X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กู้น้ำนม ปฏิบัติการสำหรับคุณแม่ให้นม ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย

บทความ 5 นาที
กู้น้ำนม ปฏิบัติการสำหรับคุณแม่ให้นม ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย

อีกหนึ่งปัญหาที่แม่ให้นมลูกหลายคนต้องพบเจอ นั่นก็คือปัญหาน้ำนมหด ซึ่งทำให้คุณแม่มีน้ำนมน้อย ไม่พอจะให้เจ้าตัวเล็กกินในแต่ละวัน และปัญหาน้ำนมไม่พอนี้ก็เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย แล้วจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยคุณแม่ให้นมสามารถ กู้น้ำนม และสามารถกลับไปให้นมลูกน้อยได้อีกครั้ง

ปัญหาการน้ำนมหด หรือน้ำนมน้อย บางครั้งอาจจะเกิดในคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน แต่ยังต้องการให้นมลูกอยู่ ซึ่งอาจจะจนทำให้คุณแม่ยอมถอดใจ คิดที่จะเลิกล้มความตั้งใจที่จะให้นมแม่ ขอบอกว่าอย่าเพิ่งถอดใจค่ะ วันนี้ theAsianparent จะพาไปดูพร้อม ๆ กัน กับวิธีที่คุณแม่สามารถกู้น้ำนมคืนกลับคืนมาได้ที่เรานำมาฝากค่ะ

 

กู้น้ำนม

 

กู้น้ำนม คืออะไร ?

การกู้น้ำนม หรือ การเรียกน้ำนมแม่กลับคืน (Relactation) เป็นการเปิดโอกาสให้กับคุณแม่หลายคนที่เคยให้นมแม่มาก่อน แล้วหยุดให้นมไปช่วงหนึ่ง ได้สามารถกลับมามีน้ำนมให้ลูกอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ที่ลูกน้อยจะได้รับ โดยอาศัยการกระตุ้นเต้านม เพื่อเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม

 

Advertisement

น้ำนมหด นมน้อย เกิดจากอะไร?

  • น้ำนมหด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
  • คุณแม่เริ่มให้น้ำนมลูกช้าเกินไป
  • คุณแม่ให้นมลูกไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ค่อยให้นมลูก ให้ ๆ หยุด ๆ
  • กินยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจมีผลต่อการให้นมลูก
  • มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับเต้านมมาหลายครั้ง
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือมีภาวะโรคอ้วน
  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ความเครียด ภาวะซึมเศร้า
  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

บทความที่เกี่ยวข้อง : การให้นมลูก ปริมาณน้ำนม และความถี่ในการให้นม ฉบับคู่มือแม่มือใหม่

 

น้ำนมน้อย ส่งผลเสียอย่างไร?

ปัญหาน้ำนมน้อย แม้จะฟังดูน่าวิตกกังวล แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นปัญหาชั่วคราวที่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน หมั่นดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติได้ สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ตัวว่ามีน้ำนมน้อยจะต้องปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตทันที และควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา โดยการที่น้ำนมน้อยอาจจะส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ที่สำคัญทารกจะได้รับสารอาหารจากนมแม่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต อาจเสี่ยงที่จะไม่สบายบ่อย หรือติดเชื้อได้ง่าย เพราะน้ำนมแม่มีสารภูมิคุ้มกัน หากได้รับนมแม่น้อย ก็เสี่ยงที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะไม่แข็งแรง ส่งผลให้ทารกมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยง่าย

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ

  1. ทารกไม่ค่อยร่าเริง ง่วงนอนมากผิดปกติ
  2. ทารกใช้เวลาดูดเต้านมน้อยกว่าปกติ เนื่องจากน้ำนมน้อย และอาจเผลอหลับคาเต้านมเร็วกว่าปกติ หรือบางกรณีอาจพบว่าทารกดูดนมคาเต้านานกว่าปกติก็ได้เช่นกัน
  3. ทารกกัดหัวนมแรงและบ่อยขึ้น
  4. น้ำหนักแรกเกิดของทารกไม่เพิ่มขึ้น หรือน้ำหนักขึ้นช้ากว่าเกณฑ์
  5. อุจจาระน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือปัสสาวะเป็นสีสนิม

 

กู้น้ำนม

 

เตรียมตัวก่อนกู้น้ำนม

เมื่อคุณแม่ตั้งใจแน่วแน่ที่จะกู้น้ำนม คุณแม่ต้องดูแลโภชนาการให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และมีเวลาใกล้ชิดลูก ตามปกติแม่ที่ทำงานนอกบ้านจะมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้วหากมาหมั่นปั๊มในที่ทำงานด้วย หากคุณแม่ไม่มีเวลาอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติที่จะพยายามเรียกน้ำนมแม่กลับคืน ทั้งนี้ระยะเวลาในการเรียกน้ำนมอาจจะ 2-3 วันไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ก็มี ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายและระยะเวลาที่คุณแม่หยุดให้นมไป ถ้าหยุดให้นมไปนานก็จะใช้เวลามากกว่า

 

วิธีการกู้น้ำนมคืน

1. มีวินัยในการปั๊มนม

คุณแม่ทำงานนั้นไม่สามารถให้ลูกดูดนมบ่อยได้ เพราะไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา ต้องมาปั๊มนมในที่ทำงาน และการกู้น้ำนมสำหรับแม่ทำงานนั้นหัวใจอยู่ที่วินัยและความสม่ำเสมอในการปั๊ม คุณแม่ต้องปั๊มนมให้ถี่ขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 20-30 นาที โดยปั๊มให้ครบ 10 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง โดยช่วงสัปดาห์แรกที่กู้น้ำนมจะออกมาน้อยมากหรือบางคนไม่ออกมาเลย คล้ายกับช่วงแรกที่เริ่มปั๊มนมใหม่ ๆ หลังคลอด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณแม่ว่าหยุดให้นมนานแค่ไหน เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 น้ำนมจะเริ่มมาเองโดยที่คุณแม่ต้องรักษาความถี่ของการปั๊มอย่างต่อเนื่อง

 

2. เลือกใช้เครื่องปั๊มแบบปั๊มคู่

เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มคู่จะให้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อเรานำน้ำนมออกมาจากทั้งสองเต้าพร้อมกันจะได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า และช่วยประหยัดเวลา จะได้ไม่กินเวลางานมากนัก และช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องปั๊มนม แนะนำเครื่องปั๊มน้ำนม มาดูกันว่ายี่ห้อไหน ประเภทไหนเหมาะกับเรา

 

3. ใช้ยาช่วย

ในกรณีที่กระตุ้นด้วยวิธีต่าง ๆ ผ่านไป 2 สัปดาห์แล้ว แต่น้ำนมยังไม่มา คุณแม่สามารถใช้ยาแลคโตกัส (Lactogogues) เป็นตัวช่วยในการเพิ่มปริมาณน้ำนมร่วมกับการกระตุ้นเต้านมได้ และให้หยุดใช้ยาเมื่อน้ำนมมีมากขึ้น การปั๊มกระตุ้นเต้านมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มีการสร้างน้ำนมต่อไป

 

4. ลดความถี่การปั๊มลงเมื่อน้ำนมมาแล้ว

คุณแม่อาจใช้เวลาในการกู้น้ำนมอยู่ประมาณหนึ่งเดือนปริมาณน้ำนมจะค่อย ๆ กลับมาเท่าเดิม จนในที่สุดสามารถมีน้ำนมให้ลูกกินอย่างเพียงพอ เมื่อคุณแม่กู้จนได้ปริมาณน้ำนมตามที่ต้องการแล้ว ก็สามารถลดจำนวนการปั๊มให้เหลือ 7-8 ครั้งต่อ 24 ชั่วโมงได้ โดยที่ยังคงรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้

 

กู้น้ำนม

 

5. ให้ทารกกินนมแม่โดยเร็วที่สุด

หลังคลอดควรให้ทารกได้ดื่มนมทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เพราะยิ่งรอนาน ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำนมน้อย และทารกก็จะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นชินกับนมแม่นานกว่าปกติ ที่สำคัญควรให้นมลูกบ่อย ๆ โดยในหนึ่ง วันแม่ควรให้นม 8-12 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

 

6. ไม่กินยาสุ่มสี่สุ่มห้า

แม่ให้นมลูก ไม่ควรซื้อยาทานเอง หรือหลีกเลี่ยงการซื้อยากินสุ่มสี่สุ่มห้า หาไม่สบายหรือต้องการรับยา ควรกินยาตามที่แพทย์เห็นชอบเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์หรือเภสัชกร

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

7. เลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์

ในช่วงที่แม่กำลังให้นมลูก หรือยังอยู่ในช่วงปั๊มนม ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้

 

8. ใส่ใจกับมื้ออาหารเพิ่มขึ้น

หลังคลอดและช่วงเวลาให้นมบุตร คุณแม่ต้องใส่ใจกับอาหารการกินให้มากยิ่งขึ้น เพราะครั้งนี้อาหารที่กินเข้าไปจะถูกส่งต่อสารอาหารผ่านทางน้ำนม หากกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทารกก็อาจจะได้รับผลข้างเคียงทางสุขภาพด้วย หรือหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดของคุณแม่ไม่ดีเท่าที่ควรด้วย

 

เพราะปริมาณน้ำนมของแม่แต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนน้ำนมมาก บางคนน้ำนมน้อย ในส่วนของแม่ที่น้ำนมน้อยก็ยังแตกต่างกันไปอีก บางคนอาจจะกลับมามีน้ำนมปกติภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ขณะที่บางคนอาจใช้เวลาหลายเดือน ควรปรึกษากับแพทย์ถึงวิธีกู้น้ำนม ในกรณีที่ได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วยังไม่เห็นผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการเพิ่มน้ำนม

น้ำนมแม่ดีเพราะโภชนาการดี

เทคนิคเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย

ที่มา : enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จิราพร สิทธิโชติ

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • กู้น้ำนม ปฏิบัติการสำหรับคุณแม่ให้นม ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว