ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญ เพราะป็นอวัยวะที่ผลิต และควบคุมฮอร์โมน ผู้ป่วยไทรอยด์ ควรระมัดระวังเรื่องอาหาร และการบริโภคสิ่งต่าง ๆ เพราะอาจมีผลต่ออาการของโรคได้ มาดู อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ อะไรที่ควรเลี่ยง อะไรที่ควรรับประทาน เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ และอาการทรุดลงนั่นเอง
โรคไทรอยด์เป็นอย่างไร?
โรคไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ อาจมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือ อาจเกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวมีความเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยไทรอยด์ จึงควรเลือกรับประทานอาหาร เพราะมีส่วนที่ส่งผลต่ออาการของโรคได้
อ่านเพิ่มเติม โรคไทรอยด์ ใครว่าไทรอยด์ไม่น่ากลัว อันตรายกว่าที่คิด รู้ไว้ปลอดภัยกว่า
สารอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์
สังกะสี
สังกะสี เป็นธาตุทีเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์โโยตรง เพราะไฮโปไทรอยด์ หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ มีสาเหตุมาจากการขาดสังกะสีทั้งคู่ ผู้ป่วยไทรอยด์ จึงควรรับประทานอาหาร ที่มีแร่ธาตุของสังกะสีให้มากขึ้น ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อแะ ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน หอยนางรม และ ธัญพืช เป็นต้น
ไอโอดีน
ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่สำคัญ ในระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพราะไอโอดีน จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงาน และผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาได้อย่างปกติ อาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน ได้แก่อาหารจำพวกอาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย หรือ อาหารอื่น ๆ เช่น กระเทียม เห็ด งา ไข่ ก็อุดมไปด้วยไอโอดีนเช่นกัน
ธาตุเหล็ก
หากร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ลดลง จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหาร ที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอ อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วขาว ฟักทอง และเมล็ดฟักทอง
วิตามินบี
วิตามินบี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ วิตามินบี ยังช่วยทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่เรียกว่า T4 อาหารที่อุดมไปด้วยบีสูง ได้แก่ ปลา นม เห็ด ไข่แดง ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ตับ เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
วิตามินดี
หากผู้ป่วยไทรอยด์ ได้รับวิตามินดีอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก และช่วยเพิ่มเนื้อกระดูกขึ้นมาได้ ซึ่งวิตามินดี นอกจากจะสามารถหาได้ด้วยการรับแสงแดดตอนเช้าแล้ว ยังสามารถหาได้จากอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาทะเล เห็ด ไข่ นม เป็นต้น
สารต้านอนุมูลอิสระ
สารต้านอนมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี มีส่วนช่วยให้ต่อมไทรอยด์ ต่อสู้กับการทำลายจากสารอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพ ของต่อมไทรอยด์ได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดหอม ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น
ทองแดง
หากผู้ป่วยไทรอยด์ขาดแร่ธาตุทองแดง จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ และคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น ร่างกายจึงควรได้รับทองแดง อย่างเหมาะสมแลเพียงพอ เพราะมีความจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยทองแดง ได้แก่ เนื้อปู กุ้งล็อบสเตอร์ หอยนางรม เนื้อวัว ถั่วต่าง ๆ เห็ดชิทาเกะ มะเขือเทศ ดาร์คช็อกโกแลต และ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
สารอาหารที่ควรเลี่ยง
กลูเตน
ผู้ป่วยไทรอยด์ที่มีภาวะแพ้กลูเตน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลูเตน เนื่องจากกลูเตน จะเข้าไปทำลายระบบการทำงานของลำไส้เล็ก ซึ่งจะทำให้ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยที่แพ้กลูเต็น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
วิธีดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นไทรอยด์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และงะอาหารที่ให้โทษแก่ร่างกาย เช่น อาหารทอด ของมัน แป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล เป็นต้น
- จัดการกับความเครียดให้ดี หาเวลาให้ตนเองได้พักผ่อน ทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ
- พบแพทย์เป็นประจำ ติตามการรักษาสม่ำเสมอ และ รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบถ้วน
- หากพบอาการผิดปกติหลังจากการรับประทานยา เช่น มีไข้สูง มีผื่นขึ้น ตาเหลือง ตัวเหลือง ควรหยุดการรับประทานยา และรีบพบแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ไทรอยด์เป็นพิษกำเริบได้
ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่สามารถกำเริบได้ตลอดเวลา ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลตนเองอย่างดี พบแพทย์เป็นประจำ และรับประทานยาให้ครบถ้วน ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดโอกาสการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรค ไม่ให้กำเริบขึ้นมาได้
ที่มาข้อมูล phayathai ,terrabkk
บทความที่น่าสนใจ
อาการโรคไทรอยด์ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อย
ไทรอยด์กับการตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องควรรู้ เป็นไทรอยด์มีลูกได้ไหม
ไฮโปไทรอยด์มีอาการอย่างไรบ้าง รวมควมรู้เกี่ยวกับโรคไฮโปไทรอยด์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!