X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไหล่หลุด เกิดจากอะไร วิธีรักษาอาการไหล่หลุดทำอย่างไร

บทความ 5 นาที
ไหล่หลุด เกิดจากอะไร วิธีรักษาอาการไหล่หลุดทำอย่างไร

ไหล่หลุด มีโอกาสเกิดขึ้นง่ายที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40-50 จากอาการข้อหลุดทั้งหมดในร่างกาย สาเหตุจากการล้ม การเล่นกีฬา การถูกกระแทก และเกิดขึ้นได้มากกว่า1ครั้ง

“ข้อไหล่ เป็นข้อที่มีโอกาสหลุดง่ายที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 – 50 จากอุบัติการณ์ข้อหลุดทั้งหมดในร่างกาย สาเหตุกว่าครึ่ง เกิดจากการล้ม คิดเป็นร้อยละ 58.8 รองลงมาคือการเล่นกีฬาสันทนาการ คิดเป็นร้อยละ 47.7 อาการ ไหล่หลุด เกิดขึ้นได้มากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งการเกิดขึ้นซ้ำนี้ พบมากในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปี” – ข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลกรุงเทพ

อาการ “ ไหล่หลุด ” เป็นอย่างไร

ไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่ หลุดออกจากเบ้า ทำให้เกิดความบาดเจ็บขึ้น รู้สึกปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป รูปแขนอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชาที่แขน เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทด้วย

อาการหัวกระดูกไหล่หลุดออกจากเบ้า หรือ ข้อไหล่หลุด มักจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหกล้ม ข้อไหล่ถูกกระแทก หรือถูกดึงแขน บางรายอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ  เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน  ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ  หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด ก็ทำให้เกิดภาวะไหล่หลุดได้เช่นกัน ส่วนมากไหล่จะหลุดออกมาทางด้านหน้าของร่างกายมากกว่าทางด้านหลัง และอันตรายหากเกิดการหลุดในระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แขน หรือไหล่ เช่น การว่ายน้ำ การขับรถ หรือการทำงานบนที่สูง เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่

บทความที่เกี่ยวข้อง ผักผลไม้วิตามินซีสูง ป้องกันหวัดลูก ดีต่อสุขภาพคนท้อง สร้างเนื้อเยื่อและกระดูกทารกในครรภ์

ไหล่หลุด

ภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่ หลุดออกจากเบ้า ทำให้เกิดความบาดเจ็บขึ้น รู้สึกปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป รูปแขนอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชาที่แขน เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทด้วย

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหล่หลุด

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่เล่นกีฬาที่เกิดการปะทะบ่อย ๆ เช่น ฟุตบอล รักบี้ หรือผู้ที่ต้องใช้หัวไหล่ หรือยกแขนเหนือศีรษะ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักเทนนิส นักว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการไหล่หลุดที่มักจะเกิดซ้ำ พบมากในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในทางกลับกัน สำหรับผู้ที่อายุมาก โดยเฉพาะ 50 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำมีไม่มาก แต่หากมีอาการไหล่หลุดแล้ว เส้นเอ็นก็มักจะฉีกขาดด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง พาลูกออกกำลังกาย เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี

ไหล่หลุด ทำอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษา เมื่อข้อไหล่หลุด

ถ้าหากข้อไหล่หลุด ต้องรีบทำการรักษาทันที ในเบื้องต้น ใช้วิธีการประคบเย็น ประคบน้ำแข็งครั้งละ 5 – 10 นาที ทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 – 2 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวด และเร่งการสมานตัวของเนื้อเยื่อ หลังจากนั้นแพทย์จะดึงข้อให้เข้าที่ และใส่อุปกรณ์พยุงแขน

ผู้ป่วยข้อไหล่หลุด จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นจะต้องทำกายภาพบำบัด และบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ ให้มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย

ไหล่หลุด

การผ่าตัดข้อไหล่ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมได้แก่ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ

การรักษา ไหล่หลุด ด้วยการผ่าตัด

ปัญหาหนึ่งของอาการข้อไหล่หลุด คือผู้ที่หายแล้ว กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งพบได้มากในช่วงอายุน้อย ๆ สาเหตุเนื่องจากเส้นเอ็นภายในหัวไหล่มีการฉีกขาด หมอนรองเบ้าฉีก เยื่อหุ้มข้อยืด และอื่น ๆ ที่ทำให้การรักษาเบื้องต้นไม่สามารถทำให้หายขาดได้ จึงต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันการหลุดซ้ำ

การผ่าตัดข้อไหล่ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมได้แก่ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ

การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

เป็นการเจาะรู แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บปวดน้อย และฟื้นตัวเร็ว โดยแพทย์จะทำการซ่อมปลอกหุ้มข้อ และหมอนรองข้อไหล่ที่ฉีกขาด ทำให้ไหล่มีความมั่นคงมากขึ้น ลดโอกาสที่ไหล่จะหลุดอีก แผลจะมีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร ประมาณ 3 แผล ระยะเวลาในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 4 สัปดาห์ และจะกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม หลังจากผ่าตัดประมาณ 3 – 6 เดือน

ข้อจำกัดของการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง คือ หากมีอาการไหล่หลุดมากกว่า 2 ครั้ง ควรทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะถ้าไหล่หลุดบ่อยครั้งมากขึ้น จะทำให้กระดูกเบ้าไหล่แตกหัก สึกหรอ และไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องได้

ไหล่หลุด

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่เล่นกีฬาที่เกิดการปะทะบ่อย ๆ เช่น ฟุตบอล รักบี้ หรือผู้ที่ต้องใช้หัวไหล่ หรือยกแขนเหนือศีรษะ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักเทนนิส นักว่ายน้ำ

การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ

ทำให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในของหัวไหล่ได้อย่างชัดเจน เพราะภาวะไหล่หลุดอาจจะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด กระดูกเบ้าแตก หรือเส้นเอ็นฉีก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเห็นได้จากการตรวจด้วยกล่องส่องข้อ

นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ข้อไหล่หลวม มีอาการปวด รักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดเท่าไหร่ก็ไม่หาย แพทย์สามารถใช้กล้องส่องข้อช่วยเย็บซ่อมเยื่อหุ้มข้อที่ยืด และอาการอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุได้ด้วย

สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ ความพร้อมของเครื่องมือ และความร่วมมือของคนไข้

บทความที่เกี่ยวข้อง อาหารหลังผ่าคลอด สารอาหารแบบไหนที่แม่หลังผ่าคลอดควรได้รับ?

อ้างอิง vejthani , bangkokhospital , shoulderknee

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

pichaya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไหล่หลุด เกิดจากอะไร วิธีรักษาอาการไหล่หลุดทำอย่างไร
แชร์ :
  • ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูก เกิดจากอะไร หลังคลอดน้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไรดี ?

    ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูก เกิดจากอะไร หลังคลอดน้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไรดี ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูก เกิดจากอะไร หลังคลอดน้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไรดี ?

    ปัญหาแม่ไม่มีน้ำนมให้ลูก เกิดจากอะไร หลังคลอดน้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไรดี ?

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว