X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พาลูกออกกำลังกาย เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี

บทความ 5 นาที
พาลูกออกกำลังกาย เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี

พาลูกออกกำลังกาย เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี ข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

พาลูกออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ในทุกวัย สำหรับเด็กแล้วการออกกำลังกายสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และพัฒนาการต่าง ๆ  ทำให้ร่างกายแข็งแรงเติบโต มีภูมิคุ้มกันที่ดี และ มีจิตใจสดชื่น แจ่มใส การออกกำลังกายในเด็ก แต่ละช่วงวัยย่อมแตกต่างกันตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัย พาลูกออกกำลังกาย ยังไงดี ดูได้ดังนี้ค่ะ

พาลูกออกกำลังกาย-01

พาลูกออกกำลังกาย-01

1. วัยทารก (0-11 เดือน)

ในช่วงวัยทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ทารกจะไม่สามารถขยับตัวได้เอง การออกกำลังกายจึงต้องอาศัยความช่วยเหลือ จากคุณพ่อคุณแม่ โดยการขยับแขนขาของลูกอย่างอ่อนโยน ในจังหวะที่เหมาะสม เช่น หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพันผ้าอ้อมไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อให้ลูกขยับแขนขาได้สะดวก

ช่วงอายุ 4 เดือนขึ้นไป ทารกจะเริ่มขยับแขนขาได้มากขึ้น จนเริ่มคว่ำได้ คุณพ่อ คุณแม่ ควรส่งเสริมให้ลูกขยับแขนขาพลิกคว่ำเอง ช่วยจะประคองให้นั่ง และยืนบ่อย ๆ

ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป ลูกจะ เดือนขึ้นไปลูกจะเริ่มพลิกคว่ำ คืบ และ คลานได้จนกระทั่งเกาะยืน และ เดินในที่สุด จึงควรให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวเอง และอุ้มให้น้อยลง

พาลูกออกกำลังกาย-02

พาลูกออกกำลังกาย-02

2. วัย 1 ถึง 4 ปี

หลังจากอายุ 1 ปี ลูกจะเริ่มเดินได้เองและเริ่มวิ่งได้ จนกระทั่งอายุ 2 ปีขึ้นไป ลูกจะเดินได้คล่องขึ้นเรื่อย ๆ วิ่งและกระโดดได้ดี โดยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ มักจะชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงควรปล่อยให้ลูกได้เล่นตามที่ชอบอย่างมีความสุข โดยคุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการเล่นกับลูก

ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของสถานที่ อุปกรณ์ของเล่น และระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุอย่างเต็มที่ เด็กในวัยนี้ไม่ควรให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องนานเกินกว่าครั้งละ 30 นาที เพราะแขนขาอาจจะล้าและหกล้มได้ง่าย ควรให้ลูกทานน้ำบ่อย ๆ โดยเฉพาะหากเล่นอยู่กลางแจ้งในวันที่อากาศร้อน เพื่อป้องกันการขาดน้ำด้วยค่ะ

พาลูกออกกำลังกาย-03

พาลูกออกกำลังกาย-03

3. ช่วงอายุ 5-10 ปี

ลูกจะมีความพร้อมทางด้านร่างกายจิตใจและสังคม ที่จะทำกิจกรรมและออกกำลังกายได้แล้ว ทั้งนี้จะเริ่มเข้าใจกฎกติกาของการเล่นกีฬาได้ดีที่สุด หลังจากอายุ 7 ปีขึ้นไป จึงควรส่งเสริมให้ลูกได้เล่นกีฬาที่ชอบ ทั้งนี้ไม่ควรเล่นกีฬาในอากาศที่ร้อนจนเกินไป และดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำเช่นกัน

คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายไปกับลูกเพื่อความสนุกสนาน โดยเน้นที่การฝึกเล่นกีฬาให้ร่างกายแข็งแรง มากกว่าเน้นการแข่งขันเพื่อเป็นผู้ชนะ เพราะจะเป็นการเพิ่มความเครียด และความกดดันให้กับลูกและคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ

4. ช่วงวัยรุ่น (อายุ 11 ปีขึ้นไป)

ในช่วงวัยนี้ลูกจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การออกกำลังกายจะมีผลอย่างมากต่อความแข็งแรงของร่างกายลูก ควรออกกําลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที โดยเน้นที่การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่งกระโดดเชือก ปั่นจักรยาน ร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยอาจไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องกัน 60 นาที หากไม่มีเวลาก็อาจแบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ หลาย ๆ ครั้งในระหว่างวันก็ได้

ในช่วงวัยนี้เด็กสามารถออกกำลังกายในรูปแบบการฝึกซ้อมที่หนักกว่าปกติ เพื่อการแข่งขันเกมกีฬาได้แล้ว ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักต่อเนื่องกันนาน ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หากลูกมีอาการเหนื่อยผิดปกติจากการออกกำลังกายก็ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ

สรุปข้อควรระวังสำหรับการออกกำลังกายในเด็กทุกช่วงวัยมีดังนี้

  • การออกกำลังกายในช่วงที่อากาศร้อน เด็กควรได้รับการพักและดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • เด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจและปอด หากออกกำลังกายติดต่อกันนานเกินไปอาจเกิดอันตรายได้ จึงควรออกกำลังกายเป็นช่วงสั้น ๆ ครั้งละ 10-15 นาที โดยรวมกันให้ได้วันละ 60 นาที
  • หากมีอาการไข้ตัวร้อน ไม่สบาย ท้องเสีย ก็ไม่ควรออกกำลังกาย
  • หากเด็กมีความผิดปกติของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย

ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างปลอดภัยและเหมาะสมกับวัย หากคุณพ่อคุณแม่มีส่วนร่วมในการออกกำลังกายกับลูก ก็จะส่งผลที่ดีต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนในครอบครัวด้วยค่ะ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับสร้างสมองลูก ใน 1000 วันแรก ช่วยลูกฉลาด พัฒนาการสมวัย

5 สิ่งที่พ่อแม่ควรมี ถ้าอยากให้ลูกประสบความสำเร็จกัน ลองเช็คดู

www.sipatoys

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พาลูกออกกำลังกาย เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี
แชร์ :
  • การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการ ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด

    การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการ ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด

  • วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด

    วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการ ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด

    การเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เล่นกับลูก เสริมพัฒนาการ ปั้นความฉลาดได้ตั้งแต่แรกเกิด

  • วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด

    วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ