X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79

บทความ 10 นาที
การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79

ลูกน้อยของเราแตกต่างจากผู้ใหญ่  การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก ของเด็กนอกจากจะเป็นการเฝ้าระวังแล้ว  พ่อแม่ก็จะได้รับคำแนะนำไปด้วยว่า  ลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร  พ่อแม่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร  หรือเรื่องของการเลี้ยงดูลูกว่า  พัฒนาการแบบนี้  พฤติกรรม และพื้นอารมณ์แบบนี้ปกติหรือเปล่า  หากละเลยไม่พาลูกไปตรวจอาจทำให้ลูกได้รับการช่วยเหลือล่าช้า  จากโรคที่รักษาหรือช่วยบรรเทาเบาบางได้  อาจกลายเป็นโรคที่หมดโอกาสรักษาและกลายเป็นปัญหาของลูกน้อยไปตลอดชีวิตได้ค่ะ

อะไรจะดีไปกว่าการเห็นลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัย และแข็งแรง การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคต่าง ๆ กับลูกได้นั้น เพราะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ได้ดีในแต่ละย่างก้าวของชีวิต

สร้างเกราะป้องกันด้วย “วัคซีน”

การฉีดวัคซีนของเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กเพื่อป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งวัคซีนในแต่ละชนิดนั้นสร้างมาจากไวรัส หรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์ จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว ซึ่งวัคซีนเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา และสามารถป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

การนัดตรวจสุขภาพลูกและทำวัคซีนครั้งแรก

กำหนดการฉีดวัคซีนของเด็กในวัยต่าง ๆ

Advertisement

การฉีดวัคซีนของเด็กนั้นจะต้องให้ตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ โดยสำนักโรคติดต่อ มีการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนได้ฟรีสำหรับเด็กทุกคน จำนวน 9 ชนิด ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้ถึง 11 โรค คือ วัคซีนวัณโรค หรือ วัคซีนบีซีจี วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี วัคซีนโรคคอตีบ วัคซีนโรคไอกรน วัคซีนโรคบาดทะยัก วัคซีนโรคโปลิโอ ที่มีทั้งแบบชนิดรับประทาน และชนิดฉีด วัคซีนโรคหัด วัคซีนโรคหัดเยอรมัน วัคซีนโรคคางทูม วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี และวัคซีนโรคเอชพีวี

ช่วงระยะการนัดตรวจตามอายุของเด็ก

1 เดือน > 2 เดือน > 4 เดือน > 6 เดือน > 9 เดือน > 12 เดือน > 15 เดือน > 18 เดือน > 2 ขวบ > หลัง 2 ขวบขึ้นไป

หลังจาก 2 ขวบขึ้นไป คุณหมอแนะนำให้ตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อความมั่นใจ ได้รับการประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการ และหากลูกน้อยเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติ  จะสามารถรักษาหรือช่วยเหลือได้ทันท่วงที

การนัดตรวจสุขภาพลูกและทำวัคซีนครั้งแรก

Checklist 9 ข้อ : เมื่อตรวจร่างกายเด็ก ไม่ควรพลาด!

  1. การตรวจร่างกายเด็กทั่วไป และการเจริญเติบโต เช่น สัญญาณชีพ  ได้แก่อุณหภูมิร่างกาย  ความดันโลหิต  ชีพจร  การหายใจ การเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนัก  ส่วนสูง  และรอบศีรษะของทารกในช่วง 2 ปีแรก  เนื่องจากเด็กมีการเจริญเติบโต และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  2. ประเมินภาวะโภชนาการ สามารถตรวจได้ทั้งจากการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโต สัดส่วนร่างกาย คุณหมอจะซักประวัติ เรื่องการรับประทานอาหารของลูกน้อย ว่าเพียงพอหรือไม่ และอาจจะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อช่วยในการประเมิน และให้การรักษา
  3. ประเมินพัฒนาการด้านพฤติกรรม และอารมณ์ เนื่องจากพฤติกรรม และอารมณ์ของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย  คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยได้รับการประเมินจากคุณหมอ  หากลูกน้อยมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า  หรือมีปัญหาในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง  การได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ (ก่อนช่วงอายุ 3 – 6 ขวบ) ซึ่งสมองกำลังพัฒนาเต็มที่ จะสามารถทำการรักษา และช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้เทียบเท่า หรือใกล้เคียงเด็กปกติได้ดีกว่า
  4. ตรวจสุขภาพในช่องปาก และฟัน ลูกน้อยเพียง 1 ขวบ หรือถ้าเริ่มมีฟันซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถพาไปหาทันตแพทย์สำหรับเด็กได้แล้ว เนื่องจากเด็กในวัยนี้ จะเริ่มมีฟันขึ้น และสามารถเคี้ยวอาหารด้วยตัวเองได้  การพาไปพบทันตแพทย์  คุณพ่อคุณแม่จะได้รับคำแนะนำดี ๆ ในการดูแลสุขภาพปาก และฟันรวมถึงป้องกันปัญหาฟันผุของลูกน้อยได้ด้วย
  5. ตรวจคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน การตรวจคัดกรองทั้งสองภาวะนี้ ควรตรวจตั้งแต่แรกเกิด (ในช่วง 1 – 2 เดือนแรก)  เนื่องจากภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ และภาวะพร่องเอนไซม์  หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงแรกเกิด  จะทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าตลอดชีวิต  ซึ่งถือเป็นการพลาดโอกาสที่น่าเสียดายมาก
  6. ตรวจคัดกรองภาวะซีด หรือภาวะการขาดธาตุเหล็ก เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ในช่วงวัย 6 – 9 เดือน  ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต้องได้รับอาหารอื่นนอกเหนือจากนม และต้องมีการปรับตัวในการกินอาหาร จึงทำให้มีโอกาสได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือเหมาะสม  และอาจขาดธาตุเหล็กซึ่งทำให้เกิดภาวะซีดได้
  7. ตรวจการได้ยิน เด็กควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากการได้ยินสัมพันธ์กับการพูด หากเด็กบกพร่องในการได้ยิน จะส่งผลให้มีปัญหาไม่พูด หรือพูดช้าตามไปด้วย  หากหมอตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ  เด็กจะได้ใส่เครื่องช่วยฟัง หรือมีการแก้ไขด้วยวิธีการอื่น ๆ ให้เขาสามารถพูดได้เหมือน หรือใกล้เคียงกับเด็กปกติ
  8. ตรวจสายตา เด็กควรได้รับการตรวจสายตาก่อนเข้าโรงเรียนหรือประมาณ 4 – 5 ขวบ  เนื่องจากเป็นวัยที่เด็กเริ่มให้ความร่วมมือในการตรวจแล้ว  และเพื่อให้เด็กมีสายตาที่ดี  พร้อมสำหรับการเรียนรู้ให้ทันเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน หากเด็กมีปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียง โดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขก่อนช่วงนี้ อาจเกิดปัญหา “ตาขี้เกียจ” ส่งผลให้สายตาพิการตลอดชีวิตได้ นอกจากนี้ โรคทางสายตาอย่าง “มะเร็งจอประสาทตา” ก็เป็นโรคที่สามารถตรวจพบและอาจรักษาไม่ให้โรคลุกลามได้ในช่วงวัยทารก
  9. ตรวจปัสสาวะ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยตรวจปัสสาวะสักครั้งเมื่ออายุ 4 ขวบ  เพื่อคัดกรองโรคไตตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่แสดงอาการป่วยในวัยเด็ก  แต่ส่งผลระยะยาวกับลูก

การตรวจร่างกายเด็ก : เด็กยิ่งเสี่ยงยิ่งต้องตรวจ

อีกกรณีที่คุณหมอแนะนำให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ  คือ กลุ่มเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง  เช่น  ในครอบครัวมีประวัติผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง  เบาหวาน  หรือ ความดัน  ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพ และอาจจะต้องมีการตรวจเลือดและร่างกายอย่างละเอียดเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพของผู้ใหญ่ หากตัวเด็กเองมีภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แม้ว่าจะไม่ได้มีการกำหนดช่วงอายุที่เหมาะสมในการตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดแต่ควรปรึกษาคุณหมอเป็นระยะ โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ลูกจะเข้าสู่วัยรุ่น

เด็กกลุ่มเสี่ยงอีกกลุ่มหนึ่งคือ เด็กที่ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเร็ว หรือช้ากว่าเกณฑ์ เช่น เด็กผู้หญิงมีเต้านมตั้งแต่ 8 ขวบ  หรือเด็กผู้ชายอายุประมาณ 13 – 14 ปี  แต่เสียงยังไม่แตก  ยังไม่ฝันเปียก  หรือยังไม่มีขนบริเวณหัวหน่าว และรักแร้  หากลูกมีลักษณะอาการเช่นนี้ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา และตรวจอายุกระดูกด้วยการเอ็กซเรย์

การนัดตรวจสุขภาพลูกและทำวัคซีนครั้งแรก

ต้องฉีดวัคซีนอะไรในแต่ละช่วงเดือน

อายุ วัคซีนหลัก วัคซีนเสริม
แรกเกิด – วัคซีนป้องกันวัณโรค บีซีจี (BCG)

– วัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี เข็มที่ 1 (HBV 1)

1 เดือน – วัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี เข็มที่ 2 (HBV 2)
2 เดือน – วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ เข็มที่ 1 (DTwP-HB1)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดกิน ครั้งที่ 1 (OPV 1 หรือ IPV 1)

– วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 1 (DTaP 1)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 1 (IPV 1)

– วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 1 influenza type B (Hib 1)

– วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต เข็ม 1 (PCV 1)

– วัคซีนโรต้า เข็ม 1 (Rota 1)

4 เดือน – วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ เข็มที่ 2 (DTwP-HB2)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดกิน ครั้งที่ 2 (OPV 1 หรือ IPV 1)

– วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรนชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 2 (DTaP 2)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 2 (IPV 2)

– วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 2 influenza type B (Hib 2)

– วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต เข็ม 2 (PCV 2)

– วัคซีนโรต้า เข็ม 2 (Rota 2)

6 เดือน – วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ เข็มที่ 3 (DTwP-HB3)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดกิน ครั้งที่ 3 (OPV 3)

– วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ เข็มที่ 3 (DTaP 3)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็ม 3 (IPV 3)

– วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 3 influenza type B (Hib 3)

– วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต เข็ม 3 (PCV 3)

– วัคซีนโรต้า เข็ม 3 (Rota 3)

– วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ปีละครั้งช่วงอายุ 6 เดือน-18 ปี เน้นช่วงอายุ 6-24 เดือน ปีแรกฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์

9 – 12 เดือน – วัคซีนป้องกันหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม เข็มที่ 1 (MMR 1) – วัคซีนไข้สมองอักเสบ เจ อี (Live JE) เข็มที่ 1 และ 2
9 – 18 เดือน – วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจ อี เข็มที่ 1 และ 2 (ฉีดห่างกัน 1-4 สัปดาห์) (MBV JE 1, JE 2 หรือ Live JE 1) – วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจ อี เข็มที่  1 (Live JE 1) เริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา
12 – 18 เดือน – วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ (HAV) ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน

– วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ครั้งที่ 1 (VZV 1) หรือ วัคซีนรวมหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, อีสุกอีใส เข็ม 1 (MMRV 1)

– วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ชนิด คอนจูเกต เข็ม 4 (PCV 4)

18 เดือน – วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ กระตุ้น ครั้งที่ 1 (DTwP กระตุ้น 1)(OPV กระตุ้น 1)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดกินกระตุ้น ครั้งที่ 1

– วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรนชนิดไร้เซลล์ กระตุ้น เข็มที่ 1  (DTaP กระตุ้น 1) วัคซีนป้องกันเชื้อ เข็ม 4 H. influenza type B  (Hib 4)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็มที่ 4 (IPV 4)

2 – 2.5 ปี – วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจ อี เข็มที่ 3 (MBV JE 3 หรือ Live JE 2) – วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจ อี เข็ม 2(JE 2)
2.5 ปี – วัคซีนป้องกันหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม เข็มที่ 2 (MMR 2)
4 ปี – วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ กระตุ้น เข็มที่ 2 (DTwP กระตุ้น 2)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดกิน กระตุ้น ครั้งที่ 2 (OPV กระตุ้น 2)

– วัคซีนป้องกันคอตีบ, บาดทะยัก, ไอกรน ชนิดไร้เซลล์ กระตุ้น เข็มที่ 2(DTaP กระตุ้น 2)

– วัคซีนโปลิโอ ชนิดฉีด เข็มที่ 5 (IPV 5)

– วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ครั้งที่ 2 (VZV 2) หรือ วัคซีนรวมหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม, อีสุกอีใส เข็ม 2(MMRV 2)

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา

หลังจากฉีดวัคซีนทารกหรือเด็กบางคนอาจมีรอยแดงหรือบวมบริเวณรอบๆ บริเวณที่ฉีด มีไข้ หรืออาจมีอาการบางอย่างจากการสร้างภูมิต้านทานบ้างเล็กน้อย แต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด หากคุณพ่อคุณแม่วิตกกังวลต่ออาการที่เกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

ที่มา : รพ.เปาโล , รพ.เด็กสินแพทย์ , รพ.เวชธานี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วัคซีนเด็ก ควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา

ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • การนัดตรวจสุขภาพลูก และทำวัคซีนครั้งแรก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 79
แชร์ :
  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

  • ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

    ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

  • เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
    บทความจากพันธมิตร

    เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

  • ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

    ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ! อายุ 11-20 ปี Walk-in ได้ถึง 30 เม.ย. 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว