักของการปวดท้องประจำเดือน

 

ปวดท้องประจำเดือน นอนท่าไหน ท่านอนลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง

อีกหนึ่งวิธีการบรรเทาความปวดเกร็งในวันนั้นของเดือน ก็คือวิธีการนอนหลับที่จะช่วยลดแรงกดของกล้ามเนื้อช่องท้อง ให้คลายลงได้ ท่านอนที่ว่านี้เป็นท่าเดียวกับท่านอนของทารกในครรภ์ วิธีการนอนของทารกในครรภ์ คือ การนอนตะแคง ขาสองข้างทับซ้อนกัน และยกคู้ขึ้นมาบริเวณอก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้

 

ประสบการณ์หญิงวัย 18 ปวดท้องเมนส์ ตรวจพบเนื้อร้าย เกือบเป็นมะเร็ง

บางคนคงเคยเห็นโพสต์ของ Siriporn Mahaveero อายุ 18 ปี เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 60  อยู่ในช่วงกำลังเรียนต่อมหาวิทยาลัย เมื่อประมาณเดือนกันยายน สำหรับเด็กสาวคนนี้มีอาการปวดท้องทุกครั้งที่เป็นประจำเดือน ซึ่งเป็นเยอะและปวดหนักมาก แต่เธอก็รักษาตัวเองด้วยการซื้อยามากินตลอด 3 ปี มาช่วงหลัง ๆ หันมาดูแลตัวเองมากขึ้นด้วยการออกกำลังกาย แต่ออกเท่าไหร่ท้องก็ไม่ยุบสักที จึงตัดสินใจไปหาหมอในที่สุด

จากการตรวจ พบว่า สาวน้อยคนนี้เป็นเนื้องอกที่รังไข่ มีขนาด 20 x 24 ซม. แต่เมื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเนื้อร้าย ปรากฏว่าก้อนเนื้อที่ตัดออกมาเป็นเซลล์มะเร็ง ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ ตอนผ่าตัดก้อนนั้นมันแตกออกจากรังไข่แล้ว

 

ปวดท้องเมน ยาแก้ปวดท้องเมน ปวดประจําเดือน ภาษาอังกฤษ คืออะไร ปวดท้องประจำเดือน ภาษาอังกฤษ คือ Period pain

ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊คคุณ Siriporn Mahaveero

 

สุดท้าย น้องคนนี้ก็ต้องดรอปเรียนมารักษาตัว เพราะต้องทำคีโมอย่างต่อเนื่อง โชคยังดีที่เป็นแค่ระยะแรก มีโอกาสรักษาหายสูง แต่ถ้าปล่อยให้ปวดท้องแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แล้วยังกินยาแก้ปวดเหมือนเดิม ตอนนั้นคงสายเสียแล้ว จากประสบการณ์ของน้อง Siriporn ที่เกิดขึ้นกับตัว ทำให้ตระหนักถึงอันตรายจากการปวดท้องแล้วทานยา จึงได้เขียนโพสต์แล้วแชร์เตือนให้กับผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนบ่อย ๆ ว่าให้ไปตรวจภายในกันเถอะ

 

ถ้าใครรู้สึกปวดท้องมาก ๆ อย่าคิดว่าปวดท้องเมนส์ปกติ ลองพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หากปล่อยทิ้งไว้นานนอกจากจะทำให้คุณมีลูกยากขึ้นแล้ว อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งก็ได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร?

ที่มา : samitivejhospitals, phyathai, thainakarin

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ปวดท้องประจำเดือน เป็น ๆ หาย ๆ ใครว่าไม่อันตราย!
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว