X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เต้าใหญ่ เต้าเล็ก มีผลต่อนมแม่หรือไม่

บทความ 3 นาที
เต้าใหญ่ เต้าเล็ก มีผลต่อนมแม่หรือไม่

แม่ให้นมฟังทางนี้ค่ะ อยากทราบไหมคะว่า เต้าเล็ก เต้าใหญ่ มีผลกับน้ำนมแม่หรือไม่ อาจมีคุณแม่บางคนที่แอบกังวลว่า “ชั้นเต้าเล็ก น้ำนมจะน้อยหรือไม่” เรื่องนี้ ต้องติดตามอ่านค่ะ

เต้าใหญ่ เต้าเล็ก มีผลต่อนมแม่หรือไม่

ในการสร้างน้ำนมให้ทารกนั้น  ข้อเท็จจริงแล้ว  เต้าเล็ก  เต้าใหญ่ ไม่ได้มีผลกับปริมาณน้ำนมค่ะ !!! เพราะส่วนที่สร้างน้ำนมในร่างกายผู้หญิงก็คือ  “ต่อมน้ำนม”  ซึ่งตามธรรมชาติจะให้ติดตัวผู้หญิงมาคนละ   15-20 ต่อม ส่วนที่ขนาดใหญ่หรือเล็กนั้นมาจาก   ไขมันต่างหาก  เพราะฉะนั้น  ผู้หญิงทุกคนจึงมีต้นทุนในการสร้างน้ำนมมาเท่า ๆ กัน ส่วนปริมาณน้ำนมที่ออกมามากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยดังนี้

1. ฮอร์โมน

นมเล็ก นมใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่, เต้าเล็ก เต้าใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่

ในช่วงที่แม่คลอดทารกน้อยแล้วจะมีฮอร์โมนโปรแลคตินซึ่งเป็นตัวช่วยในการผลิตน้ำนม คุณแม่ที่คลอดแล้วไม่เครียดไม่กังวลใจพร้อมที่จะให้นมลูกได้ ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะทำงานได้ดีส่งผลให้ผลิตน้ำนมได้มาก แต่ถ้าคุณแม่เครียดกังวลใจ ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้การผลิตน้ำนมน้อยลงด้วยคะ

2. การดูดของเจ้าตัวน้อย

นมเล็ก นมใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่, เต้าเล็ก เต้าใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่

Advertisement

การดูดของลูกจะเข้าช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมทำงานได้ดี จริงอยู่ที่ผู้หญิงมีต่อมน้ำนม 15-20 ต่อมพอ ๆ กัน แต่หากคุณแม่คนไหนให้ลูกดูดกระตุ้นเร็ว คือ1-2 ชั่วโมงแรก จะช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมทำงานได้เยอะ เมื่อต่อมน้ำนมทำงานได้เยอะปริมาณน้ำนมที่ออกมาก็เยอะตามไปด้วย ช่วงนี้จึงช่วงที่เหมาะต่อการเริ่มต้นกระบวนการสร้างน้ำนมมากที่สุด

แต่ถ้าคุณแม่คนไหนเริ่มให้ลูกดูดนมช้า อาจจะหลังคลอดไปแล้ว 2-3 วัน การทำงานของต่อมน้ำนมจะลดลงคะ เพราะเจ้าตัวน้อยไม่ได้ดูดกระตุ้นและช่วยในการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต่อมน้ำนมอาจทำงานน้อยลง ปริมาณน้ำนมจึงน้อยลงตามไปด้วย ยิ่งในเด็กที่คุณแม่เลี้ยงควบคู่ไปกับนมผสมด้วยแล้ว จะทำให้ปริมาณน้ำนมของแม่ยิ่งน้อยลงและแห้งไปในที่สุดค่ะ

บทความแนะนำ  ทำไมเด็กแรกเกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด?

3. ผ่าตัดคลอดอาจทำให้น้ำนมน้อย

นมเล็ก นมใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่, เต้าเล็ก เต้าใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการผ่าตัดคลอดทำให้แผลหลังการผ่าตัดเจ็บกว่าคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติ  การฟื้นตัวช้ากว่าส่งผลให้คุณแม่บางคนอาจเจ็บแผล เครียด เหนื่อย เพลีย ต้องการพักผ่อนแล้วไม่สามารถให้นมลูกได้ในทันที ฉะนั้นจึงทำให้น้ำนมถูกสร้างได้น้อยค่ะ แล้วถ้าคุณแม่ยิ่งพักฟื้นนานเท่าไร เจ้าตัวเล็กก็จะพลาดโอกาสที่จะดูดนมและทำให้นมคุณแม่ลดน้อยลงและแห้งไปในที่สุด

คุณค่าของนมแม่

นมเล็ก นมใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่, เต้าเล็ก เต้าใหญ่ ปริมาณน้ำนมแม่

การให้ลูกเริ่มดูดนมตั้งแต่ช่วง 1-2 ชั่วโมงแรก นอกจากจะทำให้กระบวนการสร้างน้ำนมแม่เริ่มต้นขึ้น ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือในช่วง 2-3 วันแรกนี้น้ำนมของคุณแม่มีคุณค่ามากค่ะหรือที่เรียกว่าน้ำนมเหลือง ซึ่งน้ำนมเหลืองจะมีปริมาณไม่มากเพียง 1 ออนซ์ต่อวัน แต่เพียงพอสำหรับเด็กแรกเกิด  น้ำนมเหลืองจะอุดมไปด้วยภูมิคุ้มกัน ซึ่งในเด็กทารกแรกเกิดภูมิคุ้มกันจะน้อยมาก

น้ำนมเหลืองจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันพวกเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ไม่ให้เข้าสู่ทางเดินอาหาร กระเพาะ ลำไส้  หลังจาก 2-3 วันไปแล้วน้ำนมจะกลับเป็นสีขาวใสปกติ แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณค่าจะลดลงนะคะ เพียงแต่น้ำนมแม่จะปรับให้เหมาะกับความต้องการของเจ้าตัวเล็กเท่านั้นเอง  นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยไขมันที่นมผงไม่สามารถทำได้ เอนไซม์ที่ว่าสำคัญคือเมื่อย่อยไขมันแล้วจะทำให้สมองลูกที่กำลังเติบโตนำไขมันจากนมไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สมองน้อยๆ สามารถพัฒนาเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

บทความแนะนำ  น้ำนมเหลืองสุดยอดภูมิต้านทานจากแม่สู่ลูก

คุณหมอฝากบอก : เคล็ดลับการสร้างน้ำนม

Thai Spicy Mixed Vegetable Soup

มีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งยืนยันได้ว่าการรับประทานอาหารของคุณแม่มีผลโดยตรงกับการผลิตน้ำนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบว่าอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงเลียง ยำหัวปลี ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น

การรับประทานยาที่ช่วยขับน้ำนมนั้น มีความจำเป็นน้อยและไม่ควรซื้อมารับประทานเอง ยกเว้นในบางกรณีซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอนะคะ

สบายใจกันแล้วนะคะ  เต้าเล็ก เต้าใหญ่ไม่มีปัญหาสำหรับการให้นมทารกน้อย เพราะส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม คือ  ต่อมน้ำนม ที่ธรรมชาติให้มาเท่า ๆ กัน คือ 15 – 20 ต่อม  อย่างนี้ต้องมาดูปัจจัยอื่น ๆที่จะทำให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้นและเพียงพอสำหรับทารกน้อยเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมแม่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.si.mahidol.ac.th

https://www.jr-rsu.net

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดอมเพอริโดน : ปลอดภัยแน่หรือที่จะใช้เพิ่มนมแม่

เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เต้าใหญ่ เต้าเล็ก มีผลต่อนมแม่หรือไม่
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว