X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิตามินเสริมสำหรับเด็ก อันตรายวิตามินเสริม อาหารเสริมเกินขนาด

บทความ 5 นาที
วิตามินเสริมสำหรับเด็ก อันตรายวิตามินเสริม อาหารเสริมเกินขนาด

อุทาหรณ์! พ่อแม่ให้ทารกทานแคลเซียมเสริม ก่อนจะให้ลูกกินวิตามินเสริมสำหรับเด็ก ต้องอ่านรายละเอียดให้ดี

วิตามินเสริมสำหรับเด็ก พ่อแม่ให้ลูกกินเกินขนาด อันตราย! กินวิตามินเยอะอันตรายไหม อาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด เป็นอย่างไร ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก

 

ให้ทารกกินแคลเซียมเสริมตั้งแต่อายุ 10 วัน กินวิตามินเยอะอันตรายไหม

เว็บไซต์เวิลด์ออฟบัซ รายงานข่าวเด็กหญิงวัย 1 ขวบ 10 เดือน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในเมืองกว่างโจว ตอนใต้ของจีน เพราะปัสสาวะเป็นเลือด โดยกุมารแพทย์รีบตรวจร่างกายและพบว่า เด็กหญิงวัยเพียงขวบกว่า มีนิ่วในไตทั้งสองข้าง ถึง 9 ก้อน ก้อนใหญ่สุดมีขนาด 2 เซนติเมตร ก้อนนิ่วจำนวนหนึ่งได้ไปอุดตันท่อไต หรือหลอดไตทั้งส่วนล่างและส่วนบน ส่งผลให้เกิดภาวะไตบวมน้ำ (Hydronephrosis)

แม่ของเด็กหญิงคนนี้บอกกับหมอว่า ลูกเกิดก่อนกำหนด ตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่น ๆ เธอกังวลว่า เมื่อลูกโตไปแล้วจะมีปัญหาเรื่องความสูง จึงให้ลูกกินแคลเซียมเสริม โดยบดเป็นผงผสมนมให้ลูกกินติดต่อกันทุกวัน ตั้งแต่ลูกอายุได้ 10 วันเท่านั้น จนกระทั่งลูกอายุ 10 เดือน แต่ฟันน้ำนมก็ยังไม่ขึ้น จึงให้ลูกกินแคลเซียมเสริมเพิ่มอีกเท่าตัว ทั้งยังผสมน้ำมันปลาให้ลูกกินเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ผ่าตัดเอานิ่วออกจากไตของเด็กหญิงเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเตือนว่า ทารกไม่ควรได้รับวิตามินเสริมสำหรับเด็ก เพราะทารกควรได้รับสารอาหารจากน้ำนมเท่านั้น

ที่มา : https://hilight.kapook.com

 

วิตามินเสริมสำหรับเด็กมีข้อควรระวังที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ มาดูอันตรายอาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด และข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก จากคุณหมอด้านล่างค่ะ

 

วิตามินเสริมสำหรับเด็ก อันตรายวิตามินเสริม อาหารเสริมเกินขนาด พ่อแม่ต้องคิดก่อนให้ลูกกินวิตามินเสริม ก่อนจะให้ลูกกินวิตามินเสริมสำหรับเด็ก ต้องอ่านให้ดี

วิตามินเสริมสำหรับเด็กจำเป็นไหม

กินวิตามินเยอะอันตรายไหม อันตรายจากการทานวิตามินสำหรับเด็กมากเกินขนาด

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกรงว่าลูกจะขาดวิตามิน จึงให้ลูกทานในปริมาณที่เยอะกว่าปกติ โดยคิดว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และไม่ได้มีอันตรายจากร่างกาย แต่ต้องไม่ลืมว่าวิตามินเป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกายเมื่อเรารับประทานในปริมาณที่เหมาะสมย่อมมีประโยชน์มาก แต่หากได้รับจนเกินขนาดแล้วก็อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกับที่เราทานยาจนเกินขนาดนะคะ

 

ตารางวิตามินสำหรับเด็ก

ตารางปริมาณวิตามินที่เหมาะสมกับวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่สามารถดูได้จากตาราง Dietary Reference Intakes (DRIs): Recommended Dietary Allowances and Adequate Intakes ของประเทศไทย (ดังเช่นตัวอย่างจาก link นี้ค่ะ https://www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/Thai-DRI-Table.pdf)

 

กินวิตามินเยอะอันตรายไหม หากลูกรับประทานวิตามินเกินขนาดจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง

อาการของผู้ที่ได้รับประทานวิตามินเกินขนาดแบบไม่จำเพาะเจาะจง ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย

อาการของผู้ที่ได้รับวิตามินแต่ละชนิดเกินขนาด ได้แก่

  • วิตามินเอ จะเกิดปัญหาสายตามองภาพไม่ชัดเจน คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร ปวดหัว และอาจมีอาการชักได้
  • วิตามินบี 1 ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อ่อนแรง ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันต่ำ
  • วิตามินบี 3 ผิวหนังแดงเป็นผื่นคัน ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย
  • วิตามินบี 6 เส้นประสาทจะถูกทำลาย มีอาการชา เดินเซ เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลียผิดปกติ
  • วิตามินซี อาจเป็นนิ่วในไต ท้องเสีย คลื่นไส้ ปั่นป่วนท้อง
  • วิตามินดี ท้องผูกและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทางเดินอาหารปั่นป่วน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดกระดูก ปัสสาวะมากผิดปกติ
  • วิตามินอี คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ เลือดออกง่ายผิดปกติ และอาจมีภาวะเลือดออกง่ายรุนแรงจนถึงขั้นเกิดเลือดออกในสมองได้
  • วิตามินเค ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก ตัวเหลือง ตาเหลือง

 

ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการทานวิตามินเสริมสำหรับเด็ก

  1. ปัจจุบันนี้มีวิตามินสำหรับเด็กหลายยี่ห้ออยู่ในรูปของขนมขบเคี้ยวและเยลลี่จึงทำให้เด็กทานเยอะโดยไม่รู้ตัวดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องควบคุมการทานวิตามินของลูกอย่างใกล้ชิดพระวิตามินไม่ได้เป็นขนมหากทานมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
  2. หากลูกสามารถทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ครบ 5 หมู่และทานผักผลไม้ได้ปกติ ก็อาจไม่จำเป็นต้องทานวิตามินเสริมแต่อย่างใด
  3. หากไม่แน่ใจว่าลูกควรทานวิตามินเสริมหากลูกจำเป็นต้องทานวิตามินเสริมในรูปแบบต่างๆและไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้ในขนาดเท่าใด ก็สามารถดูได้จากฉลากยาข้างขวดหรือกล่องของวิตามิน ซึ่งมักจะเขียนขนาดที่เหมาะสมตามอายุของเด็กไว้ โดยไม่ควรเพิ่มขนาดของวิตามินเองอย่างเด็ดขาดนะคะ
  4. ควรเน้นที่การฝึกลูกให้ทานอาหารได้หลากหลายครบ 5 หมู่ผักทานผักและผลไม้ มากกว่าเน้นการทานวิตามิน
  5. วิตามินต่างๆสำหรับเด็กก็ควรเก็บอยู่ในที่ห่างไกลจากมือเด็กเช่นเดียวกับยา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเก็บวิตามินไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบเองได้ เพราะอาจเกิดอันตรายจากการทานวิตามินเกินขนาดโดยเฉพาะวิตามินที่อยู่ในรูปสามารถเคี้ยวง่าย รสชาติอร่อย

 

ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกแอบทานวิตามินเสริมสำหรับเด็กจนเกินขนาด ก็ควรจะรีบโทรปรึกษาคุณหมอหรือศูนย์พิษวิทยา เช่น ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี Hotline: 1367 ( ตลอด 24 ชั่วโมง ) ได้ทันที เพื่อจะได้รับข้อแนะนำและการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ก่อนลูกเข้าอนุบาลต้องรู้อะไรบ้าง ความรู้เบื้องต้นสำหรับเด็กอนุบาลที่พ่อแม่ต้องรู้

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก วัยแรกเกิด-5 ปี พ่อแม่เช็คเลย!!

แคลเซียม สารอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับ ลูกน้อยวัยเตาะแตะ

สารอาหารเด็กเล็ก อาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี ลูกต้องการสารอาหารอะไรบ้าง

 

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิตามินเสริมสำหรับเด็ก อันตรายวิตามินเสริม อาหารเสริมเกินขนาด
แชร์ :
  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 2

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 2

  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 2

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 2

  • พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

    พ่อแม่จ๋า มารู้จัก "วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก" กันดีกว่า ตอนที่ 1

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ