เป็นเรื่องปกติค่ะ ที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะเป็นกังวลว่า น้ำนมจะไม่พอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคุณแม่ที่กังวลเรื่อง น้ำนมเยอะ จนเกินความต้องการของลูกน้อยเช่นกัน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเต้านมของคุณแม่ผลิตน้ำนมเยอะเกินไป สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้
สัญญาณเตือนแม่มี น้ำนมเยอะ
- คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำนมเต็มเต้ารวดเร็ว แม้ว่าลูกน้อยเพิ่งจะดูดไปได้ไม่นาน แถมยังรูกสึกว่าหน้าอกแข็งเป็นก้อน และรู้สึกเจ็บ
- ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเต้านมยังคงมีน้ำนมตลอดเวลา จึงเพิ่มโอกาสให้ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบได้มากกว่า
- ลูกถอนปากออกจากเต้านมบ่อย ๆ เพราะน้ำนมพุ่งแรงเกินไปจนลูกกลืนไม่ทัน ทำให้ลูกมีอาการไอ หรือสำลัก หลังจากถอนปากออก คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าน้ำนมพุ่งเป็นสายออกจากหัวนม
- ลูกน้อยดูเหมือนจะท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ โดยลูกจะมีอาการหงุดหงิด งอแง ร้องไห้หนัก นอนหลับยาก
- หากแม่มีน้ำนมเยอะเกินไป ลูกมักจะตัวใหญ่กว่าเกณฑ์เฉลี่ย และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป
- ลูกน้อยอึบ่อย ไม่ว่าจะเป็นอึระหว่างดูดนม หลังจากดูดนม และระหว่างมื้อนม โดยลักษณะของอึมักจะมีสีเขียวและเป็นฟอง
- ลูกมีอาการฉี่บ่อยอาจถึง 10 ครั้งขึ้นไป ในเวลา 24 ชั่วโมง
- ลูกแหวะนมบ่อย แหวะนมทุกครั้งหลังให้นม
บทความที่น่าสนใจ : ถ้วยเก็บน้ำนม มีประโยชน์อย่างไร ช่วยเก็บน้ำนมแม่ได้จริงหรือ ??
หากคุณแม่ท่านใดที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำนม ก็เป็นเรื่องที่ดีไป แต่ถ้ามีน้ำนมมากเกินไป คุณจะวิธีรับมือกับปัญหาน้ำนมเยอะเกินความต้องการอย่างไร เพราะสำหรับคุณแม่มือใหม่นั้น ย่อมมีคำถามที่มากมายเกี่ยวกับการให้นมแม่ และเวลาจะหาข้อมูลทีก็ต้องเปิดไปดูตรงนู้นตรงนี้ที ดังนั้นเพื่อให้ทุกคำถามอยู่ในที่เดียวกัน วันนี้เราได้รวบรวมทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่ไว้ที่แล้วละค่ะ
ตอบคำถามคุณแม่ทำไมถึง น้ำนมเยอะ
เพราะการที่ น้ำนมเยอะ จนเกินไป จะทำให้ลูกกินนมลำบาก เพราะว่าลูกต้องรีบดูดน้ำนมด้วยความแรง จากการที่ร่างกายของคุณผลิตจำนวนมาก ในทางกลับกันร่างกายของคุณจะค่อย ๆ ปรับตัวเพื่อผลิตน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก ซึ่งก่อนที่ร่างกายจะคุณแม่จะเข้าสู่การปรับตัวในการผลิตน้ำนม คุณแม่อาจจะยังต้องรับมือกับปริมาณของน้ำนมที่มียังคงเหลือเฟือ หนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับกรณีนี้ คือการเก็บรักษาน้ำนมส่วนเกินของคุณไว้ นี่คือทางออกที่ดีที่สุด หากคุณเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว
การทำเช่นนี้ สามารถกระตุ้นร่างกายของคุณ ให้เข้าสู่วิธีของการผลิตนม “ในปริมาณที่ลูกต้องการ” ซึ่งจะนำไปสู่ความสม่ำเสมอ ของการผลิตน้ำนมแม่ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณมากเกินความต้องการ เวลาปั๊มนมเก็บ คุณควรปั๊มน้ำนมจากเต้านมทั้งสองข้างจนหมดเกลี้ยงจริง ๆ น้ำนมจากเต้าสามารถเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นเพื่อใช้ในวันหลังได้
หากคุณต้องการให้ร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง คุณควรให้นมลูก จากเต้านมข้างดียวกัน 2-4 มื้อ ก่อนจะเปลี่ยนข้าง ในระหว่างเวลาที่ให้นมลูก ให้คุณปั๊มน้ำนมเพียงเล็กน้อยจากเต้านมข้างอีกข้าง เพื่อบรรเทาอาการเต้าคัด วิธีนี้ จะเห็นว่ามีการผลิตน้ำนมลดลงภายในเวลา 48 ชั่วโมง
การเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็ง
การเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็ง มีประโยชน์ เวลาที่คุณไม่สามารถให้นมลูกเองได้ แต่น้ำนมที่ปั๊มออกมา ก็มีระยะเวลาในการเก็บ แม้ว่าจะเก็บไว้ในช่องแช่แข็งก็ตาม วันนี้ theAsianparent มี 2-3 เพื่อใช้เก็บรักษาน้ำนมส่วนเกิน แทนที่จะต้องทิ้งน้ำนมที่มีมากเกินความต้องการไปโดยเปล่าประโยชน์
- ลองคิดถึง วิธีการแช่แข็งน้ำนมในถาดทำน้ำแข็ง แล้วเก็บก้อนน้ำนมที่แช่แข็งไว้ในถุงใส เขียนวันที่นำเข้าแช่ไว้ที่ถุง นี่เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ที่จะนำน้ำนมไปใช้เมื่อคุณต้องการให้นมลูก อย่างฉุกเฉิน หรือ เมื่อลูกต้องการนมเพิ่ม
- น้ำนมจากเต้า เป็นที่รู้กันดี ว่ามีคุณสมบัติในการต่อสู้กับเชื้อโรค คุณสามารถเอาก้อนน้ำนมที่แช่แข็งมาช่วยทาเพื่อรักษาแผลถลอก แผลโดนขีดข่วน บาดแผล จากของมีคม แมลงสัตว์กัดต่อย และ แผลไฟลวกพุพองได้ คุณทำได้แม้แต่การนำมาถูรอบๆตอสายสะดือของทารกเพื่อช่วยให้แผลแห้งเร็วยิ่งขึ้น
- น้ำนมแม่ ได้รับการทดสอบแล้ว ว่าใช้รักษาโรคตาแดงได้ หรือ แม้แต่เอาก้อนน้ำนมที่แช่แข็งไว้จำนวน2-3ก้อน นำมาละลายแล้วใช้ล้างนัยตาที่แสบ และ มีอาการเมื่อยล้าได้อีกด้วย คุณสมบัติที่เป็นเอกลัษณ์ของน้ำนมจากเต้า คือสามารถยับยั้งเชื้อราได้ดี การเติมน้ำนมที่เก็บสะสมไว้ ลงในน้ำที่คุณใช้ชำระล้างร่างกาย หรือ แม้แต่จะใช้ในการป้องกัน และ ระงับอาการคันจากผื่นที่เกิดจากการแพ้ผ้าอ้อมของทารก
- สำหรับอาการคันเหงือกของลูก ไม่มีอะไรที่ใช้ได้ดี และ เร็วไปกว่าการใช้ก้อนน้ำนมแช่แข็ง ห่อด้วยผ้าที่นิ่ม และ สะอาด ดูให้แน่ใจว่า ก้อนน้ำแข็งถูกห่อ อย่างปลอดภัยภายในผ้า และ รัดด้วยหนังยางอย่างแน่นหนา ทีนี้ก็ปล่อยให้เจ้าตัวน้อยของคุณสนุกอยู่กับการเคี้ยว และ ดูดอย่างมีความสุข
- น้ำนมแม่ มีคุณสมบัติเป็นเหมือนสบู่ที่ดีเยี่ยม อีกทั้งยังใช้ในการกำจัดสิว และ รักษาผิวหนังที่แห้งได้อีกด้วย
หากคุณต้องการบริจาค น้ำนมแม่ที่มีมากเกินความต้องการให้กับโรงพยาบาลที่อยู่ในท้องถิ่นของคุณ เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ไม่สามารถกินนมจากแม่ของตัวเองได้ ก็มีโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ที่มีโครงการรับบริจาคน้ำนมจากแม่ เพื่อใช้ช่วยเหลือบรรดาคุณแม่ ที่ยังไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เอง การบริจาคน้ำนมแม่ เป็นความสมัครใจ และ เป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ ที่คุณได้มอบความช่วยเหลือ แก่แม่ที่ไม่สามารถผลิตน้ำนมให้ลูก ๆ ของเธอได้ หรือ รวมทั้ง แม่ที่ไม่สามารถซื้อนมผงที่มีราคาแพงเพื่อใช้เลี้ยงลูก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ถุงเก็บน้ำนม น่าใช้! รวม 5 อันดับถุงเก็บน้ำนม พร้อมวิธีการเลือกซื้อให้ได้ของดีโดนใจ
เจาะลึกทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่
สัญญาณและวิธีแก้ปัญหา “นมแม่มากเกินไป”
ที่มา : sikarin
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!