X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

เมื่อได้ยินเสียง ทารกนอนกรน พ่อแม่คงจะตกใจ สำหรับลูก เสียงคล้ายคลื่นโหมกระหน่ำนั่น บางครั้งก็เป็นเสียงปกติ แต่การกรนก็อาจจะเป็นอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

เมื่อได้ยินเสียงลูก ทารกนอนกรน บ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะตกใจว่าลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า การกรนในผู้ใหญ่ อาจเป็นอันตรายในขณะนอนหลับ แต่สำหรับเด็กน้อย เสียงที่คล้ายคลื่นโหมกระหน่ำนั่น บางครั้งก็เป็นเพียงเสียงลมหายใจของเด็กแรกเกิดเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตาม การกรนก็อาจจะเป็นอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

ทารกนอนวันละกี่ชั่วโมง

สาเหตุที่ทารกนอนกรน เป็นเพราะช่องทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบของลูก บางครั้งที่ช่องจมูกแห้ง หรือขี้มูกเยอะ ๆ ก็ทำให้ลูกหายใจเสียงดัง หรือกรนได้เช่นเดียวกัน เมื่อโตขึ้นเสียงหายใจก็จะค่อย ๆ เบาลง เหมือนการหายใจของผู้ใหญ่

ทารกนอนกรน เกิดจากอะไร ?

คุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่คนเดียวแน่ ๆ ที่กำลังหนักใจว่า ทารกนอนกรน ทำไมลูกทารกจึงนอนกรนได้ขนาดนี้นะ เด็ก 7 – 12 เปอร์เซ็นต์ จะนอนกรนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สาเหตุที่ ทารกนอนกรน เป็นเพราะช่องทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบของลูก บางครั้งที่ช่องจมูกแห้ง หรือขี้มูกเยอะ ๆ ก็ทำให้ลูกหายใจเสียงดัง หรือกรนได้เช่นเดียวกัน เมื่อโตขึ้น เสียงของการหายใจก็จะค่อย ๆ เบาลง เหมือนการหายใจของผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม การกรนของทารกก็อาจจะเป็นอันตราย หรือบ่งบอกว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกส่งเสียงกรนขณะนอนหลับ อาจมาจากสิ่งเหล่านี้

อันตรายจากการนอนกรน ทารกนอนกรน

การนอนกรนที่เป็นอันตรายของเด็กทารก 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ อาจส่งผลให้ลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยจะมักจะเกิดขึ้นตอนอายุ 3 – 6 ปี เด็กบางคนมีการกรน ทานอาหารได้น้อย น้ำหนักต่ำ อาจจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกับปาก ช่องคอ ปอด หรือหัวใจได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสั่งเกตวิธีการหายใจของลูก ว่าลูกหายใจแรงหรือไม่ หายใจหอบถี่ หรือหายใจทางปาก แล้วรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยต่อไป

สาเหตุที่ทำให้ลูกทารกนอนกรน

Advertisement

น้ำมูกไหล

ส่วนหนึ่งของทารกกรน เกิดจากการที่มีน้ำมูกอุดตันในรูจมูก ทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกปิดกั้น เมื่อลูกโตขึ้น มีรูจมูกที่ใหญ่ขึ้น การอุดตันภายในจมูกก็จะหายไปเอง

การดูดน้ำมูกที่อุดตันในรูจมูกออก จะช่วยให้ทางเดินหายใจของลูกโล่งขึ้น ข้อควรระวัง และควรสังเกตคือ หากลูกกรนมาก ดังขึ้น ถี่ขึ้น หลังจากการดูดน้ำมูกออกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ หากทำการดูดน้ำมูกให้ลูกด้วยตัวเอง ก็ควรจะอัดวิดีโอเอาไว้ เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัยได้ด้วย

ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โต

ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์ คืออวัยวะที่อยู่ด้านหลังของจมูก และคอ ทำหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยลาดตระเวนของร่างกาย คอยผลิตเซลล์คุ้มกัน และทำลายเชื้อโรค หรือไวรัสก่อนที่จะเข้าสู่ร่างกาย ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โตกว่าปกติ จะไปบดบังช่องทางเดินหายใจ เกิดเป็นเสียงกรนขณะหายใจนั้นเอง

ภาวะผนังกั้นช่องจมูกคด

ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ ของการกรน จะค้นพบได้ก็ต่อเมื่อลูกโตขึ้นนิดหน่อยแล้ว แต่โรคผนังกั้นช่องจมูกคดเป็นโรคที่มาพร้อมกับวันแรกที่ลูกลืมตาดูโรค

โรคผนังกั้นช่องจมูกคด จะมีอาการหายใจสองข้างไม่เท่ากัน น้ำมูกไหล คัดจมูก หากไม่มีอาการมาก หรือไม่เป็นปัญหากับการใช้ชีวิต ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

กระดูกกล่องเสียงอ่อนยวบ

การกรนในเด็กทารกอาจจะมีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อกล่องเสียงอ่อนตัว ย้อยลงมาบดบังส่วนหนึ่งของช่องทางเดินหายใจ 90 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีอาการกล่องเสียงอ่อนยวบ พบว่า อาการนี้จะหายไปเองเมื่อทารกอายุ 18 – 20 เดือน

สำหรับทารกที่มีภาวะกล่องเสียงอ่อนยวบรุนแรง ซึ่งอาจทำให้การหายใจ การรับประทาน นั้นเกิดปัญหา การใช้ท่อช่วยหายใจ หรือการผ่าตัดก็อาจจะช่วยให้หายจากภาวะนี้ได้

อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ของการผ่าตัด คือการทำให้เด็กมีระบบทางเดินหายใจที่เป็นปกติเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อเสียง และเนื้อเยื่อภายใน

ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

พาลูกไปหาหมอหาก ลูกนอนหลับยากในเวลากลางคืน ลูกหายใจลำบาก หายใจหอบ รับประทานอาหารลำบาก กรนหนัก และหยุดหายใจชั่วขณะ

การกรนส่งผลให้การนอนหลับไม่เพียงพอ

การกรนอาจจะทำให้เด็กไม่ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กดังนี้

  • น้ำหนักตัวลด
  • โรคสมาธิสั้น
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • ฝันผวา
  • โรคอ้วน

เมื่อไหร่ที่ลูกควรไปหาหมอ ?

  • ลูกนอนหลับยากในเวลากลางคืน
  • ลูกหายใจลำบาก
  • หายใจหอบ
  • รับประทานอาหารลำบาก
  • กรน และหยุดหายใจชั่วขณะ

ทารกนอนกรน ทำอย่างไรดี

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ หากลูกนอนกรน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • จัดห้องนอนให้มืด น่านอน เงียบสงบ
  • ห้องนอนลูกควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ปรับเปลี่ยนท่านอนของลูก ยกตัวอย่างเช่น การนอนตะแคงข้าง
  • วางหมอน หรือผ้าซ้อนกันประมาณ 3 – 4 นิ้ว เพื่อให้ศีรษะของลูกยกสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะนอนหลับ
  • ในห้องไม่ควรมีสิ่งของที่อาจเป็นตัวช่วยกระตุ้นการให้เกิดภูมิแพ้ ยกตัวอย่างเช่น ดอกไม้ พรม เป็นต้น
  • หากมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน ให้อยู่ห่างจากห้องนอนของลูก
  • งดทานผลิตภัณฑ์จากนมสัก 1 – 2 สัปดาห์
ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่กรนรุนแรง อาจมีภาวะการหายใจผิดปกติ SBD (sleep disordered breathing) และหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ OSA (obstructive sleep apnea) ประกอบร่วม

ภาวะการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับในเด็ก

3 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่กรนรุนแรง อาจมีภาวะการหายใจผิดปกติ SDB (sleep disordered breathing) และหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ OSA (obstructive sleep apnea) ประกอบร่วม

การหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ จะกินเวลาราว ๆ 10 วินาที โดยไม่มีการหายใจเกิดขึ้น ขณะที่ลูกหายใจเข้า แต่ไม่สามารถผ่านเข้าไปทางช่องคอได้ จึงทำให้เกิดเสียงกรนหยาบ ๆ การหยุดหายใจ 10 วินาทีอาจจะดูน่ากลัว แต่โดยทั่วไป ลูกมักจะรู้สึกตัว และตื่นขึ้นมาหายใจอีกครั้งโดยอัตโนมัติ ภายใน 10 – 15 วินาทีสัญญาณของการหายใจผิดปกติคือ อ้าปากขณะนอนหลับ น้ำลายไหลเลอะหมอน มีเสียงหายใจฟึดฟัดขณะนอนหลับ ปวดหัวมาก และนอนหลับนานกว่าปกติ การหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

เด็กที่นอนหลับไปพร้อมกับการหายใจที่ผิดปกติ (SBD) มักจะสะดุ้งตื่น ส่งเสียงคราง หรืออ้าปากพะงาบ ๆ นับครั้งไม่ถ้วนในแต่ละคืน จึงไม่แปลกเลย ที่เด็กเหล่านี้จะตื่นขึ้นมา พร้อมกับดวงตาคล้ำ ความเกรี้ยวกราด ไฮเปอร์ หงุดหงิด และขี้ลืม เนื่องจากการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสมตลอดคืน SDB ยังจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่ำลง ไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มที่ เกิดความเครียด และนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจอีกด้วย

การกรนในเด็กทารกจะว่าเป็นเรื่องปกติ ก็ปกติ เนื่องจากทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบ ทำให้เกิดเสียงขณะหายใจได้ หากแต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ลูกทารกกรนขณะนอนหลับ เด็กหลาย ๆ คนเลิกกรนหลังจากที่ได้รับคำปรึษาจากแพทย์ ในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และอาหารการกินเพียงเท่านั้น การกรนที่เกิดจากน้ำมูกอุดตัน ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจ และสามารถแก้ไขได้ที่บ้าน แต่หากลูกกรนรุนแรง สาเหตุคือ อวัยวะภายใน เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ภาวะผนังช่องจมูกคด และอื่น ๆ เหล่านี้ ต้องปรึกษาแพทย์โดยด่วนเท่านั้น

 

ที่มา: Saintmedical , Mom Junction , Happiestbaby

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน

3 คำถามคุยกับลูกวัยอนุบาลก่อนนอน

ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ กระตุ้นการได้ยินอย่างไร

ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว