อันตรายแม่เป็น ไทรอยด์ตอนท้อง ส่งผลให้ลูกเป็น “โรคเอ๋อ” ได้

“ไทรอยด์ผิดปกติ” อีกหนึ่งโรคที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นได้ในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นก่อนที่คุณแม่วางแผนมีบุตรควรได้รับการตรวจร่างกาย เพราะหากเป็น ไทรอยด์ตอนท้อง โรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้ หมายถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่และลูกในครรภ์
ฮอร์โมนไทรอยด์ สำคัญอย่างไรในภาวะตั้งครรภ์ ไทรอยด์ตอนท้อง
แม่ท้องเป็นไทรอยด์ ในระหว่างตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ด้านหน้าต่อจากหลอดลม บริเวณคอด้านล่างจะผลิต ฮอร์โมนไทรอยด์ มากขึ้นจากหลายกลไก ฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่หลายอย่าง ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของ ร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ การเผาผลาญอาหาร และ ไขมัน กระตุ้นการทำงานของระบบหลอดเลือด และ หัวใจ มีความสัมพันธ์กับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และสมอง เป็นต้น

ไทรอย ด์ตอนท้อง
ดังนั้นหากในภาวะตั้งครรภ์ มีการขาดฮอร์โมนตัวนี้ไป อาจทำให้ทารกในครรภ์ มีการสร้างอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เป็นโรคเอ๋อ เนื่องจากมีความผิดปกติทาง ระบบประสาท และ กล้ามเนื้อ มีพัฒนาการทางสมอง สติปัญญา และ ร่างกายช้ากว่าปกติ มีโอกาสเตี้ยแคระแกร็น และทำให้ต่อมไทรอยด์ของทารกต้องทำงานหนัก เพื่อผลิตฮอร์โมนจนเกิดภาวะคอพอกได้ ซึ่งถ้าหากรุนแรง คอพอกอาจมีขนาดใหญ่ จนกดการหายใจของทารกช่วงที่คลอดได้
อันตราย!! ไทรอยด์ตอนท้อง นับจากนี้ถึง 9 เดือนตอนอุ้มท้องต้องระวังให้ดี!
“โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้าง หรือหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอ อาจเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย” (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)
ไทรอยด์ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่

ไทรอยด์ ตอนท้อง
#ไทรอยด์บกพร่อง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคภูมิต้านทานผิดปกติ ต่อตนเองของไทรอยด์ เป็นต้น หากมีอาการไทรอยด์บกพร่อง ขณะตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อ คุณแม่ และ ลูกน้อย เป็นสาเหตุให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ รกลอกก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย การตายคลอด รวมทั้งภาวะผิดปกติของพัฒนาการทางร่างกาย และ สมองของทารก
#ไทรอยด์เป็นพิษ
หากสังเกตุว่าระหว่างตั้งครรภ์ มีเหงื่อออกมา ขี้ร้อนผิดปกติ รู้สึกอ่อนเพลียมาก หัวใจเต้นเร็ว หรือ มีอาการระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียนมาก มีภาวะแพ้ท้องรุนแรง อาจเป็นสัญญาณของอาการไทรอยด์เป็นพิษ มีความเสี่ยงที่อาจกระทบต่อแม่ และ ลูกน้อยในครรภ์ ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะตายคลอด หรือทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่ากำหนดและพิการ
#ต่อมไทรอยด์โตแต่ยังทำหน้าที่ปกติ
เกิดจากมีภาวะภูมิต้านทานผิดปกติต่อตนเองของไทรอยด์ ทำให้มีไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง เสี่ยงต่อต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง ดังนั้นแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อเฝ้าระวังไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ
#ก้อนที่ต่อมไทรอยด์
โอกาสที่แม่ตั้งครรภ์จะเกิดก้อน ที่ต่อมไทรอยด์นั้นมีมากกว่าหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

ไทรอยด์ ตอนท้อง
ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นไทรอยด์ตอนท้อง
ก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์หรือวางแผนที่บุตร ควรได้รับการตรวจร่างกาย และ ได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์จากแพทย์ โดยเฉพาะแม่ที่รู้ตัวว่ามีภาวะภูมิแพ้ ภูมิต้านทานผิดปกติ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับสารไอโอดีนในอาหารปริมาณ 200 ไมโครกรัมต่อวัน และ ควรรับประทานอาหาร 5 หมู่ที่ประกอบด้วย ธาตุเหล็ก แคลเซียม ในมื้ออาหารเพื่อได้การบำรุงครรภ์ให้แม่และลูกในท้อง มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยในช่วงท้องกันนะคะ

ไทรอยด์ต อนท้อง
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วย แอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่าง กิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่ จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้าง ในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือ ทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้ง เด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด
แม่จ๋าอย่าละเลย โรคภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินในแม่ท้องอันตราย!
อาหารลดเบาหวานคนท้อง วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนท้อง ต้องทำยังไง