ท้องอ่อนๆ หรือการท้องในช่วงของไตรมาสแรก คุณแม่บางคนอาจทราบแล้วว่าตนเองตั้งครรภ์ แต่บางคนไม่รู้สึกตัวเลยว่าตนเองนั้นตั้งครรภ์ มาดูกันดีกว่า ท้องอ่อน ๆ นั้นมีอาการอย่างไรบ้าง สัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งท้องอ่อนๆ
ผู้หญิงทุกคนมีอาการก่อนตั้งครรภ์ไหม? สัญญาณบอกว่าท้อง
หากกล่าวถึงอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการตั้งครรภ์หรือก่อนการตั้งครรภ์ก็ตาม ผู้หญิงทุกคนนั้นมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะมีอาการเหมือนกัน หรือแม้แต่อาการเดียวกันแต่เกิดขึ้นคนละช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้อาการก่อนการตั้งครรภ์บางอาการมักจะมีลักษณะคล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกับอาการก่อนและระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะหาข้อสรุปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ด้วยการสังเกตอาการ
ท้องอ่อนๆ จะเริ่มมีอาการขึ้นเมื่อไหร่ สัญญาณบอกว่าท้อง
การนับจำนวนของวันที่เริ่มมีการตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ยาก และไม่แน่นอน โดยการตั้งครรภ์สัปดาห์แรกมักจะมีการคำนวณจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายนั้นจะถูกนับเป็นสัปดาห์ที่ 1 แม้ว่าในบางทีคุณอาจจะยังไม่ได้ตั้งครรภ์จริงๆ ดังนั้นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกจะไม่ถูกนับรวมกับการตั้งครรภ์ทั้งหมด 9 เดือนหรือ 40 สัปดาห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
|
ไทม์ไลน์หลังการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย |
อาการ และสัญญาณการตั้งครรภ์ |
สัปดาห์ที่ 1-4 |
เกิดตะคริวเล็กน้อย |
สัปดาห์ที่ 4 |
ประจำเดือนขาด |
สัปดาห์ที่ 4-5 |
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย |
สัปดาห์ที่ 4-6 |
คลื่นไส้ |
เจ็บหน้าออก หรือรู้สึกเสียวซ่า |
ปัสสาวะบ่อย |
ท้องอืด |
สัปดาห์ที่ 5-6 |
เวียนศีรษะ บ้านหมุน |
สัปดาห์ที่ 6 |
อารมณ์แปรปรวน |
อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง |
สัปดาห์ที่ 8 |
ความดันโลหิตสูง |
สัปดาห์ที่ 9 |
อ่อนเพลีย |
สัปดาห์ที่ 8-10 |
อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น |
สัปดาห์ที่ 11 |
เต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง |
สิวขึ้น |
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด |
สัปดาห์ที่ 12 |
สังเกตได้ว่ามีการตั้งครรภ์ |
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมถึงแพ้ท้อง 5 เหตุผล สาเหตุที่ก่อให้เกิดการแพ้ท้องได้
13 สัญญาณบอกว่าคุณกำลัง ท้องอ่อนๆ มีอะไรบ้าง?
เมื่อมีการตั้งครรภ์เริ่มต้นขึ้นนั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดรับกับการเจริญเติบโตของอีกหนึ่งชีวิตภายในครรภ์ ซึ่งผู้หญิงบางคนอาจไม่ทราบมากก่อนว่าอาการแบบนี้แสดงว่าคุณมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าสัญญาณใดบ้างที่จะบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ
1. ตะคริว และเลือดออก
ในช่วงของสัปดาห์ที่ 1- 4 ไข่ที่มีการปฏิสนธิกับอสุจิจะอยู่ในช่วงของการพัฒนาเซลล์ โดยจะมีการสร้างบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ขึ้นที่จะพัฒนาไปสู่การพัฒนาเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารก และในช่วงของสัปดาห์ที่ 4 บลาสโตซิสต์นั้นจะเข้าไปฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีเลือดออกจากการฝังตัว ซึ่งคุณอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นการตกค้างของประจำเดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เป็นตะคริวที่ท้อง ตอนตั้งครรภ์อันตรายมั๊ย เกิดจากอะไร ลูกจะปลอดภัยหรือเปล่า
2. ประจำเดือนขาด
เมื่อการฝังตัวของบลาสโตซิสต์ในเยื่อบุโพรงมดลูกเรียบร้อยแล้ว ร่างกายของผู้หญิงนั้นจะผลิตฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หรือฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotrophin Hormone : HCG) ออกมา ซึ่งมีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์ และนอกจากนี้ยังช่วยทำให้รังไข่หยุดปล่อยไข่ที่โตเต็มที่ออกมาในแต่ละเดือนในช่วงของการตั้งครรภ์อีกด้วย
3. อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น
อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นผิดปกติของผู้หญิงนั้นอาจเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ โดยคุณแม่ที่อยู่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นั้นอุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นได้ง่ายกว่าในผู้หญิงทั่วไปในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ออกกำลังกาย หรือในสภาพอาการร้อน
4. อ่อนเพลีย
ความเหนื่อยล้าของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสามารถเป็นได้ตลอดเวลาในการตั้งครรภ์ อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในทุกแม่เกือบทุกคนในระยะแรกของการตั้งครรภ์ โดยมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรกนั้นรู้สึกง่วงนอนได้ง่าย และต้องการการพักผ่อนสูง
5. อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 8-10 หัวใจของคุณแม่นั้นอาจสูบฉีดเร็วขึ้นกว่าปกติ และอาจส่งผลทำให้เกิดอาการใจสั่น และหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงแรก โดยอาการดังกล่าวเกิดจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากทารกในครรภ์นั้นกำลังมีการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
6. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมนั้นอาจเกิดขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 4-6 โดยที่เต้านมอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น และนุ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มหยุดลงหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ หรือเมื่อร่างกายของคุณแม่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้แล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนมจะเริ่มต้นอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์ โดยบริเวณหัวนมจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น และเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
7. อารมณ์แปรปรวน
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนของคุณแม่จะสูงขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ส่งผลต่ออารมณ์ของคุณแม่เป็นอย่างมาก อาจทำให้มีอารมณ์ หรือปฏิกิริยามากกว่าปกติ ซึ่งการแปรปรวนของอารมณ์นี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกหดหู่ หงุดหงิด วิตกกังวล และอารมณ์ดีภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งวัน
8. ปัสสาวะบ่อย และกั้นปัสสาวะไม่อยู่
ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่นั้นจะมีการเพิ่มปริมาณของเลือดที่สูบฉีดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไตของคุณแม่นั้นประมวลผลของเหลวมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้มีของเหลวในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมาก โดยทั้งหมดนั้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงทำให้คุณแม่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นั้นจะต้องมีการดื่มน้ำเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม และมีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการเข้าห้องน้ำ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้กั้นปัสสาวะไม่อยู่ระหว่างเดินไปเข้าห้องน้ำก็เป็นได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปัสสาวะบ่อย มีสาเหตุจากอะไร คนท้องฉี่บ่อยอันตรายไหม?
9. ท้องอืด และท้องผูก
อาการท้องอืด อาจเกิดขึ้นได้ โดยจะมีอาการเช่นเดียวกับช่วงของการมีประจำเดือน อาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณแม่ทำงานช้าลง จึงทำให้คุณแม่นั้นรู้สึกท้องผูกและอุดตัน และนอกจากนี้อาการท้องผูกยังช่วยเพิ่มอาหารท้องอืดท้องเฟ้อเข้าไปอีกด้วย
10. แพ้ท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน
อาการคลื่นไส้ และอาเจียนมักเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 4-6 แม้ว่าจะเรียกว่าอาการแพ้ท้องก็ตาม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า กลางวัน หรือเย็น โดยสาเหตุของการแพ้ท้องนี้ยังไม่แน่ชัดนักว่ามาจากอะไร แต่อาจเป็นเพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการแพ้ท้องเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการรุนแรง และอาการจะเริ่มน้อยลงเมื่อเข้าสู่ในช่วงของไตรมาสที่ 2
11. ความดันโลหิตสูง และเวียนศีรษะ
ส่วนใหญ่แล้วอาการความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงแรก ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย เนื่องจากหลอดเลือดมีการขยายตัวออกเพื่อให้การสูบฉีดของเลือดนั้นทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์นั้นไม่สามารถบอกได้ว่าความดันโลหิตเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่จะยึดจากความดันที่ตรวจครั้งแรกในช่วงของการฝากครรภ์เป็นหลัก และยึดว่าเป็นค่าปกติของแต่ละบุคคล
12. จมูกไวต่อกลิ่น และการหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิด
การที่จมูกไวต่อกลิ่นเป็นอาการของการตั้งครรภ์ในระยะแรก ซึ่งอาการนี้ส่งผลถึงอาการอื่น ๆ อาทิ อาการคลื่นไส้และอาเจียน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดความไม่อยากทานอาหาร หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรงอีกด้วย
13. น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การเพิ่มของน้ำหนักในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติ โดยคุณแม่อาจพบว่าตนเองมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นประมาณครึ่งกิโลกรัมถึง 1.50 กิโลกรัมเลยทีเดียวในช่วงปลายของไตรมาสแรก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นจะกระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
- หน้าอก 0.5-1.3 กิโลกรัม
- มดลูก 0.9 กิโลกรัม
- รก 0.5-0.9 กิโลกรัม
- น้ำคร่ำ 0.9 กิโลกรัม
- เลือดและของเหลว 2-3.1 กิโลกรัม
- ไขมัน 2.7-3.6 กิโลกรัม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับอาการของคุณแม่ท้องอ่อน ๆ หรือว่าท้องในช่วงของไตรมาสที่ 1 สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองอยู่ในช่วงท้องอ่อน ๆ หรือเปล่า แต่มีอาการดังกล่าว สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ได้ หรือถ้าจะเอาให้แม่นยำก็สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อยืนยันผลได้นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 4 คนท้องอ่อนๆต้องกินอะไร
สูตรอาหารเมนูผักไตรมาส 1 แม่ท้องไตรมาสแรก ต้องกินเมนูผัก เมนูไหนถึงจะดี
รวม 10 ที่ตรวจครรภ์ ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ตรวจแม่น ผิดพลาดน้อย!
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท้องอ่อนๆ ได้ที่นี่!
ท้องอ่อนๆ อาการเป็นแบบไหนคะ แล้วจะรู้ได้ไงว่าท้องคะ
ที่มา : healthline, mayoclinic, webmd,theasianparent
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!