“ข้อไหล่ เป็นข้อที่มีโอกาสหลุดง่ายที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 – 50 จากอุบัติการณ์ข้อหลุดทั้งหมดในร่างกาย สาเหตุกว่าครึ่ง เกิดจากการล้ม คิดเป็นร้อยละ 58.8 รองลงมาคือการเล่นกีฬาสันทนาการ คิดเป็นร้อยละ 47.7 อาการ ไหล่หลุด เกิดขึ้นได้มากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งการเกิดขึ้นซ้ำนี้ พบมากในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปี” – ข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลกรุงเทพ
อาการ “ ไหล่หลุด ” เป็นอย่างไร
ไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่ หลุดออกจากเบ้า ทำให้เกิดความบาดเจ็บขึ้น รู้สึกปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป รูปแขนอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชาที่แขน เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทด้วย
อาการหัวกระดูกไหล่หลุดออกจากเบ้า หรือ ข้อไหล่หลุด มักจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหกล้ม ข้อไหล่ถูกกระแทก หรือถูกดึงแขน บางรายอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด ก็ทำให้เกิดภาวะไหล่หลุดได้เช่นกัน ส่วนมากไหล่จะหลุดออกมาทางด้านหน้าของร่างกายมากกว่าทางด้านหลัง และอันตรายหากเกิดการหลุดในระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แขน หรือไหล่ เช่น การว่ายน้ำ การขับรถ หรือการทำงานบนที่สูง เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่
บทความที่เกี่ยวข้อง ผักผลไม้วิตามินซีสูง ป้องกันหวัดลูก ดีต่อสุขภาพคนท้อง สร้างเนื้อเยื่อและกระดูกทารกในครรภ์
ภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่ หลุดออกจากเบ้า ทำให้เกิดความบาดเจ็บขึ้น รู้สึกปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป รูปแขนอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชาที่แขน เนื่องจากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาทด้วย
ความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหล่หลุด
ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่เล่นกีฬาที่เกิดการปะทะบ่อย ๆ เช่น ฟุตบอล รักบี้ หรือผู้ที่ต้องใช้หัวไหล่ หรือยกแขนเหนือศีรษะ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักเทนนิส นักว่ายน้ำ เป็นต้น
อาการไหล่หลุดที่มักจะเกิดซ้ำ พบมากในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในทางกลับกัน สำหรับผู้ที่อายุมาก โดยเฉพาะ 50 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำมีไม่มาก แต่หากมีอาการไหล่หลุดแล้ว เส้นเอ็นก็มักจะฉีกขาดด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง พาลูกออกกำลังกาย เด็กแต่ละช่วงวัย ออกกำลังกายยังไงดี
ไหล่หลุด ทำอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรักษา เมื่อข้อไหล่หลุด
ถ้าหากข้อไหล่หลุด ต้องรีบทำการรักษาทันที ในเบื้องต้น ใช้วิธีการประคบเย็น ประคบน้ำแข็งครั้งละ 5 – 10 นาที ทุก ๆ 1 – 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 – 2 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวด และเร่งการสมานตัวของเนื้อเยื่อ หลังจากนั้นแพทย์จะดึงข้อให้เข้าที่ และใส่อุปกรณ์พยุงแขน
ผู้ป่วยข้อไหล่หลุด จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นจะต้องทำกายภาพบำบัด และบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ ให้มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย
การผ่าตัดข้อไหล่ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมได้แก่ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ
การรักษา ไหล่หลุด ด้วยการผ่าตัด
ปัญหาหนึ่งของอาการข้อไหล่หลุด คือผู้ที่หายแล้ว กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งพบได้มากในช่วงอายุน้อย ๆ สาเหตุเนื่องจากเส้นเอ็นภายในหัวไหล่มีการฉีกขาด หมอนรองเบ้าฉีก เยื่อหุ้มข้อยืด และอื่น ๆ ที่ทำให้การรักษาเบื้องต้นไม่สามารถทำให้หายขาดได้ จึงต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันการหลุดซ้ำ
การผ่าตัดข้อไหล่ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมได้แก่ การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ
การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
เป็นการเจาะรู แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บปวดน้อย และฟื้นตัวเร็ว โดยแพทย์จะทำการซ่อมปลอกหุ้มข้อ และหมอนรองข้อไหล่ที่ฉีกขาด ทำให้ไหล่มีความมั่นคงมากขึ้น ลดโอกาสที่ไหล่จะหลุดอีก แผลจะมีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร ประมาณ 3 แผล ระยะเวลาในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 4 สัปดาห์ และจะกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม หลังจากผ่าตัดประมาณ 3 – 6 เดือน
ข้อจำกัดของการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง คือ หากมีอาการไหล่หลุดมากกว่า 2 ครั้ง ควรทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะถ้าไหล่หลุดบ่อยครั้งมากขึ้น จะทำให้กระดูกเบ้าไหล่แตกหัก สึกหรอ และไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่เล่นกีฬาที่เกิดการปะทะบ่อย ๆ เช่น ฟุตบอล รักบี้ หรือผู้ที่ต้องใช้หัวไหล่ หรือยกแขนเหนือศีรษะ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักเทนนิส นักว่ายน้ำ
การผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ
ทำให้แพทย์สามารถเห็นพยาธิสภาพภายในของหัวไหล่ได้อย่างชัดเจน เพราะภาวะไหล่หลุดอาจจะมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด กระดูกเบ้าแตก หรือเส้นเอ็นฉีก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเห็นได้จากการตรวจด้วยกล่องส่องข้อ
นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ข้อไหล่หลวม มีอาการปวด รักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดเท่าไหร่ก็ไม่หาย แพทย์สามารถใช้กล้องส่องข้อช่วยเย็บซ่อมเยื่อหุ้มข้อที่ยืด และอาการอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุได้ด้วย
สำหรับการผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ ความพร้อมของเครื่องมือ และความร่วมมือของคนไข้
บทความที่เกี่ยวข้อง อาหารหลังผ่าคลอด สารอาหารแบบไหนที่แม่หลังผ่าคลอดควรได้รับ?
Source : vejthani.com , bangkokhospital.com , shoulderknee.org
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!