X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

บทความ 5 นาที
น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

น้ำคร่ำ เป็นของเหลวที่อยู่รอบตัวลูกน้อยของคุณในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย แล้วทำไมทารกถึงจะต้องอยู่ในถุงน้ำคร่ำ วันนี้เรามาหาคำตอบกันดีกว่าว่าความจริงแล้ว น้ำคร่ำ คืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ไปดูกัน

 

น้ำคร่ำ คืออะไร?

Amniotic fluid หรือน้ำคร่ำ คือถุงที่เกิดขึ้นในมดลูกของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยน้ำคร่ำนั้นจะมาเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโต และการพัฒนาการทางร่างกายต่าง ๆ ของทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ของแม่ นอกจากนี้น้ำคร่ำยังทำให้พวกเขาสามารถหายใจ กลืน และพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกได้อีกด้วย ซึ่งน้ำคร่ำนั้นจะถูกห่อหุ้มด้วยถุงน้ำคร่ำ หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ โดยถุงน้ำคร่ำนั้นจะประกอบไปด้วยเยื่อสองชั้น แอมเนียน (amnion) และคอเรียน (chorion) มีจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ที่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

 

น้ำคร่ำ

 

หน้าที่ของน้ำคร่ำคืออะไร?

ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ลูกน้อยของคุณก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำ ภายในมดลูกของคุณ โดยถุงน้ำคร่ำนั้นจะเริ่มก่อตัวในช่วงประมาณ 12 วันหลังจากที่คุณตั้งครรภ์ ซึ่งน้ำคร่ำมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ช่วยปกป้อง และห่อหุ้มทารกในครรภ์ โดยน้ำที่อยู่ภายในจะช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนเบาะ หรือโช้คอัพนั่นเอง
  • รักษาอุณหภูมิบริเวณรอบ ๆ ตัวทารกให้คงที่ และทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
  • ช่วยให้ปอดของทารกเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นจะหายใจผ่านของเหลว หรือน้ำคร่ำนั่นเอง
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของทารกพัฒนาการยิ่งขึ้น เพราะทารกจะกลืนของเหล่าเข้าไปขณะที่อยู่ในครรภ์
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกของพวกเขาพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายภายในน้ำคร่ำ
  • ป้องกันไม่ให้สายสะดือถูกบีบรัด เพราะถ้าหากมีการบีบรัดอาจส่งผลถึงการขนส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปยังทารก และทำให้เกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำส่วนใหญ่จะเป็นน้ำที่มาจากร่างกายของคุณแม่ และหลังจากตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์แล้ว น้ำคร่ำที่ทารกอยู่นั้นจะมาจากการปัสสาวะของทารกเอง โดยในน้ำคร่ำนั้นจะประกอบไปด้วยสารอาหาร ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น และแอนติบอดีที่มีส่วนช่วยให้การป้องกันการติดเชื้อนั่นเอง เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกว่า ภาวะน้ำเดิน นั้นน้ำคร่ำที่บรรจุอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำจะไหลออกมาทางปากมดลูก และช่องคลอด ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของการใกล้คลอดนั่นเอง

 

คุณแม่ควรมีปริมาณน้ำคร่ำมากแค่ไหน?

ปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์ของคุณแม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงประมาณสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ โดยจะมีปริมาณอยู่ที่ 1 ควอร์ต หรือประมาณ 946.353 มิลลิลิตร และหลังจากนั้นน้ำคร่ำจะเริ่มน้อยลง หรือที่เรียกกันว่า ท้องลด นั่นเอง แต่ในบางครั้งคุณก็อาจมีน้ำคร่ำน้อยเกินไป หรือมากเกินไป โดยการมีน้ำคร่ำน้อยจะเรียกว่า oligohydramnios และมีน้ำคร่ำในจำนวนมากจะเรียกว่า polyhydramnios ซึ่งปัญหาของน้ำคร่ำทั้งสองที่กล่าวมานั้นอาจทำให้เกิดปัญหากับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

น้ำคร่ำ

 

น้ำคร่ำ สีอะไร?

โดยปกติแล้วน้ำคร่ำนั้นจะเป็นสีเหลืองใส หรือสีใส แต่ในบางครั้งจะพบว่าภายในน้ำคร่ำนั้นจะถูกปนไปด้วยของเหลวที่มีลักษณะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาล ซึ่งนั่นคือการขับถ่ายครั้งแรกของทารกในครรภ์ที่มีการถ่ายของเสียออกมาครั้งแรก ที่เรียกว่า meconium แต่การทำงานของลำไส้ครั้งแรกของทารกจะเกิดขึ้นหลังจากการคลอดแล้ว หากทารกได้มีการขับถ่ายครั้งแรกภายในครรภ์แล้ว จะทำให้ทารกได้รับของเสียจากร่างกายของตนเองผ่านเข้าสู่ปอดโดยน้ำคร่ำอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจที่รุนแรง หรือที่เรียกว่า การสำลักเมโคเนียม โดยเฉพาะของเหลวที่มีความหนืดหรือมีความเข้มข้นมาก

 

การตรวจน้ำคร่ำ ทำให้ทราบถึงอะไรได้บ้าง?

การทดสอบที่เรียกว่า การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เป็นการตรวจหาโอกาสของการเกิดโรคทางพันธุกรรมของทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ อาทิ กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม (Edwards’ syndrome) และกลุ่มอาการพาทัว (Patau’s syndrome) เป็นต้น โดยการทดสอบนี้จะเป็นการนำเซลล์จากน้ำคร่ำมาทดสอบเพื่อหาอาการที่กล่าวมา แต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • การแท้งบุตร
  • การติดเชื้อ
  • ผลไม่ชัดเจน ต้องตรวจซ้ำอีกรอบ เพิ่มความเสี่ยงอีกรอบ

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อไปตรวจโรคต่าง ๆ นั้นจะดำเนินการหลังจากมีการตั้งครรภ์ไปแล้วไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ เนื่องจากอยู่ในระยะที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไร อันตรายไหม จะเจาะโดนลูกหรือเปล่า?

 

น้ำคร่ำ

 

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ของถุงน้ำคร่ำ

ถุงน้ำคร่ำนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เหมือนเป็นตัวกำหนดชีวิตของทารกในครรภ์เลยก็ว่าได้ ถ้าหากเกิดความผิดปกติที่ถุงน้ำคร่ำ หรือตัวน้ำคร่ำเองก็อาจส่งผลต่อทารกได้ โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นเกี่ยวกับน้ำคร่ำมีดังต่อไปนี้

  • ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป (Polyhydramnios) เป็นภาวะที่ไม่ต้องทำการรักษาหากอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่อาจจะต้องลดของเหลวในครรภ์ด้วยการเจาะน้ำคร่ำออก หรือให้ยาเพื่อลดปริมาณปัสสาวะที่ทารกผลิตออกมา
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกินไป (Oligohydramnios) สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสใดก็ได้ของการตั้งครรภ์ แต่ไตรมาสที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือช่วงของ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์นั้นจะพิการตั้งแต่กำเนิด สูญเสียทารกในครรภ์ หรือคลอดก่อนกำหนด
  • ภาวะเส้นเลือดอุดตันน้ำคร่ำ (Amniotic fluid embolism : AFE) เป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ สาเหตุของ AFE ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ปัจจุบันมีการประเมินว่า AFE เกิดขึ้นในหนึ่งกรณีสำหรับการตั้งครรภ์ทุก ๆ 8,000-30,000 ครั้ง
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) หรือการติดเชื้อภายในน้ำคร่ำ (IAI) มีอาการอักเสบเฉียบพลันของ amnion และ chorion ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อหุ้มของทารกในครรภ์ น้ำคร่ำ และรกที่ไหลจากช่องคลอดเข้าสู่มดลูก
  • น้ำคร่ำรั่ว (Leaking amniotic fluid) เป็นอาการที่พบได้ยาก คุณแม่จะต้องคอยสังเกตดี ๆ ว่าเป็นน้ำคร่ำหรือว่าปัสสาวะ เพราะโอกาสที่ท้องจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากน้ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอดนั้นไม่มีกลิ่น และไม่มีสี อาจเป็นอาการของน้ำคร่ำรั่วได้ ควรพบแพทย์ในทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

 

น้ำคร่ำ

 

หากน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดทำอย่างไรดี?

ถ้าถุงน้ำคร่ำมีการแตกก่อนกำหนด หรือแตกก่อนที่อายุครรภ์จะครอบ 37 สัปดาห์ นั้นจะเรียกว่า Premature rupture of membranes (PROM) หรือ ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด อาจส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือนำสิ่งใดเข้าไปในช่องคลอดเด็ดขาด เพราะอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ หากคุณแม่ท่านใดมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องของรั่วไหล หรือระดับของน้ำคร่ำในระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำความเข้าใจ และข้อปฏิบัติตัวต่าง ๆ หากเกิดขึ้นกับตนเอง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้ในเรื่องของน้ำคร่ำ เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และน่าทึ่งมากเลยใช่ไหมคะว่าจะมีประโยชน์ต่อทารกน้อยในครรภ์ของเรามากมายขนาดนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นกับน้ำคร่ำของเราได้อีก ยังไงก็ขอให้คุณแม่ระวังด้วยนะคะ ถ้าหากรู้สึกผิดปกติก็ขอให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำแตก แม่ท้องทำยังไงดี?

น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำยังไงดี? อันตรายต่อลูกในท้องไหม?

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับน้ำคร่ำ ได้ที่นี่!

น้ำคร่ำคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรเหรอคะ พอดีอยากรู้น่ะค่ะ

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร
แชร์ :
  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

  • นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

    นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

  • คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

    คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

  • นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

    นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

  • คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

    คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ