TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย

บทความ 5 นาที
แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย

แน่นอนว่าเมื่อทารกน้อยออกมาลืมตาดูโลกแล้ว คุณแม่ทุกคนต่างภาวนาให้เจ้าตัวน้อยมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์แบบที่เกิดมาพร้อมกับแก้มสีชมพู ผิวพรรณอันไร้ตำหนิ และปอยผมอันสวยงาม แต่ความจริงแล้วทารกแต่ละคนเกิดมาพร้อมกับความสมบูรณ์แข็งแรงที่แตกต่างกัน

เมื่อลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกใบใหม่ ขอให้คุณแม่เตรียมรับมือกับ อาการของทารกแรกเกิด ที่อาจเกิดขึ้นได้กับเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารักทุกคน

10 อาการของทารกแรกเกิด ที่อาจเกิดได้กับทารก แต่เป็นแล้วไม่นานก็หาย

อาการของทารกแรกเกิด

#1 ตาเหล่ ตาเข

ในช่วง 6 สัปดาห์แรกของชีวิตหรือในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจสังเกตเห็นตาของทารกเหล่เข้าหรือเหล่ออกบ้าง ตาสองข้างทำงานไม่สอดคล้องกันบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ต้องกังวลไปนะคะ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่การทำงานประสานกันของสองตายังไม่ดีนัก หลังจากทารกอายุเกิน 3 เดือนไปแล้ว ตาทั้งสองข้างตะเริ่มทำงานประสานกันได้ดี บังคับตาทั้งสองข้างให้มองไปในทิศทางของวัตถุที่สนใจได้แม่นยำขึ้น แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังสังเกตเห็นลูกตาเหล่ ตาเขอยู่ ควรนำทารกไปพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษานะคะ

อาการของทารกแรกเกิด
#2 ลูกนอนกรน นอนหลับเสียงดัง

ลืมภาพการนอนหลับของเบบี๋แบบที่เราเห็นในภาพสวย ๆ ไปได้เลย เพราะในความเป็นจริงแล้วคุณแม่จะมองเห็นลูกน้อยนั้นนอนหลับแบบมีเสียงกรนออกมาบ่อยครั้ง เนื่องจากศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองของทารกแรกเกิดนั้นยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ ช่องทางเดินหายใจยังเล็กและแคบอยู่ ดังนั้นในการนอนหลับแบบปกติของเบบี๋นั้น คุณแม่อาจจะได้ยิน เสียงหายใจครืดคราด เสียงกรนได้ และจะหายไปได้เองเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตด้วยนะคะว่า ลูกนอนกรนนานเกินไปหรือเปล่า หรือไม่มีท่าทีว่าเสียงกรนจะเบาลงเลย มีการกรนและหยุดหายใจบ้างหรือเปล่า ถ้ามีควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายดูนะคะ

แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย

#3 ลูกสะดุ้ง นอนผวา

อย่าเพิ่งตกกะใจที่มองเห็นลูกแขนขากระตุก คล้ายกับอาการสะดุ้งในขณะที่เจ้าตัวน้อยกำลังนอนหลับอยู่ในเปลกันนะคะ คุณแม่จะพบอาการนี้ของทารกได้จนถึงอายุ 6 เดือน ในขณะที่ทารกหลับสนิท แต่เวลามีเสียงดังหรือสัมผัสกับตัวลูกน้อย จะเห็นว่าทารกทุกคนจะมีการตอบสนองด้วยการสะดุ้งหรือผวา โดยการยกแขน ยกขา แบมือ และกางแขนออก หรือโอบแขนเข้าหากัน ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความตกใจเช่นนี้เรียกว่า Moro reflex ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยแก้อาการสะดุ้งผวาบ่อยของลูกได้ด้วยการห่อตัวลูกและอุ้มเจ้าตัวน้อยแนบตัวให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

อาการของทารกแรกเกิด

#4 ปานเส้นเลือดแดง

ทารกหลายคนเกิดมาพร้อมกับรอยสีชมพูหรือสีแดงที่บริเวณต้นคอ ระหว่างดวงตา บนเปลือกตา หรือระหว่างหัวคิ้ว มีลักษณะเป็นร่างแหของเส้นเลือดฝอย ส่วนใหญ่จะจางหายไปได้เองเมื่ออายุ 2-3 ขวบ

Read : ปานของเบบี๋ แบบไหนปลอดภัย แบบไหนอันตราย

อาการของทารกแรกเกิด

#5 ขนอ่อน ๆ ตามร่างกายทารก

เส้นขนอ่อนนุ่มและละเอียดที่คุณแม่สังเกตเห็นติดตัวทารกแรกเกิดออกมา เรียกว่า lanugo จะเป็นขนอ่อนที่ปกคลุมร่างกายทารกไว้ตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์ และจะผลัดเส้นขนทั้งหมดนี้ออกก่อนที่จะคลอด ซึ่งอาจจะมีหลงเหลืออยู่บนหลัง ไหล่ หน้าผาก หรือปลายหูลูกหลังคลอดออกมาได้ และจะหลุดออกไปเองเมื่อเด็กโตขึ้นค่ะ ขนตามร่างกายของเด็กแรกเกิด นั้นไม่เป็นอันตรายอะไร นอกเสียจากผ่านไป 6 เดือนแล้ว ขนเหล่านั้นยังไม่หลุดไป แต่กลับดกดำเพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะ ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากต่อมหมวกไต หรือ congenital adrenal hyperplasia (CAH) ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรรีบพาลูกน้อยเข้าไปพบคุณหมอเพื่อวินิฉัยถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อรับการรักษาต่อไป

อาการของทารกแรกเกิด

#6 ไขบนหนังศีรษะทารก

สะเก็ดที่เกิดขึ้นบนศีรษะของทารกนั้นพบได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ เป็นคราบไขมันที่แห้งกรังอยู่บนหัว มีลักษณะเป็นแผ่นหนาออกสีเหลือง ๆ ซึ่งจะหายไปได้เองเพียงภายในไม่กี่เดือน หากคุณแม่เป็นกังวล ก็สามารถล้างไขบนหัว ด้วยการใช้น้ำนมแม่สักสองสามหยดลูบบนหนังศีรษะ จนกว่าสะเก็ดจะหลุดลอกออก แล้วปัดออกด้วยแปรงขนอ่อน หรือใช้ Baby Oil หรือน้ำมันมะกอกทาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป หลังจากนั้นสระผมล้างออกด้วยแชมพูสำหรับเด็กสามารถช่วยทำให้สะเก็ดนั้นหลุดออกไปได้

#7 ตุ่มขาวที่เพดานปาก

ตุ่มขาวในปาก ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิด อาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่าหัวหมุด พบได้ประมาณร้อยละ 80 ของทารกแรกเกิด ซึ่งถือเป็นภาวะปรกติ และจะหายไปเองภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์หลังจากคลอด

#8 ทารกมีเต้านมและมีน้ำนมไหล

ทารกแรกเกิด ไม่ว่าชายหรือหญิงจะออกมาพร้อมกันหน้าอกเล็ก ๆ ได้นะคะ อย่าเพิ่งตกใจกันไป ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วัน และจะยุบหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งเกิดขึ้นจากฮอร์โมนตัวเดียวกับที่กระตุ้นต่อมน้ำนมของแม่ในขณะที่อยู่ในครรภ์และทารกจะได้รับมาจากแม่ผ่านทางสายสะดือ และในบางรายก็จะมีน้ำนมไหลออกมาจากอกด้วย อาการเหล่านี้ ไม่เป็นอันตราย และจะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนเมื่อฮอร์โมนจากแม่หมดไป

#9 ภาวะท่อน้ำตาอุดตันในทารก

ทารกแรกเกิดหรือในช่วง 1 – 3 เดือน บางคนอาจจะมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลา ทั้ง ๆที่ไม่ได้ร้องไห้ สังเกตได้จากตาเฉอะแฉะตลอดทั้งวัน หรือที่เรียกกันว่า ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นภาวะที่ท่อน้ำตาไม่เปิดเข้าสู่โพรงจมูกตามปกติ ทำให้น้ำตาที่สร้างโดยต่อมน้ำตาเอ่อล้นออกมา และเกิดอาการได้ โดยอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้าง ภาวะนี้พบได้ประมาณ 30% โดยส่วนมากจะหายได้เอง มักไม่มีอาการรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ช่วยรักษาได้ด้วยการนวดหัวตา ซึ่งหากทำโดยถูกวิธีและสม่ำเสมอก็จะสามารถหายได้ค่ะ

อาการของทารกแรกเกิด

#10 ทารกหัวไม่สวย

การที่จะออกจากช่องคลอดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ กระบวนการคลอดบุตรนั้นจึงอาจเป็นสาเหตุทำให้ศีรษะของลูกมีอาการผิดรูปเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เนื่องจากศีรษะของทารกแรกเกิดยังคงอ่อนและนุ่มนิ่ม แต่โอกาสที่จะทำให้รูปทรงของศีรษะลูกทุยสวยได้ คุณแม่อาจจะจัดท่านอนให้ลูกนอนหงายโดยศีรษะตะแคงข้างสลับไปมาซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หรือจัดท่านอนลูกตะแคงสลับซ้าย-ขวา ไม่ปล่อยให้ลูกนอนตำแหน่งเดิมตลอดเวลาหรือนานเกินไป หรือลองจัดท่าอื่น ๆ ด้วย เช่น คว่ำชันคอ ตะแคง หรืออุ้มลูกขึ้นซบไหล่มา เป็นต้น


credit content :

www.babble.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล

7 อาการปกติที่แม่ท้องแก่ควรรู้

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว