X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อมี ตุ่มขาวในปากทารก ต้องทำอย่างไร ตุ่มขาวในปาก คืออะไร

บทความ 5 นาที
เมื่อมี ตุ่มขาวในปากทารก ต้องทำอย่างไร ตุ่มขาวในปาก คืออะไร

แม้ว่าทารกจะยังเล็กอยู่และไม่ได้กินอาหารอย่างอื่นนอกจากน้ำนมของคุณแม่ แต่การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสังเกตเห็น ตุ่มขาวในปากทารก กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ แล้วตุ่มขาวที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ อันตรายต่อทารกหรือเปล่า และควรจัดการยังไงดี วันนี้เรามีคำตอบมาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

 

ทำความรู้จัก ตุ่มขาวในปากทารก

หากคุณแม่สังเกตเห็นตุ่มขาว ๆ ในปากทารก ช่วงบนแนวเหงือกหรือบนเพดานปาก แสดงว่าลูกน้อยน่าจะเป็น Epstein pearl ซึ่งเป็นซีสต์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Gingival cyst ที่มีในทารกแรกเกิดค่ะ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นในอัตรา 60 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ของทารกแรกเกิดเลยค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเจอจากทารกที่เกิดมาจากคุณแม่อายุมาก คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด และทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดที่สูง แต่ Epstein pearl ก็ไม่เป็นอันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ในสมัยโบราณนิยมเรียกตุ่มขาว ๆ นี้ว่า “หละ” และมีความเชื่อว่าทำให้ลูกไม่ดูดนม

 

อาการของ ตุ่มขาวในปากทารก เป็นยังไง

สำหรับทารกที่มีตุ่มขาว ๆ หรือ Epstein pearl จะไม่ทำให้ทารกเกิดอาการใด ๆ เลยค่ะ ไม่เจ็บ ไม่ปวด โดยสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายมากตามเหงือกหรือเพดานปากของลูกน้อย ซึ่ง Epstein pearl ลักษณะจะเป็นก้อนกลม ๆ สีขาวเหลืองตุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และในบางครั้งก็ทำให้ดูเหมือนฟันที่กำลังจะขึ้นมาเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

 

ตุ่มขาวในปากทารก

 

Advertisement

ตุ่มขาวในปากทารก เกิดจากสาเหตุอะไร

การเกิดตุ่มสีขาวในปากของทารกมาจากผิวหนังของปากกำลังติดค้างในช่วงกระบวนการพัฒนา ในขณะที่ปากยังพัฒนาอยู่นั้น บริเวณผิวที่ติดอยู่นี้ก็สามารถเติมเคราตินได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรตีนที่มักเจอในผิวหนัง จึงทำให้เราสามารถมองเห็นตุ่มสีขาวในปากของทารกนั้นเองค่ะ

และการพัฒนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นตอนอยู่ในครรภ์ จึงไม่สามารถป้องกันได้ หากลูกน้อยเกิดมาพร้อมอาการตุ่มขาว ๆ นี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะมันไม่ได้เป็นสัญญาณของอาการอะไรเลยค่ะ ถือเป็นเรื่องปกติในเด็กแรกเกิดอยู่แล้ว

 

เมื่อมีตุ่มขาวในปากทารกต้องทำอย่างไร ควรพบแพทย์ไหม

ตุ่มสีขาวที่เกิดขึ้นในปากของทารกไม่ได้เป็นอันตราย แต่หากเกิดว่าลูกเริ่มแสดงอาการปวด หรือหงุดหงิดคุณแม่ควรพาไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากว่าตุ่มสีขาว เป็นตุ่มที่พบได้บ่อยมาก แพทย์จึงสามารถระบุตุ่มเหล่านี้ได้ตามลักษณะที่ปรากฏเห็นได้ชัด โดยทางทีมแพทย์อาจตรวจช่องปากเพื่อตรวจหาสัญญาณของรากฟัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการของลูกน้อยด้วยว่าฟันชนิดนี้คือฟันอะไร เพราะพวกมันค่อนข้างหายาก และเป็นฟันที่ดูเหมือนตุ่มสีขาวตามเหงือกของทารกนั่นเอง

 

ตุ่มขาวในปากทารก

 

ในเด็กบางรายอาจเป็นการติดเชื้อยีสต์ชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตุ่มสีขาวขนาดเล็กหรือไม่ก็มาในลักษณะเคลือบด้วยสีขาวในปากของทารก โดยทางทีมแพทย์จะตรวจหาสาเหตุของตุ่มสีขาวที่พบต่อไปเรื่อย ๆ จนได้สาเหตุที่แน่ชัด

ซึ่งตุ่มสีขาวในปากทารกที่เจอส่วนใหญ่แล้วมักจะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอดค่ะ แต่อาจจะยังคงอยู่หลายเดือน ถ้าเกิดว่าผ่านไปหลายสัปดาห์แล้วแต่มันยังอยู่และไม่มีแนวโน้มที่ตุ่มขาว ๆ จะยุบตัวลงเลย ก็สามารถนัดแพทย์เพื่อตรวจสอบอีกครั้งได้ค่ะ

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ หากลูกมีตุ่มขาวในปาก

1) ห้ามบีบ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบตุ่มขาวในปากลูก ช่วงแรก ๆ อาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต่อมไขมัน เหมือนเช่นที่ขึ้นในผู้ใหญ่ ถ้าไปบีบอาจจะส่งผลให้ลูกเจ็บปวด รวมทั้งการนำมือเข้าปากลูกก็เสมือนเอาเชื้อโรคเข้าปากลูกด้วย

2) ไม่ควรเจาะ

การใช้เข็มเล็ก ไปสะกิดที่บริเวณตุ่มขาวไม่ว่าจะในปากหรือตามใบหน้า และร่างกายย่อมทำให้ลูกเจ็บปวดและทำให้ลูกติดเชื้อโรคเพราะความสกปรกของเข็มได้ และถ้าหากตุ่มขาวนั้นเป็นเชื้ออย่างอื่น อาจเสี่ยงทำให้เชื้อแพร่กระจายในปากได้ ทางที่ดีควรให้แพทย์เป็นคนตรวจสอบ

3) ไม่กวาดคอ

มีคุณแม่หลายคน ที่เมื่อลูกเจ็บป่วยมักพาไปให้หมอโบราณ ให้ช่วยทำการกวาดคอให้ จริง ๆ แล้วหากลูกมีอาการเจ็บป่วย ควรพาไปลูกไปพบแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดอาการท้องเสีย จากยาของหมอ ที่สำคัญ การหาแพทย์แผนปัจจุบัน อาจช่วยรักษาได้ตรงจุดกว่า และทำให้ตุ่มขาวในปากสามารถหายได้

 

สามารถรักษาให้หายได้ไหม

จริง ๆ แล้วตุ่มสีขาวพวกนี้ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะมันสามารถหายได้เองค่ะ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังคลอด โดยแรงเสียดสีในปากของทารกจากการดูดนมแม่ หรือการใช้จุกนมหลอก จะค่อย ๆ ช่วยทำให้ตุ่มขาว ๆ พวกนี้เกิดการสลายและยุบลงค่ะ และในสมัยก่อนนิยมรักษาโดยการขยี้ออกหรือไม่ก็ใช้เข็มทิ่มออก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา ทางที่ดีควรสังเกตอาการของตุ่มเหล่านี้เรื่อย ๆ ก่อน หากมันยังไม่ยุบค่อยปรึกษาแพทย์ค่ะ

ลักษณะตุ่มขาวแบบไหน ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูก

ถึงแม้ว่าตุ่มขาวที่เกิดในช่องปากของลูก จะไม่มีอาการเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อลูกน้อย แต่ก็ยังมีตุ่มขาวที่เกิดจากสาเหตุอื่น ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ ซึ่งในบางกรณี แม่ ๆ มือใหม่ บางคนอาจจะแยกไม่ออกและรู้สึกสับสนว่าตุ่มขาวที่พบในปากลูกนั้นปกติหรือไม่ มาดูกันว่า ตุ่มขาวแบบไหนที่อันตราย และควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วน

ตุ่มขาวที่เกิดจากเชื้อรา

ตุ่มที่เกิดจากเชื้อรา มักจะมีลักษณะ ดังนี้

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย
  • เป็นตุ่มขาวนูนขึ้นมา
  • มีตุ่มขึ้นเยอะมาก
  • มักจะพบบริเวณเพดานปากและกระพุ้งแก้ม
  • ลูกไม่ค่อยดื่มนม เพราะมีอาการเจ็บปวด

ตุ่มขาวที่ไม่ทราบสาเหตุ

บางครั้งในปากของลูกน้อยก็อาจมีตุ่มขาวที่ไม่ทราบสาเหตุได้เหมือนกัน โดยอาจขึ้นบริเวณใดในปากก็ได้ และมีอาการเจ็บ ซึ่งหากคุณแม่สังเกต เช็คดูแล้ว ตุ่มลักษณะนี้ไม่น่าเกิดจากเชื้อรา และไม่ใช่ตุ่มขาวปกติ ก็ให้พาลูกไปหาหมอทันที เพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่ถูกวิธีนั่นเองค่ะ

การทำความสะอาดช่องปากทารก

การทำความสะอาดช่องปากทารกแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะคุณแม่มือใหม่ก็สามารถทำได้ เพียงใช้ผ้าก๊อซที่สะอาด ๆ พันรอบนิ้ว จากนั้นชุบผ้าด้วยน้ำต้มสุก หรือน้ำเกลือก็ได้ค่ะ แล้วเช็ดให้ทั่วบริเวณกระพุ้งแก้ม สันเหงือก และลิ้นของลูกน้อย ที่สำคัญอย่าลืมเช็ดคราบนมออกด้วยนะคะ จะได้ไม่ติดจนเป็นฝ้า ซึ่งการทำความสะอาดช่องปากของทารก แนะนำให้ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนค่ะ หรือจะเป็นหลังดื่มนมอิ่มแล้วก็ได้เช่นกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

 

ตุ่มขาวในปากทารก

 

ข้อดีของการเช็ดเหงือกให้ลูกน้อย

แม้ทารกแรกเกิดจะยังไม่มีฟัน แต่การทำความสะอาดเหงือกให้ลูกก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่เหมือนกัน แถมยังมีข้อดีมากมาย เช่น

  • สร้างความเคยชินให้กับลูกน้อย เพื่อให้รู้จักการเช็ดเหงือก แถมยังทำให้การแปรงฟันเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วยค่ะ
  • ไม่ว่าจะดื่มนมชง หรือดื่มนมแม่ แน่นอนว่าต้องมีคราบน้ำนมติดปากอยู่แล้ว และลูกยังไม่สามารถบ้วนปากได้เอง จึงทำให้เกิดการสะสมคราบเชื้อราในเด็กได้ค่ะ ดังนั้น การเช็ดเหงือกให้ลูกหลังดื่มนมเสร็จ จึงถือเป็นการป้องกันเชื้อราได้ค่ะ
  • การเช็ดเหงือกให้ลูกน้อย หากทำเป็นประจำ จะทำให้เริ่มชินกับน้ำหนักมือ และสามารถเช็ดได้ตรงจุด ทำให้ช่องปากของลูกสะอาดมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ทิ้งคราบน้ำนมด้วยค่ะ

 

ตุ่มขาวที่เกิดในปากทารกอาจดูน่ากลัวสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นอันตรายเลยค่ะ แถมยังสามารถหายไปเองได้อีกด้วย โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น และก็ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ ด้วยค่ะ ดังนั้น หากลูกน้อยมีอาการไม่สบายร่วมด้วย ก็น่าจะมาจากสาเหตุอื่น จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีทำความสะอาดลิ้นลูก แบบง่าย ๆ พร้อมวิดีโอสาธิต

วิธีทำความสะอาดเหงือกทารก ดูแลให้ถูกวิธีอย่างไร ก่อนที่ฟันจะขึ้น

ลูกเป็นแผลในปาก เกิดจากอะไร? ลูกปากเปื่อย ปากเป็นแผล ร้อนใน ทำยังไง

ที่มา : motherhood, konthong

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • เมื่อมี ตุ่มขาวในปากทารก ต้องทำอย่างไร ตุ่มขาวในปาก คืออะไร
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว