X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2

บทความ 5 นาที
อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2

หลายคนคงสงสัยว่าอาการของคนท้องช่วงไตรมาสที่ 2 จะเหมือนหรือต่างกับช่วงไตรมาสแรกอย่างไร เรามาไขข้อข้องใจของว่าที่คุณแม่กันดีกว่าว่าอาการที่พบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 มีอะไรบ้าง

อาการของคนท้องที่พบบ่อยช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

อาการของคนท้องที่พบบ่อยช่วง ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

เมื่อเข้าสู่ ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2  ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีเรี่ยวมีแรงมากขึ้นเนื่องจากอาการแพ้ท้องช่วงไตรมาสแรกนั้นทุเลาลงหรือหายจากอาการแพ้ท้อง แต่ก็อาจจะยังมีคุณแม่บางท่านที่อาการแพ้ท้องยังอยู่ไปจนคลอดเลย (เข้มแข็งไว้นะคะ) โดยทั่วไปแล้วในไตรมาสที่ 2 คุณจะรับประทานอาหารได้มากขึ้น เริ่มสังเกตเห็นท้องได้ชัดเจนขึ้น และที่ตื่นเต้นที่สุดคือการรู้สึกว่าลูกดิ้นเป็นครั้งแรก แต่ก็ยังไม่วายมีอาการต่าง่ ๆ มากวนใจว่าที่คุณแม่ไม่ให้รู้สึกสบายตัวจนเกินไป 4 อาการที่พบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 มีดังนี้ค่ะ

1. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้ว่าที่คุณแม่สามารถทานอาหารได้โดยไม่มีอาการแพ้ท้อง ดังนั้นจึงทำให้สนุกกับการทานอาหารมากเป็นพิเศษ บางรายมีความเชื่อที่ผิดว่าต้องทานอาหารเผื่อลูกด้วยจึงเพิ่มทุกอย่างเป็น 2 เท่า ทางที่ดีควรทานเฉพาะส่วนของคุณแม่ ไม่ต้องเผื่อลูกหรอกค่ะ เพียงแค่คุณประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ควบคุมเรื่องแป้งและน้ำตาล ถ้าหิวก็ทานผลไม้แทนเค้กหรือคุกกี้ก็พอ สำหรับดิฉันตอนท้อง 6 เดือนน้ำหนักขึ้นตั้ง 3 กิโลกรัมในเดือนเดียวจนคุณหมอส่ายหน้าและให้ควบคุมน้ำหนักพร้อมขู่ว่าถ้าคุณแม่ไม่ควบคุมน้ำหนักหลังคลอดจะไม่มีใครจำคุณแม่ได้นะครับ พอดีเดือนนั้นเผลอกินขนมเยอะไปหน่อยโดยเฉพาะพวกหวานเย็น (ก็อากาศมันร้อนนี่นา) หลังจากนั้นกินข้าวเท่าแมวดมแต่เน้นกับข้าวและผักเป็นการใหญ่เลย

2. ผิวหนังหน้าท้องขยาย เส้นบริเวณท้อง ลานนมและหัวนมมีสีคล้ำขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องปกติ ว่าที่คุณแม่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เมื่อเลย 4 เดือนไปแล้ว กลีบต่อมน้ำนมจะเริ่มขยายและมีเซลล์ต่อมน้ำนมเกิดขึ้นชัดเจน ต่อมน้ำนมจะสร้างน้ำคัดคลั่งที่เป็นสีใสขุ่น แต่ยังไม่เป็นสีน้ำนม ซึ่งน้ำคัดหลั่งนี้อุดมด้วยสารภูมิต้านทานและเซลล์เม็ดเลือด และไขมัน ซึ่งเราเรียกว่า คอลลอสตรัม (colostrum) เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 เดือน ต่อมน้ำนมจะขยายเพิ่มขึ้น มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นจนเห็นเส้นเลือดดำใต้ผิวหนังขยาย รวมทั้งมีเซลล์กล้ามเนื้อรอบ ๆ ท่อน้ำนมหนาขึ้นเพื่อพร้อมให้นมลูกต่อไป ส่วนการขยายตัวของหน้าท้องอาจจะทำให้เกิดท้องลายได้ ดังนั้นควรใช้โลชั่นทาเพื่อให้ผิวหนังหน้าท้องชุ่มชื่นเสมอเพื่อป้องกันผิวหนังแห้ง เวลาผิวแห้งเราจะเกาเพื่อแก้ปัญหาอาการคัน ทำให้เป็นรอยแดงและอาจเกิดการอักเสบได้

อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2

3. ริดสีดวง ช่วงเวลาที่คุณท้องทำให้คุณมีโอกาสเป็นริดสีดวงทวารได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับเส้นเลือดดำบริเวณด้านขวาของร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักปูดออกมา เวลาขับถ่ายจึงเกิดการเสียดสีและเกิดเลือดออกบริเวณทวารหนัก สร้างความระคายเคืองและความเจ็บปวด หากคุณเป็นริดสีดวงแล้วคุณควรพยายามรักษาความสะอาดบริเวณทวารหนัก และใช้กระดาษทิชชูนิ่ม ๆ ซับให้แห้ง หมั่นแช่ก้นในน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาที หรือลองแช่น้ำอุ่นสลับกับการประคบน้ำแข็งก็ได้ค่ะ หรือกลั้นใจดันริดสีดวงให้กลับเข้าไปข้างในทวารหนักแล้วขมิบก้นไว้สักพัก ก่อนทำควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง วันหนึ่งอาจจะต้องทำหลายครั้งสักหน่อย ถ้าลองทำแล้ว 2-3 วันยังไม่รู้สึกดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะดันริดสีดวงกลับเข้าไปให้คุณพร้อมทั้งให้ยาเหน็บก้นเพื่อลดการเสียดสีและหล่อลื่นบริเวณทวารหนัก และยาผสมกับน้ำเพื่อทำให้อุจจาระไม่แข็ง จะได้ถ่ายได้สะดวก ไม่เจ็บและไม่มีเลือดไหล ที่สำคัญคุณควรทานอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการขับถ่าย หลีกเลี่ยงการท้องผูก ดื่มน้ำเยอะ ๆ และเวลาตั้งครรภ์คุณไม่ควรซื้อยาทานเองนะคะ

4. ตะคริว ตะคริวนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุจนก่อให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
กล้ามเนื้อขาของเราอาจจะแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นอาจไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ของขา ประกอบกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์ร่วมด้วย นอกจากนี้ ตะคริวยังเกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือในกระแสเลือด เนื่องจากเด็กดึงสารอาหารเหล่านี้ผ่านรกไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในครรภ์ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม ความเจ็บปวดจากตะคริวก็ทำให้เราสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกได้ทันที ทางที่ดี ว่าที่คุณแม่ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการแช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณน่องที่เป็นตะคริว ดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ด้วยนะคะ

คุณแม่เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ ผ่านพ้นช่วงที่ร่างกายคุณแม่ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างอวัยวะและระบบสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายของลูกน้อยให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3-4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น
หลังจากนี้ไปผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดี แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป

อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่
เมื่อย่างเข้าไตรมาสที่ 2 คงยากที่จะปิดบังหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น หากคุณแม่เคยมีลูกมาก่อน คงพอจะคาดเดาอายุครรภ์และขนาดท้องได้ถูกต้อง ในระยะนี้อวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากคือมดลูกซึ่งก่อนหน้านี้เคยอยู่ในอุ้งเชิงกรานที่ช่วยปกป้องมดลูกไม่ให้ถูกกระทบกระเทือน พออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะขยับตำแหน่งสูงขึ้นจนพ้นเหนือกระดูกเชิงกราน และเติบโตเหนือสะดือขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้หน้าท้องขยายใหญ่ได้มากขึ้นค่ะ
คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะถ้าท้องไม่ใหญ่ คนอื่นมองไม่รู้ว่าท้อง ระยะการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ไม่ได้บอกว่าพัฒนาการของลูกในท้องเป็นอย่างไร ลูกจะตัวโตหรือสุขภาพดีหรือไม่ ถ้าท้องยังไม่ออกคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลเลยนะคะ

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในระยะไตรมาสที่ 2
คุณแม่อาจเริ่มอาการคัดจมูกในช่วงหลายสัปดาห์แรกนะคะ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความชื้นต่ำหรืออยู่ในห้องที่เปิดแอร์ ซึ่งจะกระตุ้นให้อาการกำเริบหนักขึ้น ควรวางชามใส่น้ำหรือหรือใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศช่วยให้หายใจสบายมากขึ้นค่ะ
ขนาดและรูปร่างของคุณแม่จะเปลี่ยนไปในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ไป ลักษณะหน้าท้องของแม่แต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ หลายคนบอกว่ารูปร่างท้องบอกเพศของเด็กได้ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนความเชื่อนี้ ขอให้คิดว่าเป็นเรื่องสนุกไปแล้วกัน การตรวจอัลตราซาวด์จะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่านะคะ
นับจากสัปดาห์ที่ 26 เป็นไปต้นไปคุณแม่จะสัมผัสถึงอาการเจ็บท้องหลอก ซึ่งเกิดจากการบีบหดตัวของมดลูกที่ไม่เจ็บปวดมาก เป็นกระบวนการตามธรรมชาติเพื่อเตรียมความพร้อมของมดลูกก่อนคลอดจริง และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดด้วย ถ้าคุณแม่เคยมีลูกมาก่อนจะรับรู้และเข้าใจอาการเจ็บท้องหลอกได้เร็วมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในระยะไตรมาสที่ 2
คุณแม่ควรเริ่มจะจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจมีอาการหลงลืมหรือความจำเสื่อมชั่วคราวในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าวิตกกังวลแต่อย่างใด อย่าคิดหรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ยิ้มและหัวเราะตัวเองได้เพื่อให้อารมณ์ขันช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีขึ้นค่ะ
ช่วงนี้คุณแม่อาจวิตกกังวลว่าลูกยังปลอดภัยดี ถ้ามีความผิดปกติจะรับมืออย่างไร ตั้งครรภ์มาถึงไตรมาสที่ 2 แล้ว ไม่สามารถที่จะย้อนเวลาถอยหลังกลับไปได้ คุณแม่ควรควบคุมอารมณ์ให้นิ่ง มั่นใจว่าธรรมชาติจะสร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกและตัวคุณแม่เอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลมากเกินไป

ที่มาจาก : https://www.huggies.co.th/th-th/pregnancy/4-6-months/second-trimester-pregnancy

บทความแนะนำ: 

อาการของคนท้องที่พบบ่อยในไตรมาสแรก

อาการของคนท้องยอดฮิตไตรมาสสุดท้าย

สิ่งที่คนท้องทำได้

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อาการของคนท้องไตรมาสที่ 2
แชร์ :
  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 12

    พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 12

  • การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

    การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 12

    พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 12

  • การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

    การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ