X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

บทความ 3 นาที
นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

คุณแม่เวลาที่ให้นมลูกน้อยดูดจนอิ่มแล้ว เต้านมที่ตึงก็กลับยุบลงเพราะน้ำนมออกไปจากเต้าแล้ว เพียงแค่นั้นไม่ได้หมายความว่าน้ำนมจะเกลี้ยงเต้านะคะ แล้วระหว่างลูกดูดนมกับปั๊มนมแบบไหนจะเกลี้ยงเต้าได้มากกว่ากัน ร่วมหาคำตอบ รู้จัก&เข้าใจให้ถูกต้อง นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้จัก&เข้าใจให้ถูกต้อง

คุณแม่หลาย ๆ คนคงมีความเข้าใจเช่นเดียวกันว่า  นมเกลี้ยงเต้า คือ  ลูกดูดจนนมเกลี้ยงหมดเต้าหรือปั๊มนมจนเกลี้ยงหมดเต้า แต่ทำไมหลังจากดูดเสร็จแล้วหรือหลังจากปั๊มนมเสร็จแล้ว ใช้มือบีบยังมีน้ำนมไหลออกมา  แล้วแบบนี้จะเกลี้ยงเต้าได้อย่างไร   ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันถึงกลไกการไหลของน้ำนมก่อนนะคะ

นมเกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้า

1. ตราบใดที่คุณแม่ถ้ายังให้ลูกดูดนม หรือปั๊มนมอยู่นั้น จะไม่มีทาง “เกลี้ยงเต้า” จริงๆ ได้เลย เนื่องจากร่างกายแม่ให้นมนั้นจะมีการผลิตน้ำนมอยู่ตลอดเวลาค่ะ

2. น้ำนมจะถูกผลิตมาเก็บไว้ในเต้านม เมื่อพื้นที่ในเต้านมเก็บน้ำนมจนเต็ม คุณแม่จะเกิดอาการคัดเต้านมเป็นสัญญาณว่าตอนนี้น้ำนมเต็มเต้าแล้วนะ

3. เมื่อน้ำนมที่ผลิตใหม่จนเต็มเต้าไม่มีที่จะเก็บ คุณแม่ต้องระบายน้ำนมออกโดยการให้ลูกดูดหรือปั๊มออก เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับเก็บน้ำนมที่ผลิตออกมาใหม่ เพราะถ้าหากปล่อยให้เต้าเต็มบ่อยๆ จะเป็นการส่งสัญญาณว่าความต้องการน้ำนมลดลง ร่างกายจะผลิตน้ำนมลดลง

4. เมื่อน้ำนมถูกระบายออกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการดูดของลูกหรือปั๊มนมก็ตาม ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมใหม่มาแทนที่ ดังนั้น คำว่า “เกลี้ยงเต้า” น่าจะหมายถึงระบายน้ำนมจนเกือบหมดเต้า ไม่ใช่ไม่เหลือน้ำนมเลยนะคะ

แต่ถึงอย่างไรคำว่า “เกลี้ยงเต้า” ก็ยังเป็นคำที่คุณแม่ให้นมทุกคนคุ้นเคย  เพียงแต่ตอนนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าเกลี้ยงเต้า คืออะไร  แต่บทความนี้ก็ยังขอใช้คำว่า “เกลี้ยงเต้า” เหมือนเดิมนะคะ

Advertisement

บทความแนะนำ  เต้าใหญ่ เต้าเล็ก มีผลต่อนมแม่หรือไม่

วิธีการทำอย่างไรให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้า

1. คุณแม่ควรนั่งในท่าให้นม แบบท่าอุ้มขวางตักแบบประยุกต์ จะช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ดี

2. การจับพยุงเต้านมที่ถูกต้องเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูกนั้น   ให้วางนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนของเต้านม ห่างจากลานหัวนมเล็กน้อย นิ้วที่เหลือพยุงเต้านมอยู่ด้านล่าง (C-hold technique) อาจใช้นิ้วชี้รั้งผิวหนังใต้นม   เพื่อให้หัวนมยื่นออกไม่ควรใช้นิ้วคีบเต้านมในลักษณะการคีบบุหรี่เพราะจะไปบีบท่อน้ำนมได้

3. ใช้หัวนมเขี่ยบริเวณแก้มหรือริมฝีปากของลูกเบาๆ เมื่อลูกได้กลิ่นน้ำนมและการกระตุ้นดังกล่าว ก็จะหันปากเข้าหาหัวนมพร้อมกับอ้าปากกว้างคล้ายกับการหาว ให้ลูกอมงับถึงลานนม โดยให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน

4. ให้คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง วิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นของลูกยื่นออกมารีดน้ำนมจากเต้าแม่ได้ดีขึ้น และจมูกของลูกจะอยู่ห่างออกจากเต้าแม่เล็กน้อย คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหายใจไม่สะดวก  การอุ้มลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้มากจนเกลี้ยงเต้าด้วยค่ะ

บทความแนะนำ  นมแม่ช่วยเพิ่มไอคิว (IQ) ให้ลูกได้

วิธีปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร

1. การปั๊มนมของคุณแม่ในแต่ละครั้ง ควรใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊มแต่ละครั้ง

2. เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น ควรปั๊มให้นานขึ้น และให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่างน้อย 20-30 นาทีหรือปั๊มต่ออีก 2 นาทีหลังจากน้ำนมถูกปั๊มออกหมดแล้ว เพราะการปั๊มให้เกลี้ยงเต้าจะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น

3. การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าอีกวิธีหนึ่ง คือ การปั๊มนมไปพร้อม ๆ กับการดูดนมของลูกอีกข้าง หรือปั๊มพร้อมกัน 2 ข้าง จะทำให้น้ำนมออกได้ดี และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น

4. ถ้าในช่วงวันหากคุณแม่ไม่มีเวลาปั๊ม ไม่ต้องกังวลไปนะคะเดี๋ยวน้ำนมจะไม่ไหล กรณีแบนี้ให้คุณแม่กระตุ้นหัวนม นึกถึงตอนที่ลูกดูดนมค่ะ  คุณแม่จะรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ แบบที่น้ำนมกำลังจะไหล หรือที่เรียกว่าการทำจี๊ดนั่นแหละค่ะ  จากนั้นก็ค่อยปั๊มนม จะช่วยให้น้ำนมออกง่ายและเร็ว

บทความแนะนำ  ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา

ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ การทำน้ำนมให้เกลี้ยงเต้า ทั้งการดูดของลูกและการใช้เครื่องปั๊มนม  ที่สำคัญไม่ว่าจะดูดหรือปั๊มนมก็ตาม สิ่งสำคัญคุณแม่ต้องพยายามบำรุงตัวเองด้วยนะคะ  ลูกน้อยอิ่มนมก็จริงแต่จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นหากคุณแม่รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและจำเป็นในช่วงให้นม

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ


อ้างอิงข้อมูลจาก

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

https://www.breastfeedingthai.com

https://th.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หมอแนะ!!ดูดนมแม่ช่วยให้ลูกฟันสวย

แก้อย่างไร?ลูกไม่เอาเต้าเฝ้าแต่ขวดนม

ไวท์ดอท เรื่องที่ทำแม่ให้นมต้องนอนร้องไห้ เช็คหัวนมด่วน มีจุดขาวไหม

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว