TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้ไหม?

บทความ 5 นาที
ลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้ไหม?

เพราะอะไรเด็กแรกเกิดจำนวนมากถึงมีภาวะตัวเหลือง ถ้าไม่อยากให้ลูกแรกเกิดตัวเหลือง คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้หรือไม่ พบคำตอบที่นี่

ลูกตัวเหลือง ทารกแรกเกิดจำนวนมากมีภาวะตัวเหลืองเนื่องจากมีระดับสารเหลือง หรือบิลิรูบินในเลือดสูง ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะมีภาวะตัวเหลืองแบบปกติ เนื่องจากตับยังทำงานไม่สมบูรณ์จึงกำจัดสารเหลืองได้ช้า ทำให้ระดับสารเหลืองเพิ่มขึ้นในวันที่ 2-3 และขึ้นสูงสุดในวันที่ 4-5 หลังคลอด จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงและหายไปเองภายใน 7 วันหรือไม่เกิน 10 วันในเด็กคลอดครบกำหนด แต่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาการตัวเหลืองจะหายไปภายใน 2 สัปดาห์โดยไม่ต้องรักษาใดๆ

ในทารกบางรายที่มีอาการตัวเหลืองมาก สารเหลืองจะสามารถจากกระแสเลือดผ่านเข้าสู่สมอง และทำความเสียหายแก่สมองได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการตัวเหลืองของลูกน้อยนะคะ

 

ลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้ไหม?

สัญญาณและอาการตัวเหลืองที่เป็นอันตราย

สามารถสังเกตสัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเจ้าตัวน้อยอาจมีภาวะตัวเหลืองที่เป็นอันตราย ดังนี้

  • อาเจียน
  • ซึม
  • ดูดนมไม่ดี
  • มีไข้
  • ร้องไห้เสียงแหลม
  • ปัสสาวะสีเข้มขึ้น หรือ อุจจาระสีขาวหรือเทา
  • เกร็ง ชักหลังแอ่น
  • ตาเหลือก

นอกจากนี้ หากครอบครัวมีประวัติตัวเหลืองรุนแรงมาก่อน ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่า ทารกตัวน้อยของคุณมีโอกาสเกิดภาวะตัวเหลืองที่เป็นอันตรายเช่นกันค่ะ

 

การรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด

การรักษาภาวะตัวเหลือง คือการรักษาระดับสารเหลืองในเลือดให้ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว หากค่าสูงเกิน แพทย์จะรักษาด้วยการส่องไฟ โดยใช้แสงที่มีคลื่นแสง 420-460 นาโนเมตรเปลี่ยนบิลิรูบินที่ไม่ละลายน้ำให้เป็นบิริลูบินที่ละลายน้ำได้ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดีออกทางอุจจาระ และผ่านไตออกทางปัสสาวะ แต่หากไม่ได้ผลจะต้องทำการเปลี่ยนถ่ายเลือดเพื่อกำจัดสารสีเหลืองออกไปให้มากที่สุดในเวลารวดเร็ว

วิธีการส่องไฟ

แพทย์จะทำการส่องไฟห่างจากตัวเด็กประมาณ 45 เซนติเมตร ถ้าเป็นเด็กป่วยหรือเด็กคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ควรส่องไฟในสามวันแรก ปิดตาเด็ก ป้องกันการทำลายรากเส้นประสาทตา ถอดเสื้อ และผ้าอ้อมของเด็กออก สังเกตอาการขาดน้ำ อาการไข้ ลักษณะสีอุจาระ ปัสสาวะ ปิดไฟระยะสั้นๆ เช่น เวลาให้นม หรือคุณพ่อคุณแม่มาเยี่ยม เปลี่ยนท่านอนของเด็กให้สัมผัสกับไฟอย่างทั่วถึง ชั่งน้ำหนักทุกวัน วัดระดับสารเหลืองในเลือดทุก 12-24 ชม.

อาการข้างเคียงจากการส่องไฟ

อาการข้างเคียงจากการส่องไฟพบได้น้อยและไม่เป็นอันตราย เช่น เด็กอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ดังนั้น ต้องให้นมหรือให้น้ำเด็กให้เพียงพอ อาจมีผื่นขึ้นตามตัวได้บ้าง แต่ไม่ต้องหยุดส่องไฟ อาจมีอุจจาระเหลวในเด็กที่ และอาจทำให้ผิวของเด็กดูเขียวๆ เหลืองๆ เป็นมัน เป็นต้น

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเหลือง

  • อาการตัวเหลืองเกิดจากนมแม่มีน้อย (Breast feeding jaundice) ทารกดูดนมได้น้อยในสัปดาห์แรก จึงนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและน้ำหนักลดมากผิดปกติ เนื่องจากลำไส้ของเด็กยังเคลื่อนตัวไม่ดี แต่จะดีขึ้นเมื่อให้ดูดนมแม่บ่อยๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • อาการตัวเหลืองจากนมแม่ (Breast milk jaundice) ต่างจากอาการตัวเหลืองนมแม่มีน้อย เนื่องจากทารกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอ แต่เกิดจากสารประกอบบางอย่างในนมแม่ทำให้เห็นอาการตัวเหลืองมากขึ้นเมื่ออายุ 1 สัปดาห์ เป็นภาวะตัวเหลืองที่ไม่เป็นอันตราย จึงไม่จำเป็นต้องหยุดนมแม่ เพราะเด็กจะไม่เหลืองมากไปกว่าเดิม และไม่เกิดภาวะสารบิลิรูบินเข้าสู่สมอง อาการของเด็กในภาวะนี้จะปกติไม่ซึม และอุจจาระของทารกยังคงสีเหลืองตามปกติไม่ซีดอ่อนลง
  • Gilbert’s syndrome เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยมีความผิดปกติในการสังเคราะห์สารบิลิรูบิน
  • การสร้างสารบิลิรูบินเพิ่มมากกว่าปกติ เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากการไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดโดยเฉพาะคุณแม่เลือดรุ๊ป O และทารกเลือดกรุ๊ป A หรือ B หรือ ภาวะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะจากการคลอด เป็นต้น รวมถึง โรคจากภาวะเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคขาดเอนไซม์ G6PD
  • การทำงานของตับในการกำจัดสารบิลิรูบินผิดปกติ

 

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้หรือไม่

แม้สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในเด็กหลายชนิดไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีภาวะตัวเหลืองในเด็กบางภาวะสามารถป้องกันได้ เช่น

  • ภาวะติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ คุณควรรีบฝากครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์แรก ซึ่งจะได้รับประโยชน์ทั้งการเจาะเลือดตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง และตรวจหาภาวะติดเชื้อในแม่ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ โรคซิฟิลิส ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/โรคเอดส์ ทำให้สามารถทราบว่าอาจมีการติดเชื้อในเด็กตั้งแต่ในครรภ์ โรคบางอย่างสามารถรักษาได้
  • เมื่อใกล้คลอดหรือในระหว่างให้ลูกกินนมแม่ แม่ต้องระวังการใช้ยาบางอย่างเช่น ยา กลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ทำให้บิลิรูบินจับกับอัลบูมินได้ไม่ดีหรือทำให้มีเม็ดเลือดแดงแตกในเด็กที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency) อาจทำให้เกิดตัวเหลืองในเด็กแรกคลอด
  • ในเด็กแรกเกิดแม่ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่เร็วที่สุด ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ ให้ได้ 10 – 12 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ลำไส้ของลูกเคลื่อนตัวทำงานได้ดี ช่วยขับสารสีเหลือง/บิลิรูบินออกไปได้ดี
  • ไม่อบผ้าอ้อมด้วยลูกเหม็น ซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้เด็กที่ขาดเอนไซม์จีซิกพีดีเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้น ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ๆ ควรซักให้สะอาดก่อนใช้เพราะอาจถูกอบด้วยสารกันแมลง

 

ดูแลอย่างไรไม่ให้ลูกตัวเหลือง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน

เมื่อค่าสารเหลืองลดลงแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้และนัดมาติดตามอาการในภายหลัง

เมื่อเด็กกลับบ้านแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่ต้องป้องน้ำ  เพราะการป้อนน้ำไม่ช่วยลดอาการตัวเหลือง การให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและดูดบ่อยๆ ทำให้นมแม่มีมากพอให้ลูกกิน เพราะนมแม่คืออาหารดีที่สุดของเด็กทารก

หากลูกมีอาการตัวเหลืองอีก อย่ามัวเอาลูกตากแดด เพราะหลายครั้งที่พบว่าเด็กเหลืองมากและเหลืองมานานกว่าจะมาโรงพยาบาล เนื่องจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายบางครอบครัวยังเชื่อว่า ถ้าเหลืองให้เอาลูกตากแดดจะหายเหลือง ทำให้เสียโอกาสในการรีบรักษาให้ได้ผลดี

หากลูกซึม ไม่ดูดนม ไม่ค่อยร้อง มีไข้ หรือตัวเย็นกว่าปกติ เหลืองมากขึ้น ท้องอืด อาเจียน ท้องเสียเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นมูกหรือเลือดปนแม้แต่ครั้งเดียว ตาลอย กระตุกหรือชักเกร็ง หอบ เขียว อาการหนึ่งอาการใดหรือหลายอาการร่วมกันต้องรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดหรือพบแพทย์ฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ

ในเด็กที่อุจจาระสีซีดมาก บางคนซีดจนเหมือนกระดาษหรือแป้ง ร่วมกับอาการตัวเหลือง ปัสสาวะเข้ม ถือเป็นภาวะเร่งด่วนเพราะเป็นอาการของทางเดินท่อน้ำดีตีบตัน (Biliary atresia) เป็นภาวะที่ต้องรีบวินิจฉัยและผ่าตัดเปิดทางระบายน้ำดี

ที่มา www.verywell.com, haamor.com

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกหายใจครืดคราด‏ เสียงดังเวลานอน ทำยังอย่างไรดี

สีอุจจาระของลูก ลูกถ่ายเป็นสีเขียว ขี้เขียว สีไหนปกติ สีไหนอันตรายกันนะ

ทารกไม่ยอมนอน ตื่นบ่อยตอนกลางคืน มีวิธีแก้ลูกร้องกวนอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้ไหม?
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว