X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันโรคมะเร็งตับในเด็กจริงหรือ?

บทความ 5 นาที
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันโรคมะเร็งตับในเด็กจริงหรือ?

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โรคที่คนส่วนใหญ่เป็นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ หากเป็นแล้วจะถ่ายทอดสู่ลูกและเป็นอันตรายต่อทารก ต่อการเป็นโรคมะเร็งตับได้อย่างไร ไปอ่านกันค่ะ

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี มีความสำคัญต่อทารกอย่างมาก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สามารถทราบได้ว่าตนเองนั้นเป็นพาหะนำโรคชนิดนี้ไปสู่ลูกน้อยหรือไม่ ซึ่งหากแม่มีโรคดังกล่าว อาจจะนำมาซึ่งการถ่ายทอดไปสู่ทารกได้ขณะคลอด ได้ถึง 90 % ดังนั้น วัคซีนต้านไวรัสชนิดนี้ คือหนึ่งในวัคซีนที่สำคัญที่สุดสำหรับทารก

 

มารู้จัก ไวรัสตับอีกเสบ บี กันก่อน!

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)  มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B virus; HBV)  ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายอย่างยิ่ง  หากได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับรักษา อาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับ โดยสามารถติดต่อผ่านทางการคลอด การสัมผัสเลือดหรือแผลเปิดของผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ที่แหลมคมหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด หรือแปรงสีฟัน

 

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันอะไร ?

Advertisement

โรคที่น่ากลัวที่สุดสำหรับมนุษย์เราคือ มะเร็ง ดังนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนชนิดนี้ สามารถป้องกันมะเร็งชนิดแรก เนื่องจากสามารถช่วยป้องกันมะเร็งตับ อันเกิดต่อเนื่องจากภาวะไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่ง วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี  ประกอบด้วยโปรตีนจากผิวของไวรัส (HBsAg)  ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง: คนท้องเป็นไวรัสตับอักเสบบี ถ่ายทอดจากแม่ท้องสู่ทารก ท้อง เป็นไวรัสตับอักเสบบี ลูกเสี่ยงมะเร็งตับ

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไปสู่ลูกได้อย่างไร

  • ควรรีบฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
  • แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เช่น เชื้อไวรัสตัวอักเสบบี
  • แพทย์จะตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคเชื้อไวรัสตัวอักเสบบีนี้ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อความปลอดภัย
  • หากพบว่ามีโรคดังกล่าว แพทย์จะดูแลด้านทางเดินอาหารและโรคตับโดยเฉพาะเพื่อดูแลครรภ์มารดา
  • หากตรวจเลือดแล้วไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

 

 

ทารกควรฉีด วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ตอนเมื่อไหร่?

คุณแม่ท้องหรือคุณแม่มือใหม่ ควรจำไว้ว่า ลูกน้อยสามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด โดยฉีดเหมือนกับผู้ใหญ่ ทั้งหมด 3 เข็ม  หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว 1 เดือนจึงฉีดเข็มที่ 2 และฉีดเข็มที่ 3  หลังจากฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ครบ 3 เข็ม ส่วนใหญ่พบว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต  อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ประมาณ 1-2 เดือน  ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี หากยังไม่มีภูมิต้านทาน  ควรฉีดวัคซีนเพิ่มตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

ทารกต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

  • เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 10 ปี) ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน
  • เด็กโต (อายุ 10 ปีขึ้นไป) และผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาแล้ว ซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันโรคแล้วตาม
  • ธรรมชาติหรือเป็นพาหะ ซึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโดยไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจเลือดประกอบกับการพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนหรือไม่

 

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

การตรวจเลือด สามารถตรวจได้ 3 แบบ

  • การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (บางทีก็เรียกว่า การเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี) ได้แก่ การตรวจ HBsAg
  • การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBsAb หรือ Anti HBs
  • การตรวจหาภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBcAb หรือ Anti HBc ซึ่งถ้าพบตัวใดตัวหนึ่ง Positive ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องกระตุ้นหรือไม่ ?

ในคนทั่วไป หลังมีภูมิต้านทานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะลดลงตามระยะเวลา ในบางคนอาจมีภูมิต้านทานลดลงจนตรวจไม่พบ แต่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นหากได้รับเชื้อ จึงไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก ยกเว้นในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: อากาศเริ่มร้อน ระวังลูกป่วยไวรัสตับอักเสบเอ

 

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี 

  1. อาการระยะเฉียบพลัน
  • ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ดังนี้
    • อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
    • อาการอื่น ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
  • อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

 

2. อาการระยะเรื้อรัง

  • ระยะเรื้อรังแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน
    • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
  • ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้
  • การติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด

 

บุคคลที่สามารถฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ได้

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา

นอกจากสตรีมีครรภ์และทารกแล้ว ยังมีคนที่มีความเสี่ยงด้วยโรคมะเร็งตับหลายกลุ่มที่สามารถรับวัคซีนได้ดังนี้

  • ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น มีคู่นอนหลายคน

 

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

 

หากมีอาการเหล่านี้ควรงดรับวัคซีน

  • เคยมีประวัติแพ้ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ในครั้งก่อน หรือแพ้ต่อส่วนผสมต่าง ๆ ในวัคซีน
  • หากมีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน รอให้หายป่วยก่อนจึงค่อยมารับวัคซีน
  • กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้

 

อาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • วัคซีนอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาการแพ้อย่างรุนแรงจากวัคซีนพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาใด ๆ
  • ปฏิกิริยาที่อาจพบหลังจากฉีด ได้แก่ ไข้ต่ำ ๆ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักหายได้เองภายใน 1-2 วัน
  • อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ ปวดเมื่อย เพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ข้ออักเสบ ผื่นที่ผิวหนัง และมี transaminase เพิ่มขึ้นชั่วคราว
  • หากมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้ประคบเย็น แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์

 

วิธีป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ (ปกติถ้ามีภูมิแล้วจะป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต) หากไม่ทราบว่ามีภูมิคุ้มกัน หรือไม่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจเลือด
  • สำหรับเด็กทารกแรกเกิด การได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ตั้งแต่แรกคลอด หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้วเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกัน
  • ตรวจสุขภาพประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค

 

 

บทความที่น่าสนใจ : 

วิตามินเด็ก ต้องเสริมอะไรบ้าง? ทำไมเด็กถึงต้องกิน มีความจำเป็นอย่างไร?

การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79

สร้างภูมิคุ้มกันรอบด้าน เทรนด์การเลี้ยงลูกของแม่สมัยใหม่

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ได้ที่นี่!

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เริ่มฉีดได้ตอนอายุเท่าไรคะ

 

ที่มา : (นพ. ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม),(phyathai),(โรงพยาบาลเปาโล)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันโรคมะเร็งตับในเด็กจริงหรือ?
แชร์ :
  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว