X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หัวปลาต้มมะละกอดิบ อาหารเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่

บทความ 8 นาที
หัวปลาต้มมะละกอดิบ อาหารเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่

สำหรับแม่ที่กลัวว่าจะมีนมน้อยไม่พอลูกกิน ทำอย่างไรให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น หรือสงสัยว่านมแม่น้อยทำอย่างไรดี เมนูหัวปลาต้มมะละกอดิบเป็นสูตรอาหารเรียกน้ำนมอย่างดีที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำนมไม่พอได้

หัวปลาต้มมะละกอดิบ เป็นสูตรแกงจืดตามตำรับยาจีนโบราณที่ทานแล้วย่อยง่ายสบายท้องแต่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากเนื้อมะละกอนุ่มและหัวปลารสชาติกลมกล่อม ที่สำคัญเมนูนี้ยังช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ด้วย จึงเรียกได้ว่าหัวปลาต้มมะละกอดิบจึงเหมาะอย่างยิ่งกับคุณแม่พักฟื้นหลังคลอด เด็กทานยากและผู้สูงวัยในครอบครัว

 

หัวปลาต้มมะละกอดิบ-ทำอย่างไรให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น-นมแม่น้อยทำอย่างไงดี

หัวปลาต้มมะละกอดิบ นมมะละกอ

 

ส่วนประกอบหัวปลาต้มมะละกอดิบ

(สำหรับ 3-4 ที่)

-มะละกอดิบ 200 กรัม

-หัวปลา 1 หัวใหญ่ เช่น ปลากะพง ปลาจะละเม็ด ปลาช่อน

-ขิงฝานเป็นแผ่น 6-8 แผ่น หรือ 1 ชิ้นใหญ่ (ทุบพอแหลก)

-พุทราจีนและเก๋ากี้ (Wolfberry) เล็กน้อย

วิธีทำ

  1. ขอดเกล็ดและทำความสะอาดหัวปลา
  2. ตั้งน้ำต้มหัวปลา พุทราจีนและเก๋ากี้จนเดือด
  3. เติมมะละกอดิบกับขิงลงไป จากนั้นหรี่ไฟลงและตุ๋นต่อไปจนกว่าส่วนประกอบทั้งหมดจะสุกนิ่มและน้ำแกงจืดดูใส (ราว 1.5 – 4 ชั่วโมง)
  4. อย่าคนหม้อเพราะเนื้อมะละกออาจเละได้
  5. ปรุงรสชาติตามต้องการ

วิธีเสิร์ฟหัวปลาต้มมะละกอ

แยกเนื้อมะละกอและหัวปลาขึ้นจากหม้อ ตักน้ำแกงจืดใส่ชามเสิร์ฟเมื่อยังร้อน

 

อาหารคนท้องอ่อน แบบไหนบำรุง แบบไหนแสลง อะไรห้ามกิน อะไรกินได้

โภชนาการในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรามาดูกันว่า อาหารคนท้องอ่อน ในช่วงไตรมาสแรก แบบไหนควรกิน และแบบไหนควรหลีกเลี่ยงบ้าง

อาหารคนท้องอ่อน นมมะละกอ

หัวปลาต้มมะละกอดิบ นมมะละกอ

อาหารคนท้องอ่อน ช่วง 1 เดือนแรก

ในช่วงแรกนั้น คุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ จนกระทั่งประจำเดือนไม่มา จึงทำการตรวจการตั้งครรภ์ บางครั้งกว่าจะรู้ก็มีอายุครรภ์ได้ 2 – 3 สัปดาห์แล้ว ซึ่งนั่นก็อาจทำให้แม่ท้องเกิดความกังวลว่า จะเผลอกินอะไรที่เป็นของแสลงเข้าไป จนอาจเป็นอันตรายกับลูกได้ อย่างไรก็ตาม แม่ท้องไม่ควรกังวลมากไปจนเครียดนะครับ ซึ่งอาหารที่ควรกิน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ในช่วง 1 เดือนแรก มีดังนี้ครับ

อาหารคนท้อง 1 เดือน ควรกิน

เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือเจ็บเต้านม ซึ่งคุณแม่แต่ละคนก็อาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่ ก็ควรต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินเหมือนๆกัน ซึ่งอาหารที่แม่ท้องควรกิน มีดังนี้

1. อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต

ตอนที่ไปฝากครรภ์ แม้ว่าคุณหมอจะให้กรดโฟลิกแบบเม็ดมาให้กินแล้ว แต่คุณแม่ท้องก็ควรกินอาหารที่มีโฟเลตเพิ่มไปด้วยนะครับ เพราะโฟเลตมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการสมองของตัวอ่อนในระยะแรก และอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตก็หาได้ไม่ยากเลย เช่น ส้ม มันฝรั่ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ถั่ว และผักใบเขียวทั้งหลาย เป็นต้น

2. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

นมเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอด ทั้งโปรตีน วิตามิน แคลเซียม น้ำ ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งก็มีคุณค่าเทียบเท่าการดื่มนม โดยคุณแม่ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกวัน ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้าหากดื่มมากไป ก็อาจทำให้ลูกคลอดออกมาแพ้โปรตีนจากนมได้

3. เนื้อสัตว์

ในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ แม่ท้องสามารถกินเนื้อสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เพียงแต่ต้องปรุงให้สุกเสียก่อน เพราะการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้

4. อาหารที่มีธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก ช่วยในการรักษาระดับการไหลเวียนของเลือดให้คงที่ ทั้งของแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ ทารกต้องการเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการจับกับออกซิเจนและสารอาหาร และส่งไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

และเนื่องจากในเดือนแรกคุณหมอจะยังไม่จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กให้คุณแม่ จนกว่าจะถึงเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้อง 1 เดือนจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต ปลาทูน่า ถั่วต่างๆ ผลไม้อบแห้ง และเนื้อไก่ เป็นต้น

อาหารคนท้องอ่อน

หัวปลาต้มมะละกอดิบ นมมะละกอ

อาหารคนท้อง 1 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

หากคุณแม่ทราบแล้วว่า กำลังตั้งครรภ์ อาหารต่อไปนี้คือ สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ 1 เดือนครับ

1. ชีส

แม่ท้องอ่อน ควรหลีกเลี่ยงชีสเนื้อนุ่ม เนื่องจากชีสพวกนี้มักทำจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และสามารถเป็นพาหะของโรคอาหารเป็นพิษ และเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแก๊สอีกด้วย

2. อาหารแปรรูป

ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดใหม่และอาหารแปรรูป อาทิ น้ำผลไม้กล่อง นมข้น และอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรค คุณแม่ท้องอาจเลือกรับประทาน น้ำผลไม้คั้นสด และสลัดผลไม้สดแทน โดยควรรับประทานภายใน 20 นาทีหลังจากทำเสร็จ

อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 2 ติดตามต่อหน้าถัดไป>>>

อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 2

ในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องและไม่อยากอาหาร แต่อย่างไรก็ดี คุณแม่ยังคงต้องรับกินอาหารที่มีประโยชน์ เพราะจะส่งผลต่อการพัฒนาประสาท สมอง และไขสันหลังของลูกน้อย

นอกจากนี้ระบบการไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ก็มีการพัฒนาในช่วงนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาหารแม่ท้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และนี่คือข้อมูลที่คุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับอาหารแม่ท้อง 2 เดือนครับ

อาหารคนท้อง ช่วงเดือนที่ 2 ที่ควรกิน

1. กรดโฟลิก

กรดโฟลิก หรือโฟเลต มีส่วนช่วยให้การพัฒนาของท่อระบบประสาทดำเนินไปอย่างปกติ หากแม่ท้องขาดโฟลิก ก็อาจทำให้ลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อความพิการ จากความผิดปกติของท่อประสาท หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

อาหารบางชนิด เช่น ผักโขม ธัญพืช ถั่ว ส้ม มันฝรั่ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ และผักใบเขียว มีกรดโฟลิกสูง แม่ท้องควรรับประทานกรดโฟลิกให้ได้ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์นะครับ

2. อาหารที่มีแคลเซียม

กระดูกของลูกน้อยจะเริ่มสร้างในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจึงควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1000 มิลลิกรรมทุกวัน โดยคุณแม่สามารถกินอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเช่น นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ และผักใบเขียว เป็นต้น หากแม่ท้องขาดแคลเซียม ร่างกายของคุณแม่ ก็จะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกและฟันไปใช้ ทำให้กระดูกและฟันของแม่ท้องอ่อนแอและเปราะง่าย

3. โปรตีน

แม่ท้องควรบริโภคโปรตีนให้ได้ 75 – 100 กรัมต่อวัน โดยโปรตีน จะช่วยทำให้พัฒนาการของกล้ามเนื้อทารกในครรภ์เป็นไปอย่างปกติ ซึ่งโปรตีนนั้น สามารถหาได้จาก เนื้อสัตว์ นม ไข่ และปลา แต่ต้องแน่ใจว่าปลานั้นมีสารปรอทต่ำ

อาหารคนท้องอ่อน

หัวปลาต้มมะละกอดิบ นมมะละกอ

อาหารคนท้อง 2 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

แม่ท้องส่วนใหญ่อาจนึกแต่ว่าควรกินอะไรเพื่อบำรุงครรภ์ ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี แต่อาจลืมนึกถึงอาหารบางชนิดที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์ เราได้รวบรวมอาหารที่แม่ท้อง 2 เดือนไม่ควรกินมาฝากกันครับ

1. ไข่ดิบ

ไข่ดิบ หรือไข่ที่ไม่สุกดี เป็นสิ่งที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เพราะมันอาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียซามอนเนลลา ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งลูกน้อยและตัวคุณแม่ได้

2. นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์

คุณแม่ท้องไม่ควรกินนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะนมประเภทนี้จะมีเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังอาจมีเชื้อ ซามอนเนลลา รวมถึง เชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอื่น ๆ

3. ปลาดิบ

ในช่วงนี้ไม่แนะนำให้แม่ท้องกินปลาดิบนะครับ เพราะอาหารดิบอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตราย รวมถึงอาหารทะเลปอกเปลือกที่ไม่ปรุงสุกก่อน เช่น หอย ปู กุ้งก้ามกราม และกุ้ง อย่างไรก็ตาม การรับประทานปลาสุกก็ควรเลือกปลาที่มีระดับสารปรอทต่ำ พยายามกินปลาขนาดเล็กมากกว่าปลาขนาดใหญ่ เพราะปลาขนาดใหญ่จะมีสารปรอทปนเปื้อนมากกว่า

อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 3 ติดตามต่อหน้าถัดไป>>>

อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 3

เคล็ดลับการรับประทานอาหาร สำหรับแม่ท้องในช่วงเดือนที่ 3 มีดังนี้ครับ

อาหารคนท้อง ช่วงเดือนที่ 3 ที่ควรกิน

1. อาหารที่มีวิตามินบี 6

เนื่องจากแม่ท้องอาจมีอาการคลื่นไส้มากในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 6 ได้แก่ ส้ม ไข่ ผักใบเขียว มันฝรั่ง จะช่วยลดอาการคลื่นไส้ และทำให้อารมณ์ของคุณแม่ดีขึ้นครับ

2. ผลไม้สด

ผลไม้สดมีประโยชน์ต่อคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ ผลไม้เป็นแหล่งวิตามินหลายชนิด ทั้งยังประกอบไปด้วย น้ำ ไฟเบอร์ น้ำตาลธรรมชาติ และสารต้านอนุมูลอิสระ คุณแม่สามารถทานผลไม้เพื่อเพิ่มน้ำหนักได้ เช่น กล้วย และฝรั่ง เป็นต้น

อาหารคนท้องอ่อน

หัวปลาต้มมะละกอดิบ นมมะละกอ

อาหารคนท้อง 3 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

1. อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋อง มักจะมีน้ำตาล และเกลือในปริมาณมาก รวมถึงสารปรุงแต่งกลิ่น และสารกันบูด แทนที่จะบริโภคสารสังเคราะห์เหล่านี้ คุณแม่ควรหันมากินอาหารสดจากธรรมชาติ จะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่และเจ้าตัวน้อยมากกว่านะครับ

2. อาหารทะเลบางชนิด

เนื่องจากอาหารทะเลบางชนิด มักจะมีการปนเปื้อนของสารปรอท ซึ่งจะไปขัดขวางพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ จึงแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงอาหารทะเลไปก่อน จนกว่าจะคลอด หรือเลือกรับประทานอาหารทะเลที่มีสารปรอทต่ำ เช่น กุ้งทะเล ปลาแซลมอน ปลาดุกทะเล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน และปลากะตัก จะดีที่สุดครับ

หวังว่าบทความเรื่อง อาหารคนท้องอ่อน ที่เรานำมาฝาก จะช่วยให้แม่ท้องเริ่มต้นวางแผนการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งของคุณแม่และลูกในท้องได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


ที่มา momjunction

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ข้อห้ามสำหรับคนท้อง3เดือนแรก อะไรบ้างที่แม่ท้องอ่อนต้องระวัง

“น้ำขิง” ของดีสำหรับคนท้องอ่อน

ท้องแต่ไม่ชอบดื่มนม กินนมไม่ได้ ควรโด๊ปอะไรแทนดี?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้

สูตรเต้าหู้เย็นนมสด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • หัวปลาต้มมะละกอดิบ อาหารเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่
แชร์ :
  • สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมช่วยลูกสมองดี

    สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมช่วยลูกสมองดี

  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ กินอะไรน้ำนมถึงเยอะ

    อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ กินอะไรน้ำนมถึงเยอะ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมช่วยลูกสมองดี

    สุดยอดอาหารเพิ่มน้ำนม ทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมช่วยลูกสมองดี

  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ กินอะไรน้ำนมถึงเยอะ

    อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ กินอะไรน้ำนมถึงเยอะ

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ