โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ทุกวันนี้เรามักจะเป็นคนใกล้ตัว ต้องประสบพบเจอกับโรคมะเร็งด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน เพราะเราทุกคนล้วนมีเชื้อมะเร็งร้ายแฝงอยู่ในตัว จึงเกิดเป็น วันมะเร็งโลก ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีขึ้น
วันมะเร็งโลก มีที่มาอย่างไร?
ในปี ค.ศ.2000 ได้มีการกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุก ๆ ปี เป็นวันมะเร็งโลก ณ งานประชุม World Summit Against Cancer ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศษ โดยกำหนดขึ้นเพื่อมีเป้าหมาย ให้ทุก ๆ ประเทศรวมพลังกันเพื่อช่วยผู้คนหลายล้านคนจากโรคมะเร็ง โดยจะเป็นการรณรงค์ ให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่าง ๆ และช่วยกันผลักดันให้รัฐบาล หรือหน่วยงานจากภาครัฐของแต่ละประเทศ หันมาสนใจปัญหาเรื่องโรคมะเร็งให้ดีขึ้น
สถิติโรคมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญทั่วโลก จากสถิติพบว่า ในปี 1990 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 8.1 ล้านคน ในแต่ละปี และในปี 2018 มีตัวเขผู้ป่วยมากขึ้นถึง 18.1 ล้านคนต่อปี และยังคงมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยมะเร็งที่พบมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้มนม และมะเร็งลำไส้ แถมยังมีคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 อาจมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง มากกว่า 13 ล้านคน ต่อปี
โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในประชากรทั่วโลก และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุไว้ว่า ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือประมาณ 122,757 คน ต่อปี และมีรายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 221 คน ต่อวัน หรือ ประมาณ 80,665 ต่อปี และยังคงเป็นตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี
โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า ประเทศไทย พบมะเร็งในประชากรเพศชาย ประมาณ 170 คน ต่อประชากร 1 แสน คน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 15 ในเอเชีย โดยมะเร็งที่พบมากในเพทศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ตามลำดับ
สถิติมะเร็งในเพศหญิงของประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยกว่า 150 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งอยู่ในอันดับ 18 ของเอเชีย และมะเร็งที่พบมากที่สุดได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ตามลำดับ
โรคมะเร็ง หากรู้ตัวเร็วสามารถรักษาได้
โรคมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายก็สามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะแรก ๆ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงช่วยให้เราสามารถรู้ตัวทันได้ โดยการตรวจคัดกรองสามารถทำได้ตามช่วงวัย ดังนี้
- ทำแมมโมแกรม (mammogram) สามารถตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งต้านมได้ โดยผู้ที่ควรตรวจ คือผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป และตรวจในทุก ๆ ปี หากมีอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป
- เอกซ์เรย์ปอด (X-ray) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปอด ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ควบคู่ไปกับการตรวจร่างกาย เนื่องจากการตรวจเอกซ์เรย์ปอด สามารถตรวจคัดกรองวัณโรคปอดได้ด้วย
- ตรวจแปปสเมียร์และไว้รัส HPV เป็นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรตรวจทุก ๆ 5 ปี
- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้หญิงและผู้ชายควรตรวจเมื่อมีอายุ 45 ปี ขึ้นไป
- การเจาะเลือดวัดค่า PSA เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยควรเริ่มทำการตรวจตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
มะเร็งร้าย รู้ทันป้องกันได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเราควรออกกำลังกายวันละ 30-45 นาที และทำเป็นประจำ 5 วัน ต่อสัปดาห์ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้หลายโรค เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
- ลดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล เนื่องจากการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอลมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียต่อตับ
- หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เราควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย อย่ามองข้ามอาการเจ็บปวด หรือ ความผิดปกติของร่างกายต่าง ๆ เช่น พบก้อนเนื้อผิดปกติ อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
- หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้เรารู้ถึงความผิดปกติของร่างกายได้ นอกเหนือจากโรคมะเร็งแล้ว การตรวจสุขภาพจะช่วยให้เรารู้ถึงข้อมูลทางสุขภาพของเราต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย เพราะสารเคมี เป็นส่วนสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้ ไม่ว่าจะเป็นสารรับสารเคมีผ่านการสัมผัส หรือ การสูดดม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ของมัน ของทอด หรือ อาหารที่มีรสชาติเค็ม เป็นต้น
โรคมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากตรวจพบได้ไว ในระยะแรก ๆ จะสามารถรักษาเพื่อประคองอาการ และมีโอกาสรักษาหายได้ โดยเบื้องต้นเราสามารถสังเกตอาการ และความผิดปกติของตนเอง หากพบสิ่งผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการคลำพบก้อน หรือ อาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ
ที่มาข้อมูล bumrungrad bangkokbiznewspaolohospital
บทความที่น่าสนใจ
โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!
10 สัญญาณโรคมะเร็งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ โรคมะเร็งที่สาว ๆ ต้องระวัง
อาหารที่มะเร็งชอบ การเลือกอาหารมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งหรือไม่?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!