อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก อยากให้ลูกน้ำหนักตามเกณฑ์ ต้องกินอะไร ลูกตัวเล็ก กินน้อย ผอมจนแม่กังวลกลัวลูกป่วยง่าย มีเมนูไหนเพิ่มพลัง กินอะไรดี
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ตามช่วงวัย
- น้ำหนักทารกแรกเกิดถึง 1 ขวบ : ก่อนจะไปดูเมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ แม่ต้องรู้เกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักทารกแรกเกิดถึง 1 ขวบ เพื่อพิจารณาดูว่า ลูกน้ำหนักตามเกณฑ์หรือไม่
- น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักทารก 1 เดือน – น้ำหนักทารก 3 เดือน : น้ำหนักตัวทารก ในช่วง 1-3 เดือนแรก น้ำหนักตามเกณฑ์จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 700-800 กรัม
- น้ำหนักทารก4 เดือน- น้ำหนักทารก 6 เดือน เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน : น้ำหนักตามเกณฑ์ทารก 4-6 เดือน จะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 1-3 เดือนแรก เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ไม่ต้องกังวล โดยน้ำหนักของลูกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 500-600 กรัมต่อเดือน
- น้ำหนักทารก 7 เดือน – น้ำหนักทารก 8 เดือน: น้ำหนักตัวทารกช่วงอายุ 7-8 เดือน จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 400 กรัมต่อเดือน ซึ่งลูกอาจจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือน้อยลงก็ได้ เพราะทารกวัยเกิน 6 เดือน พ่อแม่มักจะเพิ่มอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่แล้ว
- น้ำหนักทารก9 เดือน- น้ำหนักทารก 1 ขวบ :น้ำหนักตัวทารกในช่วง 9 เดือน ไปจนถึงน้ำหนักลูก 1 ขวบ จะเพิ่มขึ้นน้อยลงเหลือเฉลี่ยเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัม
- น้ำหนักลูก 1 ขวบ : น้ำหนักลูก 1 ขวบ น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กวัย 1 ขวบ จะเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละประมาณ 200 กรัม
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน
น้ำหนักลูก 1 ขวบ เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพราะอะไร
- น้ำหนักลูก1 ขวบอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากโภชนาการ การกินอาหารของเด็ก
- น้ำหนักลูก 1 ขวบอาจลดลงจากอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการลูกในทุก ๆ วัน หากลูกกินอาหารได้น้อย น้ำหนักตัวไม่เพิ่มตามเกณฑ์ เป็นไปได้ว่า ลูกอาจจะป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลกับน้ำหนักตัวลูก
- น้ำหนักลูก1 ขวบขึ้นไปอาจลดลง หากอยู่ในช่วงฟันขึ้น ลูกเจ็บเหงือก กินไม่ค่อยได้ ส่งผลต่อการกินอาหาร และการเพิ่มของน้ำหนักของลูก
- น้ําหนักลูก 1 ขวบ จะประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด ทารกเพศชาย 1 ขวบ น้ำหนักลูกประมาณ 8 – 11 กิโลกรัม ทารกเพศหญิง 1 ขวบ น้ำหนักลูกประมาณ 7.5 – 11.5 กิโลกรัม
อาหารลูก 1 ขวบ
อาหารตามวัยสำหรับเด็กอายุ 1 – 2 ปี เมื่อลูก 1 ขวบขึ้นไป ควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ และนมรสจืดวันละ 2 – 3 มื้อ ถ้ายังให้นมแม่อยู่ ควรให้นมแม่ต่อไปจนอายุ 2 ปี แต่เด็กอายุ 1 ปี ก็ควรให้หัดดื่มนมจากถ้วยแทนการดูดจากขวดเพื่อป้องกันฟันผุ
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ
- อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ ควรมีสารอาหารครบถ้วน ดัดแปลงจากอาหารของผู้ใหญ่โดยทำให้สุกอ่อนนุ่ม ชิ้นเล็กเคี้ยวได้ง่าย รสไม่จัด
- แต่ละมื้อประกอบด้วยข้าวสวยหรืออาหารประเภทแป้ง 1 ทัพพี เนื้อสัตว์ประมาณ 1 – 1ครึ่ง ช้อนกินข้าว ต้องให้ลูกกินไข่เป็นประจำ
- ใช้น้ำมันพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันรำข้าว
- ให้ผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทองหรือแครอทสลับกัน
- ให้ผลไม้เป็นอาหารว่างวันละ 1 – 2 มื้อ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สูตรอาหารเด็กวัยหย่านม เมนูฟักทองสำหรับเด็กวัยหย่านมสุดอร่อยประโยชน์เน้น ๆ
แพทย์หญิง นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล แนะนำอาหารสำหรับลูก 1 ขวบ ว่า อาหารสำหรับลูก 1 ขวบขึ้นไป อาหารไม่ต้องบดหรือสับละเอียดมาก หน้าตาอาหารควรใกล้เคียงกับอาหารที่ผู้ใหญ่รับประทาน โดยทุกมื้อรวมกัน ข้าวแป้งควรได้ 3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 3 ช้อนกินข้าว ผักควรได้ 6 ช้อนกินข้าว หรือ 2 ทัพพี ผลไม้ 3 ส่วน ทั้งนี้ ลูกควรมีผลไม้ระหว่างวัน โดยนับเป็นส้ม 1 ลูกเท่ากับ 1 ส่วน กล้วยหอมที่ค่อนข้างใหญ่ ครึ่งลูกเท่ากับ 1 ส่วน สลับสับเปลี่ยนผลไม้ให้หลากหลาย เพื่อให้ลูกได้คุณค่าสารอาหาร นอกจากนี้ เด็กอายุ 1 – 2 ปี ควรให้ทานอาหารพร้อมกับผู้ใหญ่ และให้หน้าตาอาหารคล้ายกับของผู้ใหญ่
ข้าวผัดไข่ แกงจืดไก่ผักหวานฟักทองเมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ
ข้าวเต้าหู้อ่อนทอด ต้มเลือดหมูหมูสับแครอทตำลึงเมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก
ข้าวปลาทู ไข่น้ำมันฝรั่งหัวผักกาดเมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกน้อย เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน
เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบง่าย ๆ
สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การเลือกเมนูอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูก ควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ แคลเซียม และไขมัน โดยจัดเตรียมเมนูที่เคยทำนอกจากการต้ม การตุ๋น เราก็เพิ่มเป็นเมนูผัด หรือทอดน้ำมันให้มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ลูกอายุครบ 1 ขวบมักจะเริ่มกินอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น
- คานาเป้ทรงเครื่อง สำหรับเด็ก ๆ ที่เบื่อการทาแยมบนหน้าขนมปัง คานาเป้เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ประกอบด้วยไข่ไก่ ตับไก่ มายองเนส เนยสดชนิดจืด แครอทและฟักทองต้มสุก นำมาบอดรวมกันรับประทานกับขนมปัง จะเห็นว่าส่วนประกอบของคานาเป้ อุดมไปด้วยโปรตีน จากไข่ไก่และตับไก่ คาร์โบไฮเดรต จากขนมปัง วิตามิน เกลือแร่ จากแครอทและฟักทองต้มสุก รวมไปถึงไขมันจากเนยจืด และมายองเนส เป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักได้อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว
- ซุปปลาข้น คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะทำซุปให้ลูกรับประทาน ซุปปลาข้นก็เป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกได้ เพราะส่วนประกอบของซุปปลาข้นที่มีเนื้อปลาอินทรีต้มสุก นมสด เนยสดชนิดจืด หอมหัวใหญ่ และเกลือป่น จากส่วนผสมของซุปปลาข้นจะเห็นว่าให้สารอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักได้อย่างดี เพราะมีทั้งโปรตีนจากเนื้อปลา นมสด และยังได้วิตามินจากหอมหัวใหญ่ และที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่มน้ำหนักของอาหารจานนี้ ได้แก่ เนยสดชนิดจืดที่ให้ไขมันแก่ร่างกาย ความหอมมันของซุปปลาข้นคงทำให้เด็ก ๆ รับประทานได้มากอย่างแน่นอน
- ชีสทอด ชีสถือเป็นผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ เพราะความหอมมันของชีสช่วยกระตุ้นความอยากอาหารของ เด็ก ๆ ได้อย่างดี ส่วนประกอบของชีสทอด มีทั้งชีส แป้งสาลี ไข่ไก่ เกล็ดขนมปัง อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ความกรอบ หอม อร่อยของชีส เป็นอาหารว่างที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูก ๆ ได้อย่างดี อีกทั้งยังหลีกหนีความจำเจจากขนมกรุบกรอบที่ไม่ค่อยจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเด็กอีกด้วย
- มันฝรั่งบดอบเบคอน อาหารเพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต จากส่วนประกอบ คือ มันฝรั่ง เบคอน ชีส ล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มน้ำหนักทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีกลิ่นหอม รสชาติหวานมันอร่อยครบถ้วน อาหารจานนี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกเจริญอาหารและช่วยเพิ่มน้ำหนักได้อย่างดี
- มักกะโรนีอบชีส อาหารชวนรับประทานสำหรับลูกน้อย เด็ก ๆ อาจเบื่อการรับประทานข้าว ลองเปลี่ยนมารับประทานมักกะโรนีอบชีสหอมกรุ่น อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่สำคัญช่วยเพิ่มน้ำหนักได้อย่างดี เพราะมีทั้งเนย ชีส เบคอน มักกะโรนี อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เด็ก ๆ ลองได้รับประทานแล้วรับรองติดใจไปทุกราย ช่วยเพิ่มน้ำหนักได้อย่างดีอีกด้วย
เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 1 ขวบ แต่ละเมนูไม่ยาก คุณแม่ทำได้อยู่แล้วค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือการพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อพิจารณาดูว่า น้ำหนักลูก 1 ขวบตามเกณฑ์หรือไม่ ผอมไปหรือเปล่า ไม่ใช่คุณแม่คิดเอาเองว่าลูกผอม บำรุงลูกมากเกินไปด้วยอาหารไขมันสูงแต่ไม่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คุณหมอจะได้ตรวจดูร่างกายของลูกด้วยว่า ที่น้ำหนักน้อย ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เพราะลูกไม่สบาย มีโรคอะไรหรือไม่ คุณหมอจะได้รักษาให้หายได้เร็วนะคะ
ที่มา : www.tmwa.or.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง!
ลูกแพ้ไข่ รู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้ไข่ ลูกแพ้อาหาร ผื่นขึ้น วิธีสังเกตว่าลูกแพ้อาหาร อาการทารกแพ้อาหาร
อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อาหารอันตรายกินแล้วลูกเสี่ยงตาย-พัฒนาการช้า
อาหารทำร้ายลูก 4 อย่าง ที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!