X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

บทความ 5 นาที
วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ คน คงประหวั่นพรั่นพรึงกับการเจ็บขณะเบ่งคลอด เพราะรู้กันมาว่าเจ็บมาก เจ็บนาน มีวิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดมาแนะนำค่ะ ติดตามอ่าน

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด 

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด-เบ่งคลอด

ความสำคัญของการควบคุมการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

การฝึกควบคุมการหายใจเพื่ดลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดนั้นมีความสำคัญมาก เพราะระยะเวลาที่เจ็บท้องคลอดกินเวลาหลายชั่วโมง อย่าเพิ่งตกใจหรือกังวลไปนะคะ เพราะทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ

ปัจจุบันนิยมใช้วิธีการของนายแพทย์ลามาซ ที่เน้นการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อทรวงอกที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่มดลูกหดรัดตัวและใช้วิธีการหายใจร่วมกับแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องเพื่อช่วยในการเบ่งคลอด จังหวะของการหายใจจะเป็นไปตามระยะของการเบ่งคลอด วิธีการนี้จะช่วยให้แม่ท้องคลายความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการเบ่งคลอดด้วยตนเอง  และสามารถเปลี่ยนลักษณะการหายใจไปตามความเจ็บปวดหรือความรุนแรงของมดลูก

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด-เบ่งคลอด

Advertisement

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด  ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก  นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง  พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว  และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง   แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้   ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7  เซนติเมตร

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด-เบ่งคลอด

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว  การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด  ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก  และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น  วิธีปฏิบัติ คือ

1. เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

2. เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9  เซนติเมตร

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด-เบ่งคลอด

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก  ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ  วิธีปฏิบัติ คือ

1. เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด

2. ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน  ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ  1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป  จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด-เบ่งคลอด

1. ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย  ศีรษะและไหล่ยกขึ้น  งอเข่า  แยกมือไว้ใต้เข่า  ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด  จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด

2. การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้

– a. หายใจเข้า / หายใจออก,  หายใจเข้า / เป่า

– b. หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า

– c. หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า

– d. หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ  คือ  หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า  ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก  5 ครั้งแล้วเป่า  จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1  จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง

ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่  การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด  ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก  แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น   ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก  ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้  ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น  การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก  เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง  การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่  ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว  มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว  และคล้ายตัวได้ทั้งหมด  ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

ประโยชน์ของหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดและหลักการหายใจ

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวด เบ่งคลอด

1. เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้คุณแม่และทารกในครรภ์มากขึ้น  เพื่อสุขภาพของแม่และลูกให้ได้รับออกซิเจนเต็มที่ระหว่างคลอด  หากหายใจไม่ออกหรือหายใจสั้น ๆ อาจทำให้การระบายคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ดีพอจนอาจเป็นผลเสียกับแม่และลูกได้

2. ลดการเกร็งตัวและการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อ

3. ช่วยลดความเครียด  ความกังวล และช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดอาการปวด คือ การหายใจแบบช้าเมื่อเจ็บท้องไม่มากนัก เพียงแต่มดลูกหดรัดตัวและคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีสมาธิในการควบคุมการหายใจช้า ๆ ได้ แต่เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น จะไม่สามารถควบคุมการหายใจให้ช้าได้  จึงค่อยเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบเร็ว

แต่ไม่ว่าคุณแม่จะหายใจแบบเร็วไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตามจะต้องหายใจล้างปอด คือ  หายใจออกลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มใช้เทคนิควิธีการหายใจ  และเมื่อสิ้นสุดเทคนิควิธีการหายใจจะต้องปิดท้ายด้วยการหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้งเสมอ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

คลิป : วิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ได้ทราบขั้นตอนวิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดกันแล้วนะคะ  คุณแม่สามารถฝึกตามได้แต่ไม่ต้องออกแรงเบ่งคลอดจริงนะคะ  แต่อย่างไรก็ตามการคลอดจะเป็นไปตามขั้นตอนตามธรรมชาติ  การหายใจจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะเบ่งคลอดให้คุณแม่ได้ทุเลาลงบ้าง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ คู่มือคุณแม่เตรียมตัวก่อนคลอดและการปฏิบัติตนหลังคลอด  ฉบับสมบูรณ์  ผู้เขียน ปาริชาติ ชมบุญ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ที่สุดในชีวิตกับประสบการณ์การคลอดธรรมชาติ

ลดปวดก่อนคลอดแบบไหน ไม่ต้องใช้ยา

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว