X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำแตก แม่ท้องทำยังไงดี ?

บทความ 5 นาที
ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำแตก แม่ท้องทำยังไงดี ?

ระวังไว้ ถุงน้ำคร่ำรั่ว สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน สังเกตได้จาก การที่คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะน้ำเดินก่อนคลอด เหมือนมีน้ำใส ๆ ไหลจากช่องคลอดลงหว่างขามากจนน่าตกใจ ทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาการนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในมดลูกไปถึงทารกได้ เรามาดูกันว่า อะไรคือปัจจัยทำให้เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วได้

 

ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด เกิดจากอะไร

ปกติแล้วภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว จะไม่ค่อยพบมากนัก แต่หากมีภาวะเช่นนี้ หรือที่เราเรียกว่า น้ำเดิน ก่อนคลอด หรือทางการแพทย์เรียกว่า PROM (Premature rupture of membranes) ซึ่งปกติแล้วจะเกิดตอน เจ็บครรภ์คลอด เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดตั้งแต่ 37 สัปดาห์ (ประมาณ 3% ) หรือถึงกำหนดคลอด (ประมาณ 10%X เท่านั้น หากเกิดมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์ นั่นคือสัญญาณอันตราย ที่บอกคุณแม่ท้องว่า กำลังมีภาวะครรภ์เสี่ยงแท้งบุตรหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 อาการผิดปกติของคนท้อง แค่เจออาการเดียวก็ต้องไป รพ. พบหมอทันที!

 

1. บริเวณปากมดลูกติดเชื้อ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา บริเวณปากช่องคลอดไปถึงปากมดลูกและเข้าไปยังโพรงมดลูก ซึ่งทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบจนเกิดแตกได้ง่าย

 

2. ตั้งครรภ์ฝาแฝด

ทางการแพทย์ระบุว่า การตั้งครรภ์แฝดไม่ใช่การตั้งครรภ์ปกติ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผนังมดลูกนั้นต้องรับน้ำหนักทารก 2 คนเป็นอย่างน้อย จึงเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดได้

 

 

Advertisement

3. แม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่

สารนิโคตินและสารพิษในบุหรี่คือตัวทำลายมดลูกอันดับต้น ๆ เลยค่ะ หากคุณแม่สูบบุหรี่ อาจทำให้มดลูกมีความอ่อนแอบวกกับสภาพร่างกายของคุณแม่ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งทำให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้ง่าย

 

4. มีโรคประจำตัวที่เคยผ่ามดลูกหรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกมาก่อน

เรียกว่าเป็นบาดแผลที่ทำให้เกิดรอยรั่วของถุงน้ำคร่ำได้ง่าย หากคุณแม่เคยผ่าตัดมดลูกหรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกบ่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ หรือหากตั้งครรภ์แล้ว หมั่นปรึกษาคุณหมอเช็ดอาการของมดลูกสม่ำเสมอ

  • เนื้องอกมดลูก
  • ตรวจพบปากมดลูกสั้น
  • ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • รกเกาะต่ำ
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • เลือดออกจากช่องคลอดบ่อย ๆ ช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้

 

ถุงน้ำคร่ำรั่ว

 

มาดูสัญญาณ และอาการถุงน้ำคร่ำรั่วว่าเป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่านี่คืออาการ “น้ำเดิน” ค่ะ เป็นอาการเดียวกับถุงน้ำคร่ำแตกจนไหลออกมา บางคนน้อย บางคนเยอะ แต่หากไหลมามากกว่าปกติแล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก่อนกำหนดคลอด เราจะทราบได้อย่างไรว่า นี่คือ ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว

 

  • หากอายุครรภ์แค่ 37 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น แล้วมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด ให้สันนิษฐานได้เลยค่ะว่า กำลังเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตก อาจจะคล้ายปัสสาวะรดกางเกงใน แต่คุณแม่ลองสังเกตให้ดีว่า นั่นไม่ใช่น้ำปัสสาวะ แล้วไปพบแพทย์ด่วน
  • เกิดภาวะตกขาวแทรกซ้อน หมายถึง มีการติดเชื้อจากตกขาวมาก่อน แล้วนิ่งนอนใจ เหล่าเชื้อราและแบคทีเรีย ก็ไปทำลายมดลูกจนอักเสบ ทำให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้

 

ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำคร่ำรั่ว

  • อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก เนื่องจากเจ้าเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ จะไปสร้างเอนไซม์กระตุ้นการบีบตัว หดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกเจ็บท้องน้อย หากเจ้าเชื้อโรคนี้เข้าสู่มดลูกแล้ว จะทำให้เกิดรูรั่วอันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ซึ่งอาจเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดและแท้งบุตรได้
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ลองจินตนาการดูว่า ทารกอยู่ในน้ำคร่ำเพื่ออาศัย หากถุงน้ำคร่ำรั่ว แตกจนน้ำไหลหมด หรือนานเกินไป จะทำให้ไม่เพียงพอต่อการผลิตออกซิเจนให้แก่ทารก ซึ่งจะทำให้ทารกเสียชีวิตใจครรภ์ได้
  • แม่ท้องจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ยิ่งในคุณแม่ที่เลือดออกบ่อย ๆ ช่วงท้องไตรมาสแรก อาจส่งผลให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้ง่าย เนื่องจากมดลูกไม่แข็งแรง อันตรายต่อชีวิตคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

 

แพทย์จะรักษาภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วอย่างไร

ก่อนอื่นคุณหมอซักประวัติ ถึงระยะเวลาตั้งครรภ์ (หากไม่ใช่แพทย์ประจำตัว) จากนั้นจะตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำในช่องคลอดที่เหลือ

 

  • คุณหมอจะให้คุณแม่ลองไอแรง ๆ ค่ะ เพื่อให้เกิดแรงดันไปกระทบให้น้ำคร่ำไหลอีกครั้ง และดูว่า ไหลมากน้อยแค่ไหน
  • จะใช้วิธีตรวจหาเชื้อจากน้ำคร่ำที่ได้ตัวจากช่องคลอดโดยส่งไปทาง Lab เพราะคุณหมอจะพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจภายในแบบเปิดปากมดลูกโดยตรงเพื่อลดการติดเชื้อ
  • คุณหมออาจต้องใช้วิธีอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดเพื่อดูถุงน้ำคร่ำ
  • ตรวจสอบว่า มีความเสี่ยงที่ต้องทำการคลอดก่อนกำหนดไหม เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำและออกซิเจน ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลก่อนเพื่อรอดูอาการและขั้นตอนต่อไป

 

ถุงน้ำคร่ำรั่ว 2

 

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดได้อย่างไร

  • ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องต้องดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ค่ะ คอยจิบบ่อย ๆ สามารถดื่มนมและน้ำผลไม้คั้นสดได้ พยายามให้ร่างกายได้รับน้ำทุกชั่วโมง และดื่มน้ำให้ได้วันละ 1.5-2 ลิตร
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีน เช่น กินไข่เพิ่มวันละ 4.5 ฟอง เพื่อสร้างโปรตีนในน้ำคร่ำ หรือเพิ่มโปรตีนจากอาหารอื่น ๆ อย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ธัญพืช และพวกถั่วต่าง ๆ กินถั่วให้ได้วันละ 35-50 กรัมต่อวัน จะเป็นการเสริมสร้างโปรตีนให้กับเนื้อเยื่อในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างดี

 

ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว ไม่ใช่เรื่องปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจนิ่งนอนใจว่า ระหว่างท้องอาจมีเลือดไหลบ้าง มีน้ำใส ๆ ออกมาบ้าง จริงอยู่อาการเหล่านี้ ดูเผิน ๆ คือเรื่องเล็กน้อย เกิดไม่บ่อย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ จนมีอาการเจ็บจากถุงน้ำคร่ำแตก มดลูกบีบตัว ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด แม้ครรภ์จะใกล้คลอดแล้ว แต่การที่ทารกขาดออกซิเจนเพราะถุงน้ำคร่ำแตก เป็นเรื่องอันตรายอย่างมากค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกเอาหัวหรือก้นออก แม่ท้องดูอย่างไร ถ้าลูกไม่กลับหัวจะเกิดอะไรขึ้น

ปวดท้องคลอด คล้ายปวดท้องเข้าห้องน้ำ แม่ท้องแรกตกใจ! คลอดลูกแล้วเหรอเนี่ย

อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำคร่ำครั่ว ได้ที่นี่ !

ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด เกิดจากอะไรคะ อันตรายไหมคะ

ที่มา : samitivejhospitals, paolohospital, pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด ถุงน้ำคร่ำแตก แม่ท้องทำยังไงดี ?
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว