ยาเร่งคลอด เป็นยาที่ช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ ไม่ใช้เวลานานในการคลอด โดยมักจะใช้ก่อต่อเมื่อมีสาเหตุที่จำเป็นต้องเร่งคลอด เช่น การฉีดยาเร่งคลอด
- คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีนี้จะพบได้บ่อยที่สุด
- ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด ในกรณีนี้ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเสี่ยงพิการแต่กำเนิดได้
- รกผิดปกติ หรือการเจริญเติบโตของทารกผิดปกติ ทารกในครรภ์โตช้า หรือมีน้ำหนักน้อย เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเลือด โรคติดเชื้อต่างๆ หรือมีสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์
- คุณแม่ทีสูบบุหรี่จัด
- แม่ท้องมีความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือตกเลือดก่อนคลอด เป็นต้น
สาเหตุจำเป็นต้องเร่งคลอด การฉีดยาเร่งคลอด
- คนท้องตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์
- ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือทารกเสี่ยงพิการแต่กำเนิดได้
- ภาวะที่การทำงานของรกหรือการเจริญเติบโตของทารกผิดปกติ ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือด โรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์ คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัดระหว่างตั้งครรภ์ หรือการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ กรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อความปลอดภัยของทารก
- เกิดได้จากภาวะที่แม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน ตกเลือดก่อนคลอด
- คุณแม่ที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เดินทางไม่สะดวก เกรงว่าถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาจะไม่ทัน
- คุณแม่ที่ต้องการคลอดลูกให้ตรงตามฤกษ์ยาม ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่มักจะทำการผ่าคลอดมากกว่า เพราะทารกที่เกิดจากการเร่งคลอดเร็วเกินไปก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับการหายใจได้
ยาเร่งคลอด
วิธีกระตุ้นคลอด ทำได้อย่างไรบ้าง
1. การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ หรือการกวาดปากมดลูก (Membrane stripping, Membrane sweeping)
วิธีนี้ ถือเป็นวิธีการเร่งคลอดที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัย และได้ผลดี โดยที่สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูก เพื่อค่อยๆ ขยายปากมดลูก และกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด
2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy)
ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากเพียงพอแล้ว แต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก คุณหมอจะทำการเจาะถุงน้ำคร่ำเมื่อปากมดลูกเปิดได้ประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อให้มดลูกเกิดการหดตัว
3. ยาเร่งคลอด (ฮอร์โมนออกซีโตซิน – Oxytocin)
เป็นยาที่มีคุณสมบัติช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติไม่ใช้เวลานานมากนัก
4. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)
นับเป็นวิธีล่าสุดที่ใช้ในการเร่งคลอด ยาที่ใช้มีทั้งรูปแบบของเจล และแบบที่เป็นยาเหน็บช่องคลอด โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งตัวยาจะฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มลง และเปิดขยาย รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น
บทความที่น่าสนใจ : 8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย
เมื่อไหร่ที่ห้ามเร่งคลอด
- ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรืออาจอยู่ในท่าที่ไม่สามารถเร่งคลอดได้ เช่น ทารกท่าก้น หรือท่าขวาง
- มีรกเกาะต่ำ (Placenta previa) เพราะรกจะไปกีดขวางการคลอดได้
- มีภาวะสายสะดือพาดผ่านปากมดลูกและติดกับถุงน้ำคร่ำ (Vasa previa)
- มีภาวะสายสะดือย้อย (Umbilical cord prolapse)
- คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตัวโตเกินไป ในกรณีนี้คุณหมอจะไม่เร่งคลอดให้ เนื่องจากจะคลอดได้ยากและอาจทำให้ทารกบอบช้ำจากการเร่งคลอดได้
- คุณแม่ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรง ปากมดลูกขยายตัว และอาจทำให้มะเร็งแพร่กระจายได้
- คุณแม่เคยผ่าตัดคลอดในท้องแรกมาก่อน เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรงและกล้ามเนื้อบริเวณแผลเป็นไม่แข็งแรงมากพอ ซึ่งอาจจะทำให้แผลปริหรือแตกได้
- คุณแม่ที่เคยผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก เพราะการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกจะทำให้มดลูกบาง ถ้าเร่งคลอดก็อาจทำให้แผลฉีกขาดได้
คลอดลูก ยาเร่งคลอด
วิธีเร่งคลอดทางการแพทย์แบบอื่นๆ
- การกวาดปากมดลูก เป็นวิธีเร่งคลอดที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้ผลดี โดยวิธีการนี้จะคล้ายๆ กับการตรวจภายใน โดยคุณหมอจะค่อยๆ ใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูก เพื่อกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอด และจากการศึกษาพบว่า หลังจากใช้วิธีนี้ แม่ท้อง 2 ใน 3 มีอาการเจ็บครรภ์คลอดตามมาภายใน 72 ชั่วโมง
- การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน วิธีการนี้ คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยเหน็บช่องคลอด โดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
- การเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้น เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ศีรษะของทารกจะเลื่อนต่ำลงมามากขึ้น และไปกดขยายปากมดลูกให้เปิด
ในปัจจุบันมีสถิติการเร่งคลอดเพิ่มมากขึ้นด้วยหลาย ๆ ปัจจัย รวมถึงสาเหตุที่กล่าว แต่ถ้าการตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นปกติดีทุกอย่าง หากตั้งใจคลอดลูกด้วยตัวเอง ควรรอให้มีการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะดีที่สุดนะคะ เพราะการใช้ยาเร่งคลอดนั้น เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการที่ลูกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือมดลูกอาจแตกจากการเร่งคลอดที่รุนแรงเกินไปได้ และลงท้ายด้วยการผ่าคลอดสูงหากเร่งคลอดไม่สำเร็จ
ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร
การใช้ยากระตุ้นเพื่อเร่งคลอดนั้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการบีบตัว ส่งผลให้รูปากมดลูกค่อยๆ เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในขณะที่มดลูกบีบตัว หลอดเลือดต่างๆ ในมดลูก จะมีการไหลเวียดเลือดจากมดลูกแระรก ไปยังทารกในครรภ์น้อยลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกเกิดอาการของภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร หรือขาดออกซิเจนในช่วงนั้นได้ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับทารกนั้น จะสังเกตได้จากกราฟ หรือจากการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ซึ่งก็จะพบว่า หัวใจของทารกเต้นช้าลง โดยแพทย์จะรีบทำการช่วยเหลือโดยรีบด่วน หากพบอาการผิดปกติกับทารกดังกล่าว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้
ยาเร่งคลอดส่งผลต่อแม่ท้องหรือไม่
ผลกระทบต่อคุณแม่ ในการใช้ยาเร่งคลอดนั้น จะทำให้เกิดการเจ็บท้องมาก เพราะการหดรัดตัวมีมากขึ้น และอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากการหดรัดตัวของมดลูกมีมาก ก็อาจทำให้เกิดการติดขัดในกระบวนการคลอดได้ เช่น ทารกคลอดลำบากเพราะไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานของแม่ท้อง ซึ่งในกรณีเช่นนี้คุณหมออาจทำการผ่าคลอดแทน
ยาเร่งคลอด
ข้อห้ามการใช้ยาเร่งคลอด
กรณีที่เป็นข้อห้ามในการใช้ยาเร่งคลอดที่ต้องระวังมีดังนี้
- เคยผ่าคลอดมาก่อน หรือมีแผลบริเวณมดลูก เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตกได้
- มีสภาวะรกเกาะต่ำ กรณีนี้ คุณหมออาจให้ทำการผ่าคลอดแทน
- ทารกตัวใหญ่กว่าอุ้งเชิงกรานของคุณแม่
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น เป็นต้น
หากแม่ท้องมีการตั้งครรภ์ที่เป็นปกติ ก็ควรรอให้มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะการใช้ยาเร่งคลอดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งจากการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรืออาจทำให้มดลูกแตกได้ หากการเร่งคลอดรุนแรงเกินไป และหากเร่งคลอดไม่สำเร็จ ยังอาจจะต้องทำการผ่าตัดคลอดอีกด้วย
ยาเร่งคลอด
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ท้องไม่ควรเป็นกังวลใจมากเกินไป เพราะทุกอย่างอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอ ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของแม่ท้องเป็นหลักอยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่ได้ใช้กับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไปนะครับ ในระหว่างนี้ แม่ท้องก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองตามปกติ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่นมีเลือดออก หรือมีอาการปวดท้องคลอดก่อนกำหนด หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ก็ให้รีบพบคุณหมอโดยด่วน เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่ และลูกในท้องครับ
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
วิธีเร่งคลอดธรรมชาติ ทำอย่างไรให้ปากมดลูกเปิด
แม่ตั้งครรภ์มีเซ็กส์ตอนท้อง ถึงจุดสุดยอดจะเร่งคลอดหรือเปล่า
วิธีขมิบ ขมิบช่องคลอด ทําอย่างไร การขมิบช่องคลอดหลังคลอด ออกกำลังกายน้องสาว ขมิบน้องสาวให้ฟิต
ที่มา: medthai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!