X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัดกรองทารกแรกเกิด ตรวจหาความผิดปกติ ที่ต้องทำภายใน 24 ชม.หลังคลอด

บทความ 5 นาที
คัดกรองทารกแรกเกิด ตรวจหาความผิดปกติ ที่ต้องทำภายใน 24 ชม.หลังคลอด

การตรวจ คัดกรองทารกแรกเกิด จะตรวจโดยการเจาะเลือดเพื่อนำตรวจหาความผิดปกติของร่างกายทารก การตรวจตั้งแต่แรกเกิดจะช่วยให้รู้ผลและรักษาได้รวดเร็วทันท่วงที เพราะถ้าเด็กทารกมีความผิดปกติร้ายแรง คุณหมอจะได้ทำการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น

 

การตรวจ คัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด ที่ต้องทำภายใน 24 ชม.หลังคลอด

 

1. การตรวจ คัดกรองทารกแรกเกิด

การตรวจทารกแรกเกิด ทารกจะถูกเจาะเลือดที่ส้นเท้าภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด และส่งตรวจเพื่อหาโรคที่จะเกิดได้ในเด็ก โดยรวมถึงโรคอันตรายที่มีผลต่อชีวิต และโรคที่เกิดจากพันธุกรรม เพื่อป้องกันความเจ็บป่วย ความพิการ หรือ เสียชีวิตของทารกจากโรคตั้งแต่แรกเกิด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองโรคที่สำคัญ 2 โรค ได้แก่

 

– ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

คือ การที่ทารกไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอ ทำให้มีโอกาสปัญญาอ่อน หรือ สมองทึบ หรือ ที่เรียกว่า  โรคเอ๋อ  (เนื่องจากไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่สำคัญของการพัฒนาสมอง)

สาเหตุ  เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของการสร้างต่อมไทรอยด์ของทารก หรือ มารดามีภาวะขาดไอโอดีนระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ประมาณ 1 / 2,500 – 3,000 ของทารกแรกเกิด

อาการ  แรกเกิดจะไม่มีอาการ แต่อาการแสดงจะพบเมื่อทารกอายุมากขึ้น เช่น ตัวเหลืองนาน ซึม หลับมาก ไม่ค่อยดูดนม ท้องผูก สะดือจุ่น ผิวแห้ง ลิ้นโต ร้องเสียงแหบ การเจริญเติบโตไม่ดี

การป้องกันโรคเอ๋อ  สามารถป้องกันได้โดยต้องให้กินยาไทรอยด์ฮอร์โมนภายใน 1 เดือนหลังคลอด หากผลฮอร์โมนมีค่าผิดปกติ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แผลฝีเย็บ หลังคลอด รู้สึกเจ็บจี๊ด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

 

– ภาวะฟินิลคิโตนยูเรีย (Phenylketonuria) หรือ พี เค ยู (PKU)

เกิดจากความผิดปกติของเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายสารฟีนิลอะลานีน  (Phynylalanine) เสียไป ซึ่งสารดังกล่าว มีอยู่ในอาหารที่เป็นโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว และนม ทำให้เกิดการคั่งของสารนี้ในร่างกายและเข้าไปทำลายสมอง เกิดภาวะปัญญาอ่อนอย่างรุนแรงได้  ในสหรัฐอเมริกา พบประมาณ 1 / 8,000 สำหรับในประเทศไทยพบน้อย ประมาณ 1 / 200,000

สาเหตุ   เป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนต์ด้อย

Advertisement

การรักษา  ใช้นมพิเศษและเมื่อโตขึ้นให้หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีสารพีนิลอะลานิน เพื่อป้องกันสมองถูกทำลายจากการที่มีสาร Phenylalanine คั่งในร่างกาย

การป้องกัน ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกคนต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อ ตรวจระดับ PKU หลังจากที่ได้รับการป้อนนมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับนมที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

 

คัดกรองทารกแรกเกิด

 

2. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด

ในประเทศไทย พบอัตราการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด 1-2 คนต่อ 1,000 คน หากสามารถให้การวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินได้ตั้งแต่แรกเกิดก่อนอายุ 3 เดือน และทำการรักษาฟื้นฟูก่อนอายุ 6 เดือน ทำให้การฟังและการพูดมีการพัฒนาได้ดีใกล้เคียงเด็กปกติ

ทารกแรกเกิดจึงควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทุกคนหลังคลอด 24 ชั่วโมงหรือก่อนกลับบ้าน ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยินได้ตั้งแต่แรกเกิด

การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในปัจจุบันทำได้โดยใช้เครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน เพื่อตรวจการทำงานของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน การตรวจทำโดยใส่เสียงเข้าไปในหูขณะเด็กอยู่นิ่ง ๆ และวัดเสียงที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหูชั้นใน เครื่องจะบันทึกการตอบสนองโดยอัตโนมัติ การตรวจทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย ไม่เจ็บปวด สามารถทราบผลทันที และผลมีความเชื่อถือได้มากกว่า 95%

 

3. การตรวจภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิดจะได้รับการตรวจภาวะตัวเหลือง  ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากสารกลุ่มบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้นมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของทารกมีจำนวนมากกว่าในผู้ใหญ่ และเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าผู้ใหญ่ (90 : 120 วัน) ประกอบกับตับยังไม่เจริญเต็มที่ จึงขับสารบิลิรูบินออกมาได้น้อย

ภาวะตัวเหลืองพบได้ในทารกแรกเกิดถึงร้อยละ 25-50 ส่วนใหญ่จะพบวันที่ 2-3 หลังคลอดและลดลงภายในวันที่5-7 ซึ่งในเด็กคลอดครบกำหนดจะมีค่าบิลิรูบินสูงสุดไม่เกิน 12 มก./ดล. ในทารกคลอดก่อนกำหนดมีค่าบิลิรูบิน ไม่เกิน 15 มก./ดล. แต่หากพบภาวะตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ค่าบิลิรูบิน อาจสูงถึง 20 มก./ดล. และทำให้ทารกเสียชีวิตได้

 

4. การตรวจน้ำตาลในเลือด

หากทารกแรกเกิดตัวใหญ่หรือตัวเล็กกว่าอายุครรภ์จะได้รับการตรวจน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปพบว่ามีทารก 1 ใน 4 ที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวานเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำในระยะแรกคลอด

ภาวะน้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 35-40 มก./ดล. ใน 12 ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารกครบกำหนด ทารกแรกเกิดปกติระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง (หลังจากคลอด) เป็น 50-60 มล./ดล. โดยที่ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ และถึงแม้ค่าระดับน้ำตาลจะต่ำกว่า 50 มก./ดล. ทารกส่วนใหญ่สามารถทนได้ อย่างไรก็ตามเมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่า 30 มก./ดล. จะพบอาการต่างๆ เช่น ซึม ไม่ดูดนมและชักได้

 

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

5 ของจำเป็นหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ต้องการคืนรูปร่าง และฟื้นฟูร่างกาย

การอยู่ไฟ หลังคลอด อยู่ไฟคืออะไร แม่หลังคลอดจำเป็นที่จะต้องอยู่ไฟไหม?

รวมเมนูหลังคลอด บำรุงน้ำนม ลดน้ำหนัก พุงยุบ กินอะไรเพิ่มน้ำนม ให้ลูกได้รับสารอาหารเต็ม ๆ

ที่มา : thonburihospital , doctor , gotoknow , parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • คัดกรองทารกแรกเกิด ตรวจหาความผิดปกติ ที่ต้องทำภายใน 24 ชม.หลังคลอด
แชร์ :
  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว