ลูกนอนกรน อาจไม่ใช่เรื่องที่สามารถนิ่งนอนใจ
ลูกนอนกรน อาจไม่ใช่เรื่องที่สามารถนิ่งนอนใจ การกรนอาจดูเหมือนเรื่องปกติ เเต่ความจริงเเล้วน่าเป็นห่วงค่ะ
ทำไม ลูกถึงนอนกรน
การหายใจเป็นกระบวนการอัตโนมัติที่ควบคุมโดยสมอง การตรวจสอบระดับสารเคมีในเลือดนั้น ทำให้สมองสามารถออกกำลังได้ถ้าการหายใจทำได้อย่างถูกต้อง กลับกันหากการหายใจทำได้ไม่ดี ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองน้อยลง ทำให้สมองทำงานได้ไม่ดีค่ะ
อย่าเพิ่งตื่นตกใจไป ถ้าการกลับบ้านวันเเรกลูกก็นอนกรน หรือหายใจเสียงดังเสียเเล้ว เพราะนั่นคือเรื่องปกติของเด็กทุกคนค่ะ สาเหตุเกิดจากอวัยวะอย่าง หลอดลม ยังพัฒนาได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงฟังเเล้วดูเหมือนลูกหายใจเเรงจัง หรืออาจจะเหมือนลูกนอนกรนได้ค่ะ
การพัฒนาสำหรับอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ ยิ่งลูกโตระบบหายใจก็จะยิ่งทำงานได้ดี เต็มศักยภาพมากขึ้นค่ะ เสียงหายใจหรือเสียงกรนของลูกจะเบาลงเองเมื่อลูกค่อยๆ โตขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ลูกนอนกรน
- ต่อมทอนซิลโต
- ต่อมอดีนอยด์โต
- มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน
- ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ
- สมองผิดปกติ
- เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- เป็นโรคปอดเรื้อรัง
เมื่อลูกนอนกรน เริ่มนิ่งนอนใจไม่ได้
การนอนกรนของลูกจะเริ่มน่าเป็นห่วงเมื่อเวลาผ่านไปเเต่เสียงกรนของลูกยังไม่เบาลงตาม ขั้นตอนเเรกคุณหมอจะตรวจเช็คโพรงจมูกของเจ้าตัวเล็ก จนเเน่ใจว่าไม่มีอะไรไปอุดกั้นอยู่ เนื่องจากบางครั้งเยื่อบุโพรงจมูกของลูกข้างใดข้างหนึ่งอาจจะอุดตั้น หรือต่อมทอนซิลขยายใหญ่ขึ้น ก็เป็นสาเหตุของการกรนได้ค่ะ
คุณหมออาจจะใช้วิธีการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอน หรือที่เรียกว่า Polysomnogram: PSG เพื่อหาสาเหตุเเละเเนวทางการรักษะให้ลูกรักต่อไปค่ะ
สำหรับเด็กๆ ที่นอนกรนนั้น คุณพ่อคุณเเม่อาจสังเกตได้อีกทางหนึ่งนั่นก็คือ จะเป็นเด็กที่ตื่นในช่วงกลางคืนบ่อย เนื่องจากนอนเเล้วหายใจไม่ออก หายใจติดขัด ต้องหายใจทางปาก โดยเด็กๆ ทั้งเพศหญิงเเละเพศชายอาจจะมีอาการนอนกรนได้เท่าๆ กันค่ะ
ปล่อยไว้อาจถึงชีวิต
การนอนกรนของลูกทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายของลูกพักผ่อนไม่เต็มที่ เป็นการนอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ระดับของออกซิเจนในเลือดลดลง หัวใจทำงานหนักในการทำหน้าที่สูบฉีดเลือดมากขึ้น หากภาวะนี้เกิดขึ้นนานๆ ลูกจะหัวใจโตเเละอาจอันตรายถึงชีวิตได้
หากปล่อยให้ลูกกรน
มีการศึกษาพบว่าในเด็ก 11,000 คนนั้น เด็กที่กรน หายใจทางปาก หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น 50%-90% นั้น อาจจะเป็น ADHD มากกว่าเด็กที่ไม่เคยกรน นอกจากนี้อาจจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น
- มีความสนใจลดลง
- อาจกลายเป็นปัญหาสังคมได้มากขึ้น
- มีความวิตกกังวลสูงขึ้น
- มีอาการซึมเศร้าสูงขึ้น
- ง่วงนอนตอนกลางวัน
- มีความรู้ความเข้าใจที่ผิดปกติ
- มีปัญหาด้านความจำ
- มีปัญหาเกี่ยวกับด้าน EF
ดังนั้นหากลูกมีอาการหรือภาวะนอนกรนนานเกินไป หรือไม่มีท่าทีว่าเสียงกรนจะเบาลงเลย คุณพ่อคุณเเม่ควรพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายเเละหาวิธีรักษาต่อไปนะคะ
ที่มา Parenting และ Kidspot
บทความอื่นที่น่าสนใจ
“ไอกรน” โรคอันตรายที่ทำให้เด็กปอดอักเสบ
3 วิธีทำให้ทารกนอนหลับปุ๋ยขึ้นภายใน 1 สัปดาห์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!