X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

บทความ 5 นาที
ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่านประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน

ว่าด้วยเรื่องวันนั้นของเดือนของคุณผู้หญิง ต้องเข้าใจก่อนว่ารอบเดือนและประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะรู้สึกว่าเดือนนี้เมนมาเยอะเหลือเกิน แต่อีกเดือน ประจำเดือนมาน้อย ก็เป็นไปได้ ซึ่งความแปรปรวนเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก 21- 35 วัน ในแต่ละเดือนก็อาจจะมีปริมาณที่ไม่เท่าปกติที่เคยเป็นมาก็ได้

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป, มากะปริดกะปรอย มาขาด ๆ หาย ๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย วันนี้ theAsianparent จะพาไขข้อสงสัยให้รู้กันไปเลย ว่าประจำเดือนปกติควรมีประมาณไหน แล้วแค่ไหนถึงควรต้องไปหาหมอ?

บทความที่น่าสนใจ : อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เดี๋ยวหงุดหงิด เดี๋ยวเศร้า รับมืออย่างไรดี ?

ประจำเดือนมาน้อย

ประจำเดือนมาน้อยเป็นแบบไหน

ประจำเดือนมาน้อย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่มีประจำเดือน แต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือครั้งนั้นมาไม่เกิน 2 วัน โดยอาจจะมีลักษณะคล้ายเลือดหยด, คราบเปื้อนที่ผ้าอนามัยเล็กน้อย เรียกอีกอย่างได้ว่าภาวะที่มีเลือดประจำเดือนไหลออกมาน้อยกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป มักเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยรุ่นหรือหญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ผู้ที่มีรอบเดือนมาตามกำหนดปกติ แต่ในระหว่างนั้นมีเพียงระยะเวลาสั้น ๆ อาจเป็นเพราะช่วงนั้นเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน, ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิดก็เป็นได้ ในระยะนี้ยังไม่มีอะไรต้องกังวลมาก ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือนไม่ได้หายไปไหน แต่ถ้าใครที่รู้สึกตัวว่านอกจากจะมาน้อยแล้ว ยังมีช่วงที่ประจำเดือนขาดหายไปด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาให้ประจำเดือนมาตามปกติ

 

อาการประจำเดือนมามากเกินปกติ

โดยทั่วไปรอบเดือนของผู้หญิงอยู่ในช่วง 21-35 วัน และมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนมาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วัน แต่บางรายอาจมีประจำเดือนประมาณ 2-7 วัน ซึ่งเป็นภาวะปกติ โดยเลือดที่ไหลออกมานั้น อาจมีปริมาณแตกต่างกันไป การมาแต่ละเดือนอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันเป๊ะ แต่ก็สามารถมาเร็วหรือช้ากว่าเดินที่ผ่านมาได้บวก-ลบ 7 วัน ทั้งนี้ไม่ว่าประจำเดือนของเราจะมาทุกกี่วัน นานหรือไม่นาน มาในปริมาณเท่าไร ปวดท้องหรือไม่ปวด ก็เป็นสิ่งที่ต้องสังเกตว่า ประจำเดือนปกติของตัวเองนั้นเป็นแบบไหน

อย่างที่บอกว่าประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นนิยามคำว่าวันมามากของแต่ละคนก็ต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีประจำเดือนมากทุกเดือนเป็นปกติ ในขณะที่บางคนไม่ใช่ แต่รู้สึกว่าเดือนนี้มามากกว่าปกติที่เคยสังเกตมา ก็อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปปรึกษาหมอ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเสียเลือดประจำเดือนน้อยกว่า 16 ช้อนชา (80 มิลลิลิตร) ในแต่ละเดือน และมักจะอยู่ในปริมาณประมาณ 6-8 ช้อนชา หากมากกว่า 80 มิลลิลิตร หรือมีประจำเดือนติดต่อกันนานเกิน 7 วันจะถือว่าประจำเดือนมามากเกินปกติ

 

ประจำเดือนมาน้อย

 

วิธีสังเกตประจำเดือนมามาก

  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือน ผ้าอนามัยทั้งหลาย เต็มทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาท ปนออกมาด้วย
  • เลือดประจำเดือนซึมเปื้อนกางเกงหรือที่นอน
  • จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือนร่วมกันหลายแบบ เช่น ใช้ทั้งผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด

งานวิจัยบอกว่า สาเหตุของประจำเดือนมามากส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเยื่อบุโพรงมดลูก หรือปัญหาภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนไทรอยด์ก็สามารถทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ( Menorrhagia) ได้ถึง 32-56%

 

วิธีสังเกตอาการประจำเดือนมาน้อย

ผู้ป่วยอาจมีภาวะประจำเดือนมาน้อยโดยไม่มีสาเหตุ อาจเผชิญปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อยู่ หรืออาจเกิดภาวะเลือดออกในช่องคลอด ดังนั้น ควรสังเกตอาการ และไปปรึกษาแพทย์ทันที หากมีภาวะต่อไปนี้

  • ประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 วัน
  • มีเลือดประจำเดือนน้อยมาก หรือเป็นหยดเลือดเพียงเล็กน้อย
  • ประจำเดือนมาน้อยเป็นประจำ โดยเกิดขึ้นบ่อยกว่าการมีรอบเดือนตามปกติ
  • มีภาวะประจำเดือนขาด
  • ประจำเดือนมาและหมดไวกว่าที่เคย
  • ใช้ผ้าอนามัยน้อยกว่าที่เคย

อย่างไรก็ตามการที่ประจำเดือนจะมาน้อยนั้น ยังคงต้องสังเกตว่าเลือดที่ออกมานั้นอาจจะเป็นการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือตกขาวที่มีสีก็ได้

 

ประจำเดือนมาน้อย

 

สาเหตุประจำเดือนมาน้อย

หากเคยมีเลือดประจำเดือนไหลปกติ หรือประจำเดือนมามากอย่างสม่ำเสมอมาก่อน อาการประจำเดือนมาน้อยอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้ และอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • การตกไข่ แม้จะเป็นกระบวนการปกติที่ทำให้ผู้หญิงมีประจำเดือน แต่บางครั้งก็อาจทำให้มีเลือดไหลจากช่องคลอดในช่วงกลางรอบประจำเดือนหรือในช่วงตกไข่ได้ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนปกติที่มาน้อย
  • ตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอย ซึ่งอาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็กที่เกิดหลังการปฏิสนธิ โดยจะมีเลือดออกเพียง 1-2 วันเท่านั้น ทำให้เข้าใจผิดได้ อาจเกิดจากการคุมกำเนิดที่ผิดพลาด หรือไม่ได้คุมกำเนิดในขณะมีเพศสัมพันธ์ จึงควรตรวจการตั้งครรภ์หากพบอาการดังกล่าว
  • การให้นมบุตร ในระยะให้นมฮอร์โมนที่ช่วยสร้างการผลิตน้ำนมจะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ ทำให้ไข่ตกช้าและเกิดภาวะประจำเดือนขาด โดยจะใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ ทั้งนี้ อาจมีโอกาสตั้งครรภ์ในระยะนี้ได้ หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในระยะนี้
  • คุมกำเนิดประเภทต่าง ๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, วงแหวนคุมกำเนิด อาจมีผลยับยั้งกระบวนการตกไข่ในเพศหญิง ทำให้ผนังมดลูกบางลงเป็นเหตุให้ประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนขาดได้ โดยอาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ หากเพิ่งเริ่มหรือเพิ่งหยุดใช้ยาคุมกำเนิดไม่นาน และประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้การคุมกำเนิดไปแล้ว
  • ช่วงวัย ด้วยวัยรุ่นเป็นช่วงวัยแรกของการมีประจำเดือน การเจริญเติบโตของร่างกายอาจส่งผลต่อฮอร์โมน ทำให้มีปริมาณหรือระยะห่างที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เริ่มลดลง โดยช่วงอายุที่ผู้หญิงมักเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและทำให้เผชิญกับปัญหาประจำเดือนมาน้อย คือ ช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี
  • ความเครียด เมื่อเกิดภาวะเครียดสมองจะปรับเปลี่ยนฮอร์โมนที่คุมรอบเดือน ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย แต่จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติหลังหายจากภาวะเครียดแล้ว
  • น้ำหนักตัวไขมันในร่างกาย อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงน้ำหนักตัวน้อยหรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเสมอ
  • ออกกำลังกายมากเกินไป ปกติแล้วการออกกำลังกายไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะประจำเดือนผิดปกติ แต่หากเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงมาก หรือออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อาจเผชิญภาวะประจำเดือนมาน้อย มาในช่วงสั้น ๆ มานานกว่าปกติ หรือประจำเดือนขาดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ
  • การเจ็บป่วยอื่น ๆ บางโรคหรือบางภาวะอาจทำให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด จนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนได้ เช่น เนื้องอกในมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูก ภาวะแท้ง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่เกิดกับอวัยวะในระบบสืบพันธุ์

นอกจากนี้ อาจมีภาวะเลือดออกจากช่องคลอดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนที่มาน้อยกว่าปกติได้ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในช่องคลอด ดังนั้น หากผู้ป่วยพบความผิดปกติของประจำเดือน หรือสงสัยว่าเลือดที่ไหลออกมาอาจไม่ใช่เลือดประจำเดือน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา

 

บทความที่น่าสนใจ :

ช่วยตัวเองตอนเป็นประจำเดือน อันตรายไหม มีข้อดีหรือไม่ ?

ไขข้อข้องใจเรื่องตรวจการตั้งครรภ์ ประจำเดือนขาด 1 สัปดาห์ก็สามารถตรวจรู้ว่าตั้งครรภ์ได้แล้ว

พฤติกรรมและอาหารที่สาว ๆ ควรเลี่ยงขณะเป็นประจำเดือน

ที่มา : (1) (2) (3)

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ประจำเดือนมาน้อย เรื่องอันตรายใกล้ตัวที่ห้ามปล่อยผ่าน
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ