TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกง่ายๆ

บทความ 5 นาที
ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกง่ายๆ

ไขข้อข้องใจ ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร และอันตรายไหม? ต้องรีบพาลูกไปหาหมอไหม? ทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคอะไรหรือเปล่า? วันนี้เรามีคำตอบมาบอกกัน

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงตกใจที่ลูกมีไขเคลือบที่ศีรษะ ลักษณะเป็นขุยสีเหลืองหรือขาวครีม เกาะที่หัวเต็มไปหมด แต่ลูกน้อยก็ไม่ได้เจ็บปวดอะไร แล้ว ไขบนหัวทารก นี้คืออะไรกันนะ? ต้องรีบพาลูกไปหาหมอไหม? ทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคอะไรหรือเปล่า? วันนี้เรามีคำตอบมาบอกกัน

 

ไขบนหัวทารก คืออะไร?

เราชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกันก่อน เจ้าไขสีขาวๆ เหลืองๆ ที่อยู่บนศีรษะลูก หรือ สะเก็ดเหลืองบนหัวทารก นั้น คือ ภาวะผิวหนังที่เรียกว่า cradle cap พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและทารก ซึ่ง โรคนี้เรียกอีกอย่างว่าโรคผิวหนังอักเสบจากไขมันในทารกชนิด Seborrheic Dermatitis  ที่พบได้บริเวณศีรษะ มีลักษณะเป็นเกล็ด หรือขุยสีเหลืองบนหนังศีรษะนั่นเอง

โดยปกติแล้ว ไขบนหัวลูกเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยอายุ 1- 3 เดือน โดยส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองได้ภายใน 1 ปี แต่ในบางคนอาจมีอาการนี้เมื่ออายุประมาณ 1 หรือ 2 ปี 

ไขบนหัวเด็กทารกนี้อาจเหมือนจะทำให้ลูกไม่สบายตัว หรือระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้ เพราะโดยปกติแล้วมันจะไม่คัน และจะไม่รบกวนลูกน้อยเลย

 

ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร?

ไขบนหัวเด็กทารก นั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เรารวบรวมมาให้ตามนี้

  • น้ำมันส่วนเกินอาจทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วเกาะติดหนังศีรษะ
  • เชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Malassezia ที่ทุกคนมีบนผิวหนัง ซึ่งอาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะนี้ได้
  • ฮอร์โมนจากคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ที่ถ่ายทอดจากไปสู่ลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ ที่อาจทำให้ต่อมไขมันและรูขุมขนของลูกสร้างน้ำมันมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะไขทารกหลังคลอดได้
  • ไขบนหัวทารก ไม่ได้เกิดจากอาการแพ้หรือการติดเชื้อ และไม่ได้เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดเช่นกัน 

 

ไขบนหัวทารก

 

ไขบนหัวทารก อันตรายไหม?

ตามที่กล่าวไปแล่วว่า ไขที่อยู่บนศีรษะลูกนั้นไม่อันตราย แต่หากเกิดอาการผิดปกติ ดังนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการอีกครั้ง 

  • มีสะเก็ด มีน้ำเหลืองไหล หรือมีตุ่มหนองขึ้น
  • ผิวบริเวณที่มีไขเริ่มบวม 
  • ไขบนหัวทารกมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ 
  • มีไขขึ้นที่บริเวณอื่นนอกจากหนังศีรษะ
  • ลูกน้อยมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบาย

 

วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารก

แม้ว่าไขทารกจะไม่อันตราย โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แต่การรักษาความสะอาดนั้นก็ยังจำเป็น เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อนชื้น สภาพอากาศอบอ้าวอาจทำให้เกิดความไม่สบายตัวให้กับลูกน้อยได้ เรามีวิธีดูแลง่ายๆ ดังนี้ 

  • สระผมด้วยแชมพูเด็กอ่อนๆ การทำความสะอาดหนังศีรษะ โดยการถูเบาๆ บนศีรษะของลูกน้อยจะช่วยชะล้างน้ำมันส่วนเกินออกไป ทำให้ลูกสบายตัวมากขึ้น  
  • สระผมให้ลูกน้อยบ่อยขึ้น  คุณอาจต้องสระผมทุกวันแทนที่จะเป็นทุกๆ 2-3 วัน 
  • อย่าแกะหรือเกาสะเก็ดบนศีรษะของทารก เพราะอาจเกิดอาการระคายเคืองได้ หรือเกิดแผลเป็นบนผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้น
  • การแปรงผมเบาๆ หลังจากทำความสะอาดผมและหนังศีรษะของลูกน้อยแล้ว ให้คุณแปรงผมของลูกน้อยอย่างเบามือด้วยแปรงหรือหวีขนนุ่มสำหรับเด็ก เพื่อให้สะเก็ดไขที่ติดอยู่ที่ผมคลายตัวและหลุดออก แต่ย้ำว่าต้องแปรงอย่างเบามือ
  • หากผมของลูกหลุดออกมาพร้อมกับไข ไม่ต้องตกใจ เพราะเดี๋ยวก็จะงอกขึ้นมาใหม่เอง
  • ห้ามใช้น้ำมันมะกอก นวดศีรษะลูก เพราะอาจจะไม่เหมาะกับผิวหนังและก่อให้เกิดการแพ้ได้ 

ไขบนหัวลูก นั้นไม่อันตรายและอาจเกิดได้กับเด็กหลายๆ คน หากลูกน้อยมีภาวะนี้ ไม่ต้องตกใจไป เพียงหมั่นทำความสะอาดลูกน้อย และสังเกตว่าผิวบริเวณไขหากเริ่มบวม หรือมีแผล ต้องรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจต่อไป

 

ไขบนหัวทารก

 

3 ปัญหาผิวลูกน้อยที่พบได้บ่อย แต่รับมือได้

 นอกจากปัญหาไขบนหัวทารกที่พบได้บ่อยแล้ว ยังมีปัญหาผิวหนังอื่นๆ ที่อาจพบเจอได้ในลูกน้อยเช่นกัน

  1. กลากน้ำนม

กลากน้ำนม มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหรือวงรี สีจะจางกว่าสีผิวปกติของลูก บางครั้งอาจจะมีขุยติดอยู่ พบบ่อยบริเวณใบหน้า คอ ไหล่และแขน สาเหตุการเกิดยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของผิวหนังหรือแสงแดด รับมือได้ด้วยการทาครีมและหลีกเลี่ยงแดดจัด

  1. ผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อม ปัญหาผิวยอดฮิตที่เกิดขึ้นบ่อยมากๆ มีลักษณะเป็นตุ่มหรือปื้นแดงบริเวณต้นขาด้านใน ก้น หรืออวัยวะเพศ เกิดจากการเสียดสี หรือความอับชื้นจากการสวมใส่ผ้าอ้อมนานเกินไป รับมือได้ด้วยการทาขี้ผึ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกเสียดสีบ่อยๆ และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้นเพื่อลดความอับชื้น

  1. ภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้ผิวหนัง อีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง จะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ตุ่มแดง หรือ ตุ่มน้ำใส พบมากบริเวณใบหน้า และด้านนอกของแขนขา ภูมิแพ้ผิวหนังนั้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน รับมือได้ง่ายๆด้วยการหลีกเลี่ยง อาบน้ำอุ่นบ่อยเกินไป และทาครีมหรือโลชั่นเด็กบำรุงทันทีหลังอาบน้ำ

 

ปัญหาผิวๆ แต่ไม่จิ๋วของลูก แต่รับมือได้ เพียงคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจ และสังเกตลูกน้อยให้บ่อย ก็จะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที

 

ที่มา : NHS , kidshealth , healthychildren , webmd , โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที

นมแม่ใส ลูกน้ำหนักไม่ขึ้น ทำไงดี ? 8 วิธีเพิ่มไขมันนมแม่ เพิ่มน้ำหนักลูกน้อย

ทารกมองเห็นตอนไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกมองเห็น พัฒนาการสายตาแบบไหนผิดปกติ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กแรกเกิด 0-3 เดือน
  • /
  • ไขบนหัวทารก เกิดจากอะไร วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกง่ายๆ
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว