X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?

บทความ 5 นาที
โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) คืออะไร เกิดขึ้นจากอะไร รักษายังไง ลูกเรามีความเสี่ยงจะเป็นมั้ย เราขอพาคุณพ่อคุณแม่ มาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye)

ดวงตามีอยู่คู่เดียว ยิ่งต้องรักษาให้ดี ๆ โดยเฉพาะดวงตาของเด็กน้อย ถ้าเกิดความผิดปกติอะไร ผู้ปกครองควรสังเกต และรีบเข้ารับการรักษา ก่อนจะเป็นอะไรร้ายแรง วันนี้เราเลยจะพาคุณพ่อคุณแม่ มาทำความรู้จัก กับ โรคตาขี้เกียจในเด็ก หรือ Lazy Eye กัน

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) คืออะไร ?

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye คืออาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ผิดปกติ มองเห็นได้ไม่ดี หรือไม่ชัดเท่าตาอีกข้างหนึ่ง หลังจากนั้น ร่างกายจะเลือกใช้ตาข้างที่มองเห็นได้ชัดกว่า ทำให้การพัฒนาประสาทด้านการมองเห็น ถูกกระตุ้นแค่ข้างเดียว หรือเกิดจากตามองเห็นไม่ชัดทั้ง 2 ข้าง ทำให้สมองพัฒนาประสาทการรับรู้ส่วนอื่นแทน ตาจึงมัวทั้ง 2 ข้าง

สำหรับคนปกติ พัฒนาการด้านการมองเห็น จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 3 เดือน และค่อย ๆ พัฒนา จนถึงอายุ 9 ปี ดังนั้น โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ควรรักษาก่อนเด็กจะอายุครบ 9 ขวบ ไม่เช่นนั้น อาจจะรักษาไม่ได้อีก

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) เกิดจากอะไร ?

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะความผิดปกติ ในการมองเห็น จากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้

  • มีสิ่งขวางกั้น ทำให้ตามองภาพไม่ได้ (Deprivative amblyopia) เช่น หนังตาตก กระจกตาขุ่น ต้อกระจก หรือ มีเลือดออกในตา สำหรับโรคกลุ่มนี้ จะทำให้สมองส่วนการมองเห็น ไม่ได้รับการพัฒนาตามวัย
  • ตาเข (Strabismic amblyopia) ทำให้สมองเลือกรับภาพ จากตาเพียงข้างเดียว เพื่อไม่ให้เกิดภาพซ้อน และถ้าสมองเลือกรับภาพจากตาใดตาหนึ่งซ้ำ ๆ เพียงข้างเดียว ตาอีกข้าง ก็อาจจะเกิดเป็นตาขี้เกียจได้
  • สายตาสั้น ยาว หรือเอียงต่างกันในตา 2 ข้าง (Anisometropic amblyopia) เมื่อสายตาสั้น ยาว หรือ เอียงมาก ในตาข้างเดียว ตาข้างนั้น จะเห็นภาพไม่ชัด ถ้าไม่ได้ใส่แว่น ส่วยตาอีกข้างหนึ่ง ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน สมองก็จะเลือกให้เรามองจากตาข้างที่เห็นชัดข้างเดียว จึงทำให้ตาอีกข้างไม่ได้รับการพัฒนา จนเป็นตาขี้เกียจ
  • สายตาสั้น ยาว หรือเอียงมากในตาทั้ง 2 ข้าง (Isoametrophic amblyopia) โดยที่ไม่ได้ใส่แว่น ทำให้ไม่มีตาข้างใด เห็นภาพชัดเลย สมองส่วนการมองเห็น จึงได้รับการกระตุ้นน้อย กรณีนี้ อาจทำให้เป็น โรคตาขี้เกียจ ในตาทั้ง 2 ข้างได้

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็นโรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) ?

เรื่องนี้ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย ว่ามีความผิดปกติ ในด้านการมองเห็นหรือไม่ เช่น หนังตาตก มีจุดขาวที่กระจกตา ตาเข ลูกชอบหยีตามอง เอียงคอมอง ต้องเข้าไปมองใกล้ ๆ หรือแสดงอาการอื่น ๆ ที่ทำให้เห็นว่า ตามองไม่ชัด

ถ้าหากลูกมีอาการผิดปกติ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้ รักษาได้ทันท่วงที เพราะโรคนี้ ควรรักษาก่อนเด็กอายุครบ 9 ขวบ

สำหรับเด็กอายุ 2-3 เดือน คุณแม่ อาจจะสังเกต ว่าเด็กจ้องมองคุณแม่ เวลาที่ให้นมได้หรือไม่ สายตาเด็ก จะใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มาก เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปี ดังนั้น ควรทดสอบสายตาเด็ก ด้วยการให้มองภาพขนาดต่าง ๆ เพื่อวัดระดับการมองเห็น และพาเด็กไปแพทย์เสมอ

แต่ถ้าหากลักษณะภายนอก ไม่มีความผิดปกติอะไรเลย คุณพ่อคุณแม่ อาจจะลองทดสอบการมองเห็นของลูก ด้วยการปิดตาทีละข้าง แล้วเอาของเล่นมาหลอกล่อ หากตาข้างใดของลูก ไม่มีปฏิกิริยาต่อของเล่น แสดงว่าตาข้างนั้นของลูก อาจจะมองไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัดเจน อาจจะมีความเสี่ยง เป็นโรคตาขี้เกียจได้

โรคตาขี้เกียจในเด็กรักษายังไง

วิธีการรักษา โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye)

การรักษาโรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ควรรักษาตั้งแต่ ตอนที่ลูกยังอายุน้อย ๆ จะมีโอกาสกลับมามองเห็นเป็นปกติ ได้มากกว่าการรักษาตอนโต หรืออายุเกิน 9 ขวบแล้ว ซึ่งการรักษานั้น สามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะพิจารณา และเลือกวิธีการรักษา ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย

  • กระตุ้นให้ตาหายขี้เกียจ : แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ วิธีการกระตุ้นให้ตาหายขี้เกียจ บังคับสมองให้ใช้สายตาข้างที่ขี้เกียจบ้าง เช่น การปิดตา หรือการใช้ยาหยอดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาพร่ามัว และให้ตาอีกข้างที่ขี้เกียจ ได้กลับมาทำงาน จนกว่าจะใช้งานได้ปกติ และสามารถใช้งานร่วมกับอีกข้างพร้อมกัน มองเห็นเป็นภาพเดียวกัน ได้ปกติ
  • ใส่แว่น : สำหรับเด็กที่มีสายตาสั้นยาวไม่เท่ากันมาก ๆ ทั้งสองข้าง ควรให้เด็กใส่แว่น เพื่อให้ตาทั้งสองข้าง ทำงานและมองเห็นชัดเท่ากัน ป้องกันไม่ให้ตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำงานมากจนเกินไป
  • ผ่าตัด : ในกรณีที่เด็กมีกล้ามเนื้้อลูกตาเข เป็นต้อกระจก หนังตาตก ซึ่งเป็นสาเหตุ ของโรคตาขี้เกียจ แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัด เพื่อให้ตาสามารถมองเห็นได้ อย่างเป็นปกติ

โรคตาขี้เกียจในเด็กรักษายังไง

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?

คนท้องกับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผลต่อร่างกายแม่และลูก!

วิธีดูแลตัวเองของคนท้อง ให้สวย ดูดี ตามแบบฉบับคุณแม่ลิเดีย

ที่มา : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

PP.

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?
แชร์ :
  • การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

    การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

  • ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes)

    ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes)

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

    การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

  • ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes)

    ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นโรคตาขี้เกียจ (Lazy eyes)

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ