X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

บทความ 5 นาที
ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด

ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่่มักเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ของคุณแม่ หรือลูกในครรภ์อีกด้วย

 

ภาวะความดันโลหิตสูง ในคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ เป็นผลมาจากการ หดรัดตัวของหลอดเลือดแดง และเกิดความดันโลหิตสูงตามมา หากมีความรุนแรงมากขึ้น อาจมีผลทำลายเนื้อเยื่อที่สำคัญร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตับ ไต หรือสมอง นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้ เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ลดลง ส่งผลให้ลูกน้อยได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอด้วยค่ะ

 

ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ สามารถเกิดได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนค่ะ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติคือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แรก คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ลูกแฝด คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโรคเบาหวาน โรคไต และโรคความดันโลหิตสูง และคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน

 

ภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ ดังนี้

  1. ส่งผลต่อคุณแม่ อาจเกิดอาการชัก หรือเลือดออกในสมอง หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้ภาวะของโรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ
  2. ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่มีภาวะความดันโลหินสูง จะทำให้ปริมาณเลือดที่ผ่านรก มายังลูกน้อยลดลง ดังนั้นจึงอาจทำให้ ลูกน้อยในครรภ์มีภาวะโตช้ากว่าปกติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้ค่ะ

อาการที่บ่งบอกภาวะความดันโลหิตสูง ในคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ คุณแม่จะมีอาการบวมตามมือ และใบหน้า หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ บางรายอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการที่ไม่แน่ชัด ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และควรตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการวินิจฉัย และดูแลรักษาแต่เนิ่น ๆ ค่ะ

ภาวะความดันโลหิตสูงในคุณแม่ตั้งครรภ์ นับว่าเป็นภาวะที่มีอันตรายอย่างมาก หากคุณแม่มีภาวะนี้ แพทย์อาจจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลทันที เพื่อตรวจ และติดตามภาวะของโรค และสุขภาพของทารกอย่างใกล้ชิดค่ะ โดยการรักษา ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค และอายุครรภ์ หากการตั้งครรภ์ครบกำหนด หรือภาวะของโรค มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น แนวทางการรักษา คือ ยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งบางรายอาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดคลอดค่ะ

ทั้งนี้ เมื่อคุณแม่คลอดอย่างปลอดภัยแล้ว ภาวะความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้น อาจยังไม่ได้ลดลงตามปกติทันที แต่โดยทั่วไป จะกลับสู่ปกติอย่างช้าสุดไม่เกิน 12 สัปดาห์ หลังคลอดค่ะ และคุณแม่หลายท่านมีคำถามว่า หากตั้งครรภ์ต่อไป จะมีโอกาสเป็นภาวะนี้ซ้ำหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสเกิดซ้ำได้ในครรภ์ถัดไป และมีโอกาสที่โรคจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมด้วยค่ะ ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้รับการประเมินความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไปค่ะ

 

ข้อควรปฏิบัตเมื่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

  1. คุณแม่ควรพักผ่อนให้มากขึ้น โดยนอนพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน 2 ชั่วโมง และกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  2. คุณแม่ควรงดการทำงานหนัก
  3. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  4. หากคุณแม่ต้องรับประทานยาลดความดัน ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตามคำสั่งแพทย์ และหากมียาลดความดันโลหิตเดิมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ควรนำมาให้แพทย์ดู เนื่องจากยาบางชนิดไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ
  5. คุณแม่ต้องมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  6. คุณแม่ควรตรวจติดตามวัดความดันโลหิตของตนเองเป็นระยะ ประมาณ 2-3 ครั้ง / สัปดาห์
  7. เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการผิดปกติดังนี้ ควรพบแพทย์ทันที
  • ลูกน้อยดิ้นน้อยลง สังเกตโดยการนับเวลาลูกดิ้นเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ถ้าดิ้นน้อยกว่า 3 -4 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ หรือนับลูกดิ้นเวลาใดก็ได้ โดยนับลูกดิ้นจนครบ 10 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ
  • คุณแม่ที่มีอาการบวมบริเวณหน้า ท้อง มือและเท้า หรือบวมทั้งตัว มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 2 – 3 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์
  • คุณแม่ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นลักษณะอาการเริ่มต้นของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกได้ คุณแม่จึงควรมาพบแพทย์โดยเร็วค่ะ

การตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่และลูกในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลครรภ์ ด้วยการรับประทานอาการที่เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกำลังกายเบาๆ และควรฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มแรกตั้งครรภ์นะคะ

 

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

ตั้งครรภ์ แต่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกอาจตัวเล็กกว่าปกติ!!

ตั้งครรภ์ให้มีคุณภาพด้วยรวมลิสต์ ของบำรุงคนท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ภาวะ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายกว่าที่คิด
แชร์ :
  • ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

    ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

  • โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

    โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

    ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

  • โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

    โรคที่จะตามมาเมื่อ แม่ท้องเสี่ยงความดันโลหิตสูง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ