X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายที่คุณผู้ชายต้องระวัง รู้ไว้ปลอดภัยแน่

บทความ 5 นาที
มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายที่คุณผู้ชายต้องระวัง รู้ไว้ปลอดภัยแน่

“มะเร็งต่อมลูกหมาก” ถือเป็นโรคมะเร็งอันดับที่ 2 ที่พบได้มากที่สุดในเพศชาย และเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุด มะเร็งร้ายอาจฟังดูน่ากลัว แต่อย่ากังวลไป หากรู้เท่าทัน ก็สามารถป้องกัน และรักษาได้ทันได้ บทความนี้จะพาไปดู โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร

 

ทำไมต่อมลูกหมากจึงสำคัญ?

ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) เป็นหนึ่งในต่อมไทรอยด์ของผู้ชาย อยู่ในส่วนลึก ที่บริเวณโคนอวัยวะเพศในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการสร้างน้ำเมือก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ เป็นตัวช่วยในการหล่อเลี้ยงน้ำอสุจิ และช่วยปกป้องดีเอ็นเอของอสุจิ ต่อมลูกหมาก จะอยู่ค่อนมาทางด้านล่าง ระหว่างกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่มีบทบาทในระบบสืบพันธ์ ของเพศชาย

มะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก?

มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากเซลล์ของต่อมลูกหมาก มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะที่ผิดปกติ โดยมีการเจริญเติบโต และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ในปริมาณมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดปัสสาวะ และเซลล์ที่เติบโตอย่างผิดปกติ ก็มีการไปทำลายเซลล์ปกติในต่อมลูกหมาก และเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ อาจย้ายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียง ในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ ปอด กระดูก เป็นต้น ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น เกิดการเสียหาย และถูกทำลายได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย

อ่านเพิ่มเติม โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!

 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • อายุมาก ผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น โดยมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่ มักเกิดในเพศชาย อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัว หากคนในครอบครัวมีประวัติในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ว่าจะเป็นพ่อ พี่ขาย น้องชาย หรือญาติใกล้เคียง มีประวัติเคยเป็นมะเร็ง อาจมีผลต่อความเสี่ยงของมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน จากงานวิจัยพบว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมีความเชื่อมโยงกับภาวะโรคอ้วน และยังเพิ่มความรุนแรงของมะเร็ง ที่ทำให้เกิดความยากต่อการรักษา

 

อาการของโรค “มะเร็งต่อมลูกหมาก”

มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกจะยังไม่แสดงอาการ จนกว่าเนื้องอกจะทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่โตขึ้น หรือ เมื่อมีมะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งที่เติบโตนี้ จะทำให้เกิดแรงกดทับต่อท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ ดังนี้

  • ปัสสาวะยาก ปัสสาวะลำบาก
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะราดเท้า
  • ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน
  • รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ หรือ หลั่งน้ำอสุจิ
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ หรือ อสุจิ

อาการอื่น ๆ ของมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะรุนแรง

  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้า
  • มีอาการบวมที่ร่างกายส่วนล่าง
  • ขาอ่อน ขาล้า ขยับขาลำบาก
  • มีอาการท้องผูก
  • เจ็บบริเวณเชิงกราน หรือ เจ็บบริเวณขาส่วนล่าง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก จะต้องพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ความเร็วของการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงของการรักษา และสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งการรักษาให้หายขาดอาจทำได้ยาก โดยส่วนใหญ่มักเป้นการประคองอาการไม่ให้รุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

 

  • การเฝ้าระวังโรค

การตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาโดยทันที แพทย์จะทำการเฝ้าระวัง และคอยให้ผู้ป่วยทำการตรวจเลือด ตรวจทางทวารหนัก และตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อเฝ้าดูอาการ และพัฒนาการของเซลล์มะเร็ง

 

  • การฉายรังสีบำบัด

การรักษาด้วยการฉายรังสีบำบัด เป็นการรักษาด้วยรังสีพลังงานสูง ที่จะเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถทำได้ 2 ทาง คือ ฉายรังสีจากภายนอก และ ฉายรังสีจากภายในร่างกาย วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็ง ที่เกิดเฉพาะแห่ง และมะเร็งที่เติบโตในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะช่วยลดการลุกลามของมะเร็ง และลดอาการต่าง ๆ 

 

  • ฮอร์โมนบำบัด

การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด เป็นการยับนั้งการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้มะเร็งต่อมลูกหมาก มีการเจริญเติบโตขึ้น การยับยั้งฮอร์โมน จะช่วยให้การเติบโตของมะเร็งช้าลง และทำให้เซลล์มะเร็งตาย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ จะใช้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่มะเร็งมีการพัฒนาขึ้นมาแล้ว

 

  • การผ่าตัดมะเร็ง

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นวิธีที่จะใช้รักษามะเร็ง ที่คาดว่าจะมีการแพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมากแล้ว โดยจะใช้วิธีผ่าเอาต่อมลูกหมากทั้งหมด เนื้อเยื่อโดยรอบ และต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออกไป ซึ่งการผ่าตัดอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งผลข้างเคียงอาจขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

 

  • การรักษาด้วยความเย็น

การใช้ความเย็นในการช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง เป็นการใช้เข็มเล็ก ๆ สอดเข้าไปที่ต่อมลูกหมาก ทางผนังทวารหนัก กระบวนการนี้จะช่วยให้เซลล์มะเร็ง และเนื้อเยื่อโดยรอบตายลงได้ ซึ่งการรักษาด้วยความเย็น จะใช้กับมะเร็งที่ไม่แพร่กระจายไปในส่วนอื่น ๆ โดยจะเป็นทางเลือกหนึ่ง เมื่อเคมีบำบัดไม่ได้ผล

 

  • การทำเคมีบำบัด

การทำเคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นการฉีดเข้าไปที่เส้นเลือดดำที่แขน หรือ เป็นยารับประทาน ซึ่งจะใช้ในมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่มีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายแล้ว และไม่สามารถใช้วิธีฮอร์โมนบำบัดได้ การทำเคมีบำบัดอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่จะควบคุมการเกิดมะเร็ง และอาการต่าง ๆ ของมะเร็งได้

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคมะเร็งระดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตผู้ชายไปไม่น้อย ดังนั้นควรหมั่นตรวจสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ในทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป รู้เท่าทัน ปลอดภัยกว่า

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง

มะเร็งกระเพาะอาหาร เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งกระเพาะอาหาร

มาสำรวจตัวเองกัน ว่าคุณมี “พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง” หรือไม่?

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคร้ายที่คุณผู้ชายต้องระวัง รู้ไว้ปลอดภัยแน่
แชร์ :
  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
    บทความจากพันธมิตร

    ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ