จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ?
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยในระหว่างการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนทารกจะค่อย ๆ เติบโตภายในมดลูกอย่างปลอดภัย ซึ่งในมดลูกจะมีถุงบรรจุน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่นป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารก ทำให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวโดยไม่มีอะไรกีดขวาง ทั้งพลิกตัว ดิ้น หรือแม้การเตะท้องแม่
ซึ่งเมื่อตั้งครรภ์ได้ราวสองสัปดาห์ ร่างกายจะสร้างถุงน้ำคร่ำ และเริ่มมีน้ำคร่ำเกิดขึ้น และประมาณสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ก็จะมีสารอาหารต่าง ๆ จากที่คุณแม่ทานเข้าไป ส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ในช่วงต่อมาของการตั้งครรภ์ ทารกก็จะดื่มน้ำคร่ำ และขับถ่ายปัสสาวะหลังจากที่ไตของทารกเริ่มทำงาน
ตามปกติ น้ำเดินจะเริ่มตอนคุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์คลอด หากน้ำเดินหรือแตกก่อนระยะนี้ เช่น น้ำเดินตั้งแต่สัปดาห์ที่ 15 ทางการแพทย์ถือว่า เกิดอาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด จำเป็นต้องไปพบแพทย์โดยทันที
บทความที่น่าสนใจ : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด คืออะไร ?
หากถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำจะแตกออก และน้ำคร่ำจะไหลออกทางช่องคลอด การเกิดเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า น้ำเดิน หรือ SROM ซึ่งคุณแม่จะมีเวลาพอที่จะโทรศัพท์ไปหาแพทย์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งหากทารกคลอดในเวลานี้ ก็จะถือว่าเป็นการคลอดที่ปกติสมบูรณ์แบบ แต่หากน้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 เราจะเรียกว่า ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด หรือ PROM ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำที่ออกมาจะมากหรือน้อยก็ได้
น้ำคร่ำโดยปกติจะมีสีใส แต่บางครั้งก็อาจมีเลือดปะปนทำให้เห็นเป็นสีชมพู สีเขียว หรือสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างน้ำคร่ำ และน้ำปัสสาวะได้ เพราะน้ำคร่ำจะไหลต่อเนื่องโดยเราไม่สามารถควบคุมให้หยุดได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นอาการปัสสาวะรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแตก ?
หากพบว่ามีของเหลวไหลออกทางช่องคลอด คุณแม่ต้องสังเกตที่ความต่อเนื่องของการไหลเป็นหลัก ซึ่งหากเป็นน้ำคร่ำคุณแม่จะไม่สามารถควบคุมการหยุดได้ ซึ่งแตกต่างจากน้ำปัสสาวะ คือสามารถบังคับให้หยุดไหลได้
เมื่อแน่ใจว่าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นน้ำคร่ำ ให้ใช้ผ้าอนามัยใส่ที่กางเกงใน และเมื่อผ้าอนามัยซับน้ำจนชุ่มก็ต้องเอาออกเพื่อตรวจสอบสี และกลิ่นของน้ำคร่ำ หากเป็นน้ำคร่ำ มันจะใสไม่มีสี และมีกลิ่นหอม ซึ่งหากตรวจดูแล้วว่าเป็นน้ำคร่ำจริงก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการคลอดทันที น้ำคร่ำที่ไหลออกมาอาจทำให้คุณแม่และทารกมีโอกาสติดเชื้อได้
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด มีสาเหตุมาจากอะไร ?
การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนเจ็บท้องคลอดอาจเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้
- มารดาเคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดมาก่อน
- การติดเชื้อในช่องคลอด มดลูกหรือปากมดลูก
- การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
- แรงตึงมากเกินไปที่ผนังถุงน้ำคร่ำในกรณีทารกแฝดหรือทารกตัวใหญ่
- เคยผ่าตัดมดลูกหรือปากมดลูกมาก่อน
- พฤติกรรมที่ไม่เหมาะระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ดื่มสุรา ยาเสพติด หรือการขาดสารอาหาร
น้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด ทำอย่างไรดี ?
หากคุณคิดว่าตัวเองมีอาการถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด จำเป็นต้องโทรศัพท์หาแพทย์ที่ดูแลครรภ์เพื่อเตรียมพร้อมในการให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อคุณแม่เดินทางไปถึงมือหมอ หรือเดินทางไปโรงพยาบาลใกล้เคียงในทันทีหากเกิดถุงน้ำคร่ำแตกขึ้นมา เวลาช่วงนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากการฟักเชื้อจะเกิดขึ้นหากคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด ซึ่งแพทย์จะทำการทดสอบสองสามรายการดังนี้
- ทดสอบสัญญาณชีพ คือการวัดอุณหภูมิ วัดความดันโลหิต วัดอัตราการเต้นหัวใจ และการทดสอบเพื่อตรวจการติดเชื้อ การทดสอบเหล่านี้มีความสำคัญมากสำหรับถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
- ทดสอบ pH ของช่องคลอด คือการวัดค่า pH หรือความเป็นกรด-ด่างของน้ำคร่ำ น้ำคร่ำจะมีค่า pH แตกต่างจากปัสสาวะ โดยแพทย์จะใช้กระดาษลิสมัสแตะของเหลวที่กางเกงในหรือผ้าอนามัย หรือที่ช่องคลอดเพื่อตรวจว่าของเหลวนั้นมาจากส่วนไหน
- ตรวจภายใน แพทย์จะใช้เครื่องถ่างเพื่อเปิดปากช่องคลอด และตรวจสอบว่าของเหลวมาจากส่วนไหน อาจมีการส่องกล้องไมโครสโคปเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด
- ตรวจอัลตราซาวนด์ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์อาจใช้เครื่องอัลตราซาวนด์เพื่อหาสาเหตุการแตกของถุงน้ำคร่ำ รวมทั้งตรวจสอบหาระดับปริมาณน้ำคร่ำ
อาจมีการสอดกล้องตรวจทารกในครรภ์เพื่อตรวจการหดรัดตัวของมดลูก และอัตราการเต้นของหัวใจของทารก หากพบสิ่งผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาซึ่งจะขึ้นกับอายุครรภ์ของมารดา
ทำอย่างไรถ้าถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
-
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงก่อนถึงสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์
- แอดมิดเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ
- ทารกในครรภ์อายุต่ำกว่า 24 สัปดาห์ถือว่ายังไม่พร้อมสำหรับการคลอด และเสี่ยงต่อการแท้ง
- แพทย์จะทำการตรวจ และพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้
-
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 24-31 ของการตั้งครรภ์
- แอดมิดเข้าโรงพยาบาล
- รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- ฉีดสเตียรอยด์เพื่อช่วยเร่งพัฒนาการของปอดของทารก
- พยายามเลื่อนการคลอดออกไปให้นานที่สุดจนถึงสัปดาห์ที่ 33 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถทำคลอดในเวลานี้ได้หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
-
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 32-33 ของการตั้งครรภ์
- ทำการตรวจว่าปอดทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่หรือยัง
- ให้ยาปฏิชีวนะ
- ฉีดสเตียรอยด์เพื่อเร่งพัฒนาการของปอดทารกให้เติบโตมากขึ้นอีก
- สามารถทำการคลอดได้ในเวลานี้ หากปอดของทารกเติบโตเต็มที่ และมีความจำเป็นต้องทำการคลอด
-
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดช่วงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์จนถึงเวลาคลอด
- แอดมิดเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการทดสอบ และตรวจทารก
- ให้ยาปฏิชีวนะหากพบว่าผนังถุงน้ำคร่ำแตกมานานกว่า 24 ชั่วโมงแล้ว
- สามารถทำการคลอดได้ในเวลานี้หากมีความจำเป็น โดยทั่วไปทารกจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ หลังผ่านการตั้งครรภ์ไปแล้ว 34 สัปดาห์
ประสบการณ์ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอด
ประสบการณ์ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ท่านอื่น ๆ
- ถุงน้ำคร่ำแตกสัปดาห์ที่ 15 ของการตั้งครรภ์ – คุณแม่สเตซี่
“ฉันตั้งครรภ์ลูกแฝดเมื่อปีที่แล้ว เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 15 ถุงน้ำคร่ำก็แตก ฉันได้รับการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ และฉีดสเตียรอยด์ ฉันนอนรักษาตัวบนเตียงจนถึงสัปดาห์ที่ 30 และเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นเลยต้องทำการคลอดเนื่องจากมีการติดเชื้อ ลูกชายของฉันที่ชื่ออีแวนต้องอยู่ในตู้อบจนเขาอายุสามเดือน ส่วนฝาแฝดคือน้องสาวของเขาสามารถกลับบ้านได้เมื่ออายุสองเดือน และเธอมีสุขภาพที่ดีมาก
อีแวนเป็นเด็กที่ยอดเยี่ยมมาก เขายิ้มเก่ง แต่เขาก็ยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ เขามีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด โรคกรดไหลย้อน รวมทั้งมีปัญหาการได้ยิน เมื่อลูกแฝดทั้งสองของฉันกลับบ้านได้ฉันก็เฝ้าภาวนาให้พวกเขาหายเป็นปกติโดยเร็ว”
- ถุงน้ำคร่ำแตกในสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ – คุณแม่แคนดี้
“นี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก และฉันอุ้มท้องมา 33 สัปดาห์ แต่เมื่อราวสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ฉันก็เกิดถุงน้ำคร่ำแตก แพทย์สั่งให้พักอยู่บนเตียงที่โรงพยาบาลเป็นเวลาสองสัปดาห์ แพทย์ฉีดสเตียรอยด์ และในสัปดาห์ที่ 26 ฉันได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ แพทย์ได้ให้ฮอร์โมนเหน็บช่องคลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ปากมดลูกขยายตัว
เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 31 แพทย์ได้ทำการอัลตราซาวนด์ และพบว่าถุงน้ำคร่ำเกิดแยกตัว ทันทีที่น้ำเริ่มเดินพวกเขาก็แอดมิดฉันเข้าห้องทำคลอดพร้อมกับให้ยาอีริย์โธรมัยซิน และฉีดสเตียรอยด์เพิ่มอีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสร้างการเติบโตให้กับปอดของทารก ฉันยังได้รับยาสำหรับป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อในการคลอดบุตร ลูกของฉันอยู่ในครรภ์จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 34 จึงคลอดออกมาด้วยร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกคลอดทั้งถุงน้ำคร่ำ ภาพทารกคลอดในถุงน้ำคร่ำ หายาก 1 ใน 9 หมื่น โผล่มาแบบนี้แม่ตกใจเลย
น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า
น้ำคร่ำแห้ง ระวังลูกตายไม่ก็พิการ จะป้องกันอย่างไรไม่ให้น้ำคร่ำแห้ง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!