ลูกไม่เข้าเต้า ปั้มอย่างเดียว
เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า “นมแม่” คืออาหารที่วิเศษที่สุดสำหรับทารก เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด มีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ที่เพียงพอต่อความต้องการของลูก นมแม่มีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ ที่ไม่มีในน้ำนมชนิดอื่น ทำให้เด็กที่กินนมแม่ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคท้องร่วง โรคติดเชื้อระบบทางเดินทางใจ เด็กที่กินนมแม่ยังเป็นโรคหอบหืดน้อยกว่า มีอาการทางผิวหนัง ออกผื่น น้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม และนมแม่ยังสามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กได้อีกด้วย
นมแม่มีคุณค่ามากมายมหาศาลขนาดนี้ คุณแม่จำนวนมากจึงตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ก็อาจมีหลายปัจจัยทีทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ เช่น ลูกไม่ยอมดูดเต้า ลูกที่คลอดก่อนกำหนด ลูกที่มีภาวะแทรกซ้อนทำให้ต้องอยู่ในตู้อบ เป็นต้น
แม้ลูกจะไม่ดูดนมจากเต้า ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยแม่ได้ หลักในการเพิ่มน้ำนมมีอยู่ว่า ยิ่งให้ลูกดูดมากเท่าไหร่ ร่างกายคุณแม่ก็จะยิ่งผลิตน้ำนมแม่มากขึ้นเท่านั้น การปั๊มนมก็เช่นกัน ยิ่งปั๊มนมออกมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งสร้างน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อลูกไม่ดูดเต้า ปั๊มอย่างเดียวคือคำตอบ แต่จะปั๊มอย่างไรให้สำเร็จ ต้องติดตาม 7 เทคนิคปั๊มนม ต่อไปนี้
-
ตั้งเป้าว่าจะปั๊มนมถึงเมื่อไหร่
คุณแม่อาจไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ เพราะต้องแยกจากลูกน้อย เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกต้องอยู่ในตู้อบด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป หรือในบางกรณีลูกอาจไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ เช่น ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น หรือที่เรียกว่า ลิ้นติด หรือปัญหาอื่น ๆ ทั้งที่คุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วแท้ ๆ แต่กลับให้นมลูกไม่ได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่าเพิ่งถอดใจ คุณยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ ด้วยการปั๊มนม
คุณแม่ต้องตั้งเป้าว่าจะปั๊มนมนานแค่ไหน จนกว่าน้ำหนักลูกจะเพิ่มขึ้น? หรือจนกว่าลูกจะพร้อมที่จะหย่านม? คุณแม่ควรมีคำตอบในใจ เพื่อเป็นเส้นชัยที่คุณแม่จะต้องไปให้ถึง
-
เริ่มให้ไวที่สุด
มีการศึกษาพบว่า ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ยิ่งคุณแม่ปั๊มนมออกมากเท่าไหร่ คุณแม่จะยิ่งมีน้ำนมมากในระยะยาว คุณแม่ควรจะปั๊มในบ่อยเท่ากับความถี่ที่ลูกจะดูดนมจากเต้า คือทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงนั่นเอง
-
เลือกเครื่องปั๊มนมที่มีคุณภาพที่สุดเท่าที่จะจ่ายไหว
หากคุณแม่ไม่สามารถซื้อเครื่องปั๊มนมราคาแพงได้ อาจเลือกวิธีเช่าเครื่องปั๊มนม หรือซื้อเครื่องปั๊มนมมือสองสภาพดีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
แนะนำให้ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า แบบปั๊มคู่ สองข้างพร้อมกันช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนมได้ดีกว่าแบบปั๊มเดี่ยว ร้านขายเครื่องปั๊มนมบางร้านสามารถให้คุณแม่ไปทดลองใช้สินค้าก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องที่เหมาะกับตนเองมากที่สุดได้ด้วย คุณแม่จะได้ศึกษาว่าเครื่องแต่ละรุ่นมีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง และร่างกายของคุณแม่มีการตอบสนองต่อเครื่องปั๊มแต่ละรุ่นอย่างไร รุ่นไหนแรงดูดดีกว่ากัน ปั๊มนมออกมาได้มากกว่ากัน และเกลี้ยงเต้ากว่ากัน
อย่าเพิ่งท้อใจ หากได้น้ำนมน้อยในการปั๊มนมครั้งแรก ๆ ยิ่งคุณแม่เครียดยิ่งทำให้น้ำนมไม่ออก คุณแม่ควรหาวิธีผ่อนคลายขณะปั๊มนม หรือลองนวดเต้านม ประคบเต้านม หรือดื่มน้ำก่อนปั๊มนม จะช่วยให้น้ำนมออกเยอะขึ้น
ในระหว่างปั๊มนมหากคุณแม่รู้สึกเจ็บแสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติแล้วล่ะค่ะ เครื่องปั๊มนมที่ดีปั๊มแล้วต้องไม่เจ็บนม อาจเป็นที่กรวยปั๊มไม่ได้ขนาดกับเต้านม หรือแรงดูดมากเกินไป ลองปรับการตั้งค่าให้ปั๊มแล้วรู้สึกสบายที่สุดและได้น้ำนมมากที่สุด ไม่จำเป็นกว่าการตั้งค่าในระดับสูงสุดจะดีที่สุดเสมอไปค่ะ
-
กำหนดตารางการปั๊มนม
คุณแม่ควรปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ช.ม. ซึ่งจะเท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน แต่หากคุณแม่ไม่สามารถปั๊มได้บ่อยขนาดนั้น ให้คุณแม่ลองกำหนดตารางเวลาการปั๊มที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด โดยให้ตั้งเป้าว่าจะปั๊มทั้งหมดกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าปั๊มตามตารางนั้นแล้ว ไม่ได้ปริมาณนมมากเพียงพอกับความต้องการ ให้เพิ่มรอบปั๊มให้ถี่ขึ้นอีก รวมถึงการปั๊มตอนกลางคืนอย่างน้อย 1 ครั้ง
ปั๊มจนเกลี้ยงเต้าคือกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการปั๊มนมแต่ละครั้ง ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด ควรปั๊มนาน 10-15 นาที ในช่วงวันที่ 3-4 หลังคลอด เมื่อน้ำนมเริ่มมามากขึ้นให้เพิ่มระยะเวลาการปั๊มเป็น 20-30 นาทีต่อครั้ง เมื่อคุณแม่ปั๊มนมได้ปริมาณนมตามที่ตั้งเป้าในแต่ละวันแล้ว อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงได้ แต่ต้องมั่นใจว่ายังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้ โดยอาจปั๊มเพียง 5-7 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10-15 นาที ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตปริมาณน้ำนมสัปดาห์ละครั้ง ด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน
-
อย่าให้ใครมาบั่นทอน
อาจมีคนมาพูดกับคุณว่า คุณจะปั๊มนมบ่อย ๆ ไปทำไมกัน หรือทำไมคุณยังปั๊มนมอยู่อีก แม่สามีอาจถามว่า ทำไมไม่ให้ลูกกินนมผสม สามีคุณอาจไม่เข้าใจเวลาคุณทะเลาะกับเครื่องปั๊มนม อย่าให้พวกเขาทำให้คุณต้องล้มเลิกความตั้งใจ ตราบใดที่คุณยังเชื่อมั่นว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกของคุณ
-
อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรคที่พบบ่อย
นอกจากเสียงจากคนรอบข้างแล้ว อุปสรรคในการปั๊มนมยังมีอีกไม่น้อย ทั้งท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมอักเสบ เจ็บหัวนม คุณแม่ต้องยอมรับว่า อุปสรรคเหล่านี้อาจไม่ได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับเวลาเปลี่ยนอะไหล่เครื่องปั๊มนมแล้วสามารถกลับมาปั๊มนมได้ทันที เมื่อต้องพบกับปัญหาในการปั๊มนม ความคิดที่จะเลิกปั๊มนมก็จะผุดขึ้นมาในหัวทันทีเช่นกัน ซึ่งคุณแม่ต้องเข้มแข็ง และเอาชนะความคิดด้านลบนี้ให้ได้
-
หากำลังเสริม
การได้พูดคุยกับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เป็นคุณแม่นักปั๊มเหมือนกัน จะช่วยให้คุณแม่มีกำลังใจในการปั๊มนมมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดปัญหาทางเทคนิค คุณแม่จะรู้สึกต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว เพราะยังมีคนให้ปรึกษา ให้คำแนะนำ ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้คุณแม่ประสบความสำเร็จในการปั๊มนมอย่างที่ตั้งใจ
ขอให้คุณแม่นักปั๊มทุกท่านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นะคะ
ที่มา https://www.bellybelly.com.au/
ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ
ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ
ลูกไม่เข้าเต้า ปั้มอย่างเดียว
เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด
ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ชีวิตคุณแม่นักปั๊ม จะปั๊มนมในที่ทำงานทั้งทีต้องลำบากขนาดนี้เหรอ? ดูคลิป
ทำความเข้าใจ ขนาดกระเพาะทารก ก่อนคิดว่านมแม่ไม่พอ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!