ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีท่าอะไรบ้างนะ
ท่าคลอดลูกธรรมชาติ มีกี่ท่า ท่าไหนที่ช่วยให้แม่ท้องคลอดลูกสบายที่สุด แม่ๆ อยากรู้ไหม ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่าการคลอดลูกธรรมชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ แรงเบ่ง และท่าที่ใช้คลอด ซึ่งท่าคลอดนี้เองที่จะบอกได้ว่าท่าไหนคลอดได้ง่าย ท่าไหนคลอดได้ยาก แต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าท่าแนวตรงหรือแนวดิ่ง เช่น ท่ายืน เดิน นั่งยองๆ หรือท่ากึ่งนั่ง จะทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกแรงกว่าในท่าราบ
1. ท่าตรง (Upright Position)
คุณแม่บางคนเลือกที่จะคลอดลูกในท่าตรง เช่น นั่งคุกเข่าหรือการโยกตัวไปมา เพื่อให้แรงโน้มถ่วงช่วยให้คลอดลูกได้ง่ายยิ่งขึ้น ตามที่สถาบัน ACOG ระบุว่าท่านี้จะช่วยลดการแรงในการเบ่งคลอดได้ประมาณ 1.22 นาที แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของช่องคลอดเอาได้
2.ท่านั่งยอง (Squatting)
การนั่งยอกคลอดลูกจะช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ เพราะว่าในช่วงแรงของการคลอดกระดูกเชิงกรานของคุณแม่จะเปิดออก ทำให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับลูกน้อย ซึ่งคุณแม่สามารถที่จะนั่งคลอดลูกบนเตียงได้ หรือจะคลอดบนพื้น หรือแม้กระทั่งห้องน้ำ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
3.ท่านอนตะแคงซ้าย (Side-Lying)
ระหว่างคลอดคุณแม่อาจจะรู้สึกเหนื่อยจากการเบ่งลอดได้ ซึ่งในระหว่างนั้นอาจมีการหยุดพักระหว่างการคลอดลูก โดยนอนหันตะแคงซ้าย ท่านี้ดีตรงที่ความเสี่ยงในการฉีกขาดของช่องคลอดคุณแม่ลดน้อยลง
4. ท่าพุ่ง (Lunging)
ท่านี้อาจทำให้คุณแม่ประหลาดใจไม่น้อย แต่การคลอดท่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์เคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งคลอดที่ถูกต้อง แถมยังช่วยลดอาการปวดหลังของคุณแม่ได้อีกด้วย ท่านี้ให้คุณแม่ยกขาข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ หรือสตูลวางเท้า แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า ค้างไว้ 5-10 วินาที พัก 10 วินาที แล้วสลับขาอีกข้างหนึ่ง
ท่าคลอดลูก
5. ท่ามือและเข่า (Hands & Knees)
ท่านี้เหมือนจะเป็นท่าที่ดีท่าหนึ่งสำหรับคุณแม่ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ เนื่องจากเป็นการถ่ายเทน้ำหนักของลูกน้อยบริเวณหลังออกไป ทำให้ช่วยลดแรงกดบนสะโพกและบริเวณช่วงล่างของคุณแม่ได้ โดยเริ่มจากการนั่งคุกเข่าบนเสื่อหรือบนเตียง จากนั้นโน้มตัวไปข้างหหน้าเพื่อขยายกระดูกเชิงกรานออก คุณแม่ลองซ้อมก่อนก็ได้นะคะ เพราะท่านี้คล้ายกับการออกกำลังกายถ้ารู้สึกเหนื่อยก็พักบนหมอนได้ค่ะ
6. ท่านอนหงายชันเข่า
เป็นท่าที่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในระนาบเดียวกับพื้นหรือกระดูกในลักษณะแนวนอน ข้อดี สะดวกในการให้การพยาบาล แต่ข้อเสียคือ คุณแม่ต้องออกแรงเบ่งคลอดมาก อาจมีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือดที่มดลูกและรก ทำให้เลือดสูบฉีดไปสู่รกน้อยลง จนอาจเป็นสาเหตุให้ทารกน้อยเกิดถาวะขาดออกซิเจนได้
7. ท่ากึ่งนั่ง
ในท่านี้คุณแม่ต้องอยู่ในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง โดยเอนตัวไปด้านหลังประมาณ 30-60 องศา ข้อดีคือ จะทำให้เกิดแรงผลักดันในทิศเดียวกับแรงโน้มถ่วงของโลก ทั้งยังช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวก มีแรงในการดันเอาทารกออกมาได้มาก และทำให้เพิ่มความกว้างของกระดูกเชิงกรานได้ดีอีกด้วย แต่อาจจะแรงผลักดันอาจไม่ดีเท่าท่ายืนหรือท่านอนตะแคง ข้อเสียคือ ทำให้คุณแม่เมื่อยง่ายหากอยู่ในท่านี้นานๆ
ที่มา: romper
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
10 อาการคนท้องหลังคลอด แม่ผ่าคลอด-แม่คลอดลูกเอง ต้องเจอกับอะไรบ้าง
เทคนิคการหายใจสำหรับคนท้อง แม่ท้องเตรียมคลอดต้องฝึกการหายใจอย่างไรให้ถูกวิธี
การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด วิธีดูแลแผล และการกระชับฝีเย็บ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!